หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ใช้เครื่องจักรกลในการประดิษฐ์ ดัดแปลง แก้ไข ตกแต่ง กายอุปกรณ์

สาขาวิชาชีพวิศวกรรมชีวการแพทย์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MET-HHWW-267A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ใช้เครื่องจักรกลในการประดิษฐ์ ดัดแปลง แก้ไข ตกแต่ง กายอุปกรณ์

3. ทบทวนครั้งที่ N/A /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพช่างกายอุปกรณ์, ISCO 3214 เจ้าหน้าที่เทคนิคด้านอุปกรณ์การแพทย์เทียม



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลต้องมีความรู้ ทักษะ และความสามารถในการใช้เครื่องจักรกลในการประดิษฐ์ ดัดแปลง แก้ไข เสริมแต่ง ในงานกายอุปกรณ์ โดยต้องประเมินสภาพเครื่องจักรกลให้พร้อมใช้งานอย่างปลอดภัย จัดเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์สำหรับใช้ร่วมกับเครื่องจักรกล ปฏิบัติงานใช้เครื่องจักรกลได้อย่างถูกต้องตามคู่มือใช้งาน สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลในขณะปฏิบัติงานตลอดเวลา ดูแลบำรุงรักษาเครื่องจักรกล ในหน่วยงานกายอุปกรณ์ให้พร้อมใช้งาน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพวิศวกรรมชีวการแพทย์ อาชีพช่างกายอุปกรณ์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1014.1 ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานร่วมกับเครื่องจักรกล 1.1 ปฏิบัติงานร่วมกับเครื่องจักรกลได้ตามมาตรฐานความปลอดภัย 1014.1.01 144792
1014.1 ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานร่วมกับเครื่องจักรกล 1.2 ใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) ขณะปฏิบัติงาน 1014.1.02 144793
1014.2 เตรียมความพร้อม และใช้เครื่องจักรกลได้อย่างถูกต้อง 2.1 ตรวจสอบ ระบบไฟฟ้า กลไกการทำงานของชิ้นส่วนเครื่องจักรกล ก่อนการใช้งาน 1014.2.01 144797
1014.2 เตรียมความพร้อม และใช้เครื่องจักรกลได้อย่างถูกต้อง 2.2 ตรวจสอบอุปกรณ์ป้องกัน อันตราย ของเครื่องจักร ก่อนการใช้งาน 1014.2.02 144798
1014.2 เตรียมความพร้อม และใช้เครื่องจักรกลได้อย่างถูกต้อง 2.3 จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือตัด (Cutting Tool) ประจำเครื่องจักรให้เหมาะสมกับงาน 1014.2.03 144799
1014.2 เตรียมความพร้อม และใช้เครื่องจักรกลได้อย่างถูกต้อง 2.4 ใช้เครื่องจักรกลได้อย่างถูกต้องตามคู่มือและลักษณะงาน 1014.2.04 144800
1014.3 บำรุงรักษาเครื่องจักรกลเบื้องต้น 3.1 ตรวจสภาพเครื่องจักรกลหลังใช้งาน 1014.3.01 144794
1014.3 บำรุงรักษาเครื่องจักรกลเบื้องต้น 3.2 ซ่อม บำรุงรักษา เครื่องจักรกล ตามคู่มือ 1014.3.02 144795
1014.3 บำรุงรักษาเครื่องจักรกลเบื้องต้น 3.3 บันทึกการใช้และการบำรุงรักษาเครื่องจักรกล 1014.3.03 144796

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ความรู้ เกี่ยวกับ ชนิด ประเภท วัสดุอุปกรณ์ประจำเครื่องจักรกล อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล และการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล เพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ และใช้เครื่องจักรกล ได้ถูกต้องตามขั้นตอนและความปลอดภัย และซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักรกลเบื้องต้น ประกอบด้วย

1. สามารถปฏิบัติงานร่วมกับเครื่องจักรกลได้ตามมาตรฐานความปลอดภัย

2. สามารถตรวจสอบสภาพความพร้อมก่อนใช้งานของเครื่องจักรกล

3. สามารถจัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือตัด (Cutting Tool) ประจำเครื่องจักรได้ตามลักษณะงาน

4. สามารถใช้เครื่องจักรกลได้เหมาะสม ตามลักษณะงาน

5. สามารถบำรุงรักษา ซ่อม เครื่องจักรกล เบื้องต้น ก่อนและหลังการใช้งาน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

บอกขั้นตอนและวิธีการใช้เครื่องจักรกล เครื่องมือและอุปกรณ์  ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลตามหลักความปลอดภัย และการบำรุงรักษาเครื่องจักรกลเบื้องต้น เพื่อยืดอายุการใช้งาน  ประกอบด้วย

1. ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานความปลอดภัย ในขณะปฏิบัติงาน

