หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

กำหนดพารามิเตอร์เครื่องฉีดขึ้นรูปยาง

สาขาวิชาชีพวิศวกรรมชีวการแพทย์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MET-XCYE-120A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ กำหนดพารามิเตอร์เครื่องฉีดขึ้นรูปยาง

3. ทบทวนครั้งที่ N/A /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO 722 ช่างเหล็ก ช่างทeเครื่องมือ และผู้ปฏิบัติงานในธุรกิจที่เกี่ยวข้อง



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้มีความสามารถในการเลือกเครื่องฉีดยางและรายการทดสอบยางเพื่อนำมาใช้กำหนดค่าพารามิเตอร์ในการฉีด รวมถึงวางแผนและดำเนินการทดสอบ ดำเนินการเก็บผลความสมบูรณ์ของชิ้นงานเพื่อใช้เป็นข้อมูลสรุปผลการกำหนดพารามิเตอร์

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพวิศวกรรมชีวการแพทย์  สาขาการผลิตเครื่องมือแพทย์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
102MM21.1 เตรียมเครื่องฉีดขึ้นรูปยางและวัสดุ

1.1 เตรียมเครื่องฉีดและวัสดุ

102MM21.1.01 163400
102MM21.1 เตรียมเครื่องฉีดขึ้นรูปยางและวัสดุ

1.2 เลือกการทดสอบสมบัติยางเพื่อ
นำมาใช้ในการฉีด

102MM21.1.02 163401
102MM21.1 เตรียมเครื่องฉีดขึ้นรูปยางและวัสดุ

1.3 อ่านสมบัติยาง

102MM21.1.03 163402
102MM21.2 ตั้งค่าพารามิเตอร์

2.1 บ่งชี้พารามิเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับการฉีด

102MM21.2.01 163403
102MM21.2 ตั้งค่าพารามิเตอร์

2.2 วางแผนการทดสอบพารามิเตอร์

102MM21.2.02 163404
102MM21.2 ตั้งค่าพารามิเตอร์

2.3 ตั้งค่าพารามิเตอร์การฉีดขึ้นรูปยาง

102MM21.2.03 163405
102MM21.3 สรุปพารามิเตอร์การฉีดขึ้นรูปยาง

3.1 ดำเนินการทดสอบการฉีดขึ้นรูปยาง

102MM21.3.01 163406
102MM21.3 สรุปพารามิเตอร์การฉีดขึ้นรูปยาง

3.2 ตรวจสอบความสมบูรณ์ของชิ้นงาน

102MM21.3.02 163407

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

อาชีพผลิตเครื่องมือแพทย์ ระดับ 3


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. สามารถอ่านแบบแม่พิมพ์

2. สามารถอ่านแบบ Plate เครื่องฉีดขึ้นรูปยาง

3. สามารถอ่านสมบัติยางจากผลการทดสอบ หรือใบสมบัติวัสดุในใบรับรอง

4. สามารถเลือกใช้เครื่องฉีดขึ้นรูปที่เหมาะสมกับแม่พิมพ์

5. สามารถแสดงการปรับพารามิเตอร์งานฉีดขึ้นรูปยาง

6. สามารถแสดงการตรวจสอบความสมบูรณ์ของชิ้นงานสำเร็จ

7. สามารถตัดสินผลการตรวจสอบ

8. สามารถกำหนดพารามิเตอร์เพื่อใช้ในการขึ้นรูปแบบ Mass Production

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เรื่องหน่วยทางวิทยาศาสตร์

2. ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการขึ้นรูปด้วยการฉีดขึ้นรูปยาง

3. ความรู้เกี่ยวกับการคำนวณแรงปิดแม่พิมพ์ และปริมาตรกระบอกฉีด

4. ความรู้เกี่ยวกับการอ่านคุณลักษณะ (Specification) ของเครื่องฉีดขึ้นรูป

5. ความรู้เกี่ยวกับการคำนวณแรงปิดแม่พิมพ์และปริมาตร Shot

6. ความรู้เกี่ยวกับรีโอโลยีชองยาง

7. ความรู้เกี่ยวกับการทดสอบสมบัติยาง

8. ความรู้เกี่ยวกับประเภทและสมบัติยาง

9. ความรู้เกี่ยวกับพารามิเตอร์งานฉีดยาง

10. ความรู้เกี่ยวกับการทดสอบงานฉีดขึ้นรูปยาง

11. ความรู้ด้าน Quality Control


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. เอกสารรับรองการทำงานด้านขึ้นรูปด้วยการฉีดขึ้นรูปยางจากสถานประกอบการ หรือ

