หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดทำโปรแกรมคำสั่งสำหรับเครื่อง 3D Printing

สาขาวิชาชีพวิศวกรรมชีวการแพทย์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MET-OKRV-122A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดทำโปรแกรมคำสั่งสำหรับเครื่อง 3D Printing

3. ทบทวนครั้งที่ N/A /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO 722 ช่างเหล็ก ช่างทeเครื่องมือ และผู้ปฏิบัติงานในธุรกิจที่เกี่ยวข้อง



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้มีความสามารถทักษะในการเตรียมแบบจำลองสามมิติ และกำหนดพารามิเตอร์ในการขึ้นรูปเพื่อใช้ในการขึ้นรูปด้วยเครื่อง 3D Printing รวมถึงแปลงพารามิเตอร์ที่กำหนดไว้เป็น NC-Code เพื่อนำไปใช้งานได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพวิศวกรรมชีวการแพทย์  สาขาการผลิตเครื่องมือแพทย์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
102MM23.1 เตรียมความพร้อมของ แบบจำลองสามมิติ

1.1 ตรวจสอบความสมบูรณ์แบบ 3D
Model ของชิ้นงาน

102MM23.1.01 163412
102MM23.1 เตรียมความพร้อมของ แบบจำลองสามมิติ

1.2 ปรับปรุง 3D Model ของชิ้นส่วนเครื่องมือแพทย

102MM23.1.02 163413
102MM23.2 เตรียมความพร้อมของแบบจำลองสามมิติ

2.1 กำหนดลักษณะการวางแบบ 3D
Model ของชิ้นงาน

102MM23.2.01 163414
102MM23.2 เตรียมความพร้อมของแบบจำลองสามมิติ

2.2 เลือกชนิดวัสดุ

102MM23.2.02 163415
102MM23.3 กำหนดค่าพารามิเตอร์ และสร้าง NC Code

3.1 เลือกพารามิเตอร์ในการขึ้นรูป

102MM23.3.01 163416
102MM23.3 กำหนดค่าพารามิเตอร์ และสร้าง NC Code

3.2 สร้างฐานรองรับ (Support)

102MM23.3.02 163417
102MM23.3 กำหนดค่าพารามิเตอร์ และสร้าง NC Code

3.3 ตรวจสอบความสมบูรณ์ของ
ภาคตัดขวาง (Layer Slice)

102MM23.3.03 163418

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

อาชีพผลิตเครื่องมือแพทย์ ระดับ 3


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. สามารถอ่านแบบชิ้นส่วน

2. สามารถใช้โปรแกรม CAD ในการตรวจสอบของ 3D Model

3. สามารถใช้คำสั่งโปรแกรม CAD ในการซ่อม 3D Model ให้มีความสมบูรณ์

4. สามารถเลือกใช้เครื่อง 3D Printing ที่เหมาะสมกับแบบ 3D Model

5. สามารถเลือกวางแบบ 3D Model ในโปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้สร้าง NC-Code

6. สามารถกำหนดพารามิเตอร์การขึ้นรูป

7. สามารถสร้างฐานรอง (Support)

8. สามารถใช้เครื่องมือในในโปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อสร้างภาคตัดขวาง (Slicing)

9. สามารถแสดงการตรวจสอบความสมบูรณ์ของชิ้นงานสำเร็จ

10. สามารถตัดสินผลการตรวจสอบ

11. สามารถกำหนดพารามิเตอร์เพื่อใช้ในการขึ้นรูปแบบ Mass Production

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เรื่องหน่วยทางวิทยาศาสตร์

2. ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการขึ้นรูปด้วยเครื่อง 3D Printing

3. ความรู้เกี่ยวกับประเภทและสมบัติวัสดุ

4. ความรู้เกี่ยวกับการอ่านคุณลักษณะ (Specification) ของเครื่อง 3D Printing

5. ความรู้ด้านพารามิเตอร์สำหรับขึ้นรูปด้วยเครื่อง 3D Printing


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. เอกสารรับรองการทำงานด้านการจัดทำโปรแกรมคำสั่งสำหรับเครื่อง 3D Printing จากสถานประกอบการ หรือ

2. แบบบันทึกรายการผลจากการการสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. เอกสารรับรองผลการเรียนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตด้วยเทคโนโลยี 3D Printing หรือ

2. เอกสารรับรองผลการอบรมที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตด้วยเทคโนโลยี 3D Printing หรือ

3. แบบบันทึกผลคะแนนการสอบข้อเขียน

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน โดยประเมินจาก ใบรับรองการทำงาน หรือ การสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง

2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้ โดยประเมินจากข้อสอบข้อเขียน หรือการอบรม


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีทักษะการใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปในการสร้างโปรแกรมคำสั่ง

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1. เครื่องมือแพทย์ หมายถึง เครื่องมือแพทย์ ตามนิยาม เครื่องมือแพทย์ ที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2562

(ค) วัสดุและอุปกรณ์

1. เครื่องจักรที่ควรมีในการประเมินจากการสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง ประกอบด้วย เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีโปรแกรมสำหรับสร้าง NC-Code

2. ไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ควรมีประกอบด้วย แบบจำลองสามมิติของชิ้นส่วนเครื่องมือแพทย์


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินการเตรียมความพร้อมของแบบจำลองสามมิติ

1. ประเมินโดยการสอบข้อเขียน

2. ประเมินจากรายละเอียดการผ่านการอบรมด้านการใช้งานเครื่อง 3D Printing

3. ประเมินโดยการสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง ในด้านเตรียมความพร้อมของแบบจำลองสามมิติ

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

18.2 เครื่องมือประเมินการเตรียมความพร้อมของแบบจำลองสามมิติ

1. ประเมินโดยการสอบข้อเขียน

2. ประเมินจากรายละเอียดการผ่านการอบรมด้านการใช้งานเครื่อง 3D Printing

3. การสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง ในด้านกำหนดค่าพารามิเตอร์

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

18.3 เครื่องมือประเมินการกำหนดค่าพารามิเตอร์ และ สร้าง NC Code

1. ประเมินโดยการสอบข้อเขียน

2. ประเมินจากรายละเอียดการผ่านการอบรมด้านการใช้งานเครื่อง 3D Printing

3. การสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง ในด้านกำหนดค่าพารามิเตอร์

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