2. ความรู้เกี่ยวกับการตรวจสอบสภาพความพร้อมใช้งานของเครื่องจักรกล

3. ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือตัด(Cutting Tool) และอุปกรณ์สำหรับปฏิบัติงาน

4. ความรู้เกี่ยวกับการใช้เครื่องจักรกล ในงานกายอุปกรณ์

5. ความรู้เกี่ยวกับบำรุงรักษา ซ่อมแซม เครื่องจักรกล เบื้องต้น ก่อนและหลังการใช้งาน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. แสดงการปฏิบัติงานร่วมกับเครื่องจักรกลได้ตามมาตรฐานความปลอดภัย

2. แสดงวิธีตรวจสอบสภาพความพร้อมก่อนใช้งานของเครื่องจักรกล

3. แสดงการจัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือตัด (cutting Tool) ประจำเครื่องจักรได้ตามลักษณะงาน

4. แสดงวิธีการใช้เครื่องจักรกลได้เหมาะสม ตามลักษณะงาน

5. แสดงวิธีการบำรุงรักษา ซ่อม เครื่องจักรกล เบื้องต้น ก่อนและหลังการใช้งาน

6. ใบรับรองผลจากแบบประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

7. แฟ้มสะสมผลงานที่เป็นเอกสารรับรองผลงานและความรู้ ความสามารถที่ผ่านมา

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. อธิบายเกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานความปลอดภัย ในขณะปฏิบัติงาน

2. อธิบายเกี่ยวกับการตรวจสอบสภาพความพร้อมใช้งานของเครื่องจักรกล

3. อธิบายเกี่ยวกับเครื่องมือตัด (Cutting Tool) และอุปกรณ์สำหรับปฏิบัติงาน

4. อธิบายเกี่ยวกับการใช้เครื่องจักรกล ในงานกายอุปกรณ์    

5. อธิบายเกี่ยวกับบำรุงรักษา ซ่อมแซม เครื่องจักรกล เบื้องต้น ก่อนและหลังการใช้งาน

6. เอกสารรับรองความรู้จากการฝึกอบรม อาทิ วุฒิบัตร ประกาศนียบัตร หรือใบรับรองผลการศึกษาสาขาที่เกี่ยวข้องกับงานด้านกายอุปกรณ์

7. ใบรับรองผลจากการประเมินความรู้จากแบบทดสอบข้อเขียนหรือการสัมภาษณ์

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

เจ้าหน้าที่สอบ ตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้ ที่ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้

(ง) วิธีการประเมิน

1.    แบบทดสอบข้อเขียน (ข้อสอบ)

2.    แบบสาธิตการปฏิบัติงาน

3.    แฟ้มสะสมผลงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีปัจจัยต่อ ประดิษฐ์ ดัดแปลง แก้ไข เสริมแต่ง กายอุปกรณ์ รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

(ก)    คำแนะนำ

N/A

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

1.  เครื่องจักรกล หมายถึง  เครื่องจักรกลที่ใช้ในงานกายอุปกรณ์ ประกอบด้วย  เครื่องเจาะตั้งโต๊ะ เครื่องเจียระไนตั้งโต๊ะ เครื่องขัดเพลาแหลม เครื่องขัดกระดาษทราย เครื่องขัดสายพาน เครื่องปั้มลม เครื่องสุญญากาศ  เครื่องเชื่อมไฟฟ้าระบบอินเวอร์เตอร์ ตู้อบไฟฟ้า จักรอุตสาหกรรมฯลฯ

2.  เครื่องมือตัด (Cutting TooL) หมายถึงเครื่องมือตัดเฉือนวัสดุ ประกอบด้วย ดอกสว่านชนิดต่างๆ  ชุดทำเกลียวใน (Tap) ตัวทำเกลียวนอก (Die)  ใบเลื่อย  ฯลฯ

3.  อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) เช่น  อุปกรณ์ป้องกันระบบหายใจ (Safety Respirators)

อุปกรณ์ป้องกันดวงตา (Safety Glasses) อุปกรณ์ป้องกันหู (Ear Protection)

อุปกรณ์ป้องกันมือ (Hand Protection) อุปกรณ์ป้องกันเท้า (Safety Footwear)


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เจ้าหน้าที่สอบพิจารณาหลักฐานจากแฟ้มสะสมผลงานที่เป็นเอกสารรับรองผลงาน รับรองความรู้ความสามารถที่ผ่านมาก่อนหน้า หากไม่ชัดเจนหรือมีปริมาณเพียงพอให้เชื่อถือได้ ให้ประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้และทักษะ ให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้ ได้แก่

1)    แบบทดสอบข้อเขียน

2)    แบบทดสอบการสาธิตการปฏิบัติงาน

3)    การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค จากผลงานในแฟ้มสะสมผลงานของผู้รับการประเมิน (หากจำเป็น)



ยินดีต้อนรับ