2. แบบบันทึกรายการผลจากการการสังเกตุการณ์ ณ หน้างานจริง

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. เอกสารรับรองผลการเรียนที่เกี่ยวข้องกับพอลิเมอร์ หรือ

2. เอกสารรับรองผลการอบรมที่เกี่ยวข้องกับพอลิเมอร์ หรือ

3. เอกสารรับรองผลการเรียนที่เกี่ยวข้องกับการขึ้นรูปด้วยการฉีดขึ้นรูปยาง หรือ

4. เอกสารรับรองผลการอบรมที่เกี่ยวข้องกับการขึ้นรูปด้วยการฉีดขึ้นรูปยาง หรือ

5. แบบบันทึกผลคะแนนการสอบข้อเขียน

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน โดยประเมินจาก ใบรับรองการทำงาน หรือ การสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง

2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้ โดยประเมินจากข้อสอบข้อเขียน หรือการอบรม


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีทักษะการใช้งานเครื่องฉีดขึ้นรูปยาง

2. ผู้เข้ารับการประเมินต้องเข้าใจพารามิเตอร์งานฉีดขึ้นรูปยาง

3. ผู้เข้ารับการประเมินต้องสามารถอ่านและแปรผลกราฟการคงรปของยางคอมปาว์ดได้

4. ผู้เข้ารับการประเมินควรมีทักษะในการใช้เครื่องคิดเลขเพื่อช่วยคำนวณ

5. ผู้เข้ารับการทดสอบต้องเข้าใจวิธีการใช้เครื่องฉีดขึ้นรูปยาง รวมถึงสัญลักษณ์และปุ่มควบคุม

6. เข้ารับการทดสอบควรมีความสามารถในการอ่านแบบ

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1. เครื่องมือแพทย์ หมายถึง เครื่องมือแพทย์ ตามนิยาม เครื่องมือแพทย์ ที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2562

2. เครื่องมือวัด หมายถึง เครื่องมือวัดระยะ ได้แก่ เวอร์เนียคาลิปเปอร์ สายวัด หรือไม้บรรทัด

(ค) วัสดุและอุปกรณ์

1. วัสดุที่ควรมีในการประเมินจากการสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง ประกอบด้วย ยาง ซึ่งอาจเป็นยางสังเคราะห์ หรือยางธรรมชาติ

2. เครื่องจักรที่ควรมีในการประเมินจากการสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง ประกอบด้วย เครื่องฉีดขึ้นรูปยางแบบที่ผู้เข้ารับการทดสอบถนัดและมีความชำนาญ

3. อุปกรณ์ที่ควรมีประกอบด้วย อุปกรณ์ป้องกันภัย เครน เครื่องมือวัด และ แบบหรือตัวอย่างแบบวิศวกรรมของงานชิ้นส่วนเครื่องมือแพทย์


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินการเตรียมเครื่องฉีดขึ้นรูปยางและวัสดุ

1. ประเมินโดยการสอบข้อเขียน

2. ประเมินจากรายละเอียดการผ่านการอบรมด้านการฉีดขึ้นรูปยาง

3. ประเมินโดยการสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง ในด้านการเตรียมเครื่องฉีดยางและวัสดุ

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

18.2 เครื่องมือประเมินการตั้งค่าพารามิเตอร์

1. การสอบข้อเขียน

2. ประเมินจากรายละเอียดการผ่านการอบรมด้านการฉีดขึ้นรูปยาง

3. ประเมินโดยการสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง ในด้านการตั้งค่าพารามิเตอร์

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

18.3 เครื่องมือประเมินการสรุปพารามิเตอร์การฉีดขึ้นรูปยาง

1. การสอบข้อเขียน

2. ประเมินจากรายละเอียดการผ่านการอบรมด้านการฉีดขึ้นรูปยาง

3. ประเมินโดยการสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง ในด้านการสรุปพารามิเตอร์การฉีดยาง

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