หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

แก้กระบวนการผลิต

สาขาวิชาชีพวิศวกรรมชีวการแพทย์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MET-FFLJ-118A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ แก้กระบวนการผลิต

3. ทบทวนครั้งที่ N/A /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO 722 ช่างเหล็ก ช่างทeเครื่องมือ และผู้ปฏิบัติงานในธุรกิจที่เกี่ยวข้อง



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้มีความสามารถในการนำหลักการทางสถิติมาใช้แก้ปัญหากระบวนการผลิตโดยจะสามารถกำหนดพารามิเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับการทดลองและระดับปัจจัย เพื่อนำมาออกแบบการทดลอง และเก็บผลมาใช้วิเคราะห์และสรุปผลได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพวิศวกรรมชีวการแพทย์  สาขาการผลิตเครื่องมือแพทย์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
102MM19.1 กำหนดปัจจัย

1.1 เลือกปัจจัย (พารามิเตอร์)

102MM19.1.01 163386
102MM19.1 กำหนดปัจจัย

1.2 กำหนดระดับปัจจัย

102MM19.1.02 163387
102MM19.2 ออกแบบการทดลอง

2.1 เลือกวิธีดำเนินการทดลอง

102MM19.2.01 163388
102MM19.2 ออกแบบการทดลอง

2.2 กำหนดการทดลองและวิธีเก็บผล
การทดลอง

102MM19.2.02 163389
102MM19.3 สรุปผลการทดลอง

3.1 วิเคราะห์ผลข้อมูลเชิงสถิต

102MM19.3.01 163390
102MM19.3 สรุปผลการทดลอง

3.2 สรุปผลการทดลอง

102MM19.3.02 163391

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

อาชีพผลิตเครื่องมือแพทย์ ระดับ 3


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. สามารถวางแผนการทดลองตามวิธีที่กำหนดไว้

2. สามารถแสดงการทดลองตามแผนการ

3. สามารถแสดงการเก็บข้อมูลผลการทดลอง

4. สามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปในการคำนวณทางสถิติ

5. สามารถสรุปผลการทดสอบจากการดำเนินการทดลอง

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับหลักสถิติ เช่น การหาค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

2. ความรู้เกี่ยวกับวิธีหรือประเภทการออกแบบการทดลอง (Design of Experiments)

3. ความรู้เกี่ยวกับการกำหนดระดับปัจจัย

4. ความรู้เกี่ยวกับการอ่านตารางสถิติ

5. ความรู้เกี่ยวกับความแตกต่างหรือไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่าง 2 ปัจจัย

6. ความรู้เกี่ยวกับความแตกต่างหรือไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญมากกว่า 2 ปัจจัย


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. เอกสารรับรองการทำงานด้านการออกแบบการทดลองจากสถานประกอบการ หรือ

2. เอกสารรับรองผลการอบรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปสำหรับงงานออกแบบการทดลอง หรือ

3. แบบบันทึกรายการผลจากการการสังเกตุการณ์ ณ หน้างานจริง

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. เอกสารรับรองผลการเรียนที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบการทดลอง หรือ

2. เอกสารรับรองผลการอบรมที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบการทดลอง และ

3. แบบบันทึกผลคะแนนการสอบข้อเขียน

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน โดยประเมินจาก ใบรับรองการทำงาน หรือ การสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง

2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้ โดยประเมินจากข้อสอบข้อเขียน หรือการอบรม


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีทักษะการใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เช่น MS Excel ในการทำงานด้านการออกแบบการทดลองได้

(ข) วัสดุและอุปกรณ์

1. อุปกรณ์ที่ควรมีในการประเมินจากการสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง ประกอบด้วย เครื่องคอมพิวเตอร์ โปรแกรม MS Excel หรือ Spreadsheet

2. ไฟล์อิเล็คทรอนิกส์ที่ควรมีกรณีตัวอย่างของการแก้ปัญหากระบวนการผลิต


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินการกำหนดปัจจัย

1. ประเมินโดยการสอบข้อเขียน

2. ประเมินจากรายละเอียดการผ่านการอบรมด้าน Design of Experiment

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

18.2 เครื่องมือประเมินการออกแบบการทดลอง

1. ประเมินโดยการสอบข้อเขียน

2. ประเมินจากรายละเอียดการผ่านการอบรมด้าน Design of Experiment

3. ประเมินโดยการสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง ในด้านการออกแบบการทดลอง

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

18.3 เครื่องมือประเมินการสรุปผลการทดลอง

1. ประเมินโดยการสอบข้อเขียน

2. ประเมินจากรายละเอียดการผ่านการอบรมด้าน Design of Experiment

3. ประเมินโดยการสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง ในด้านการสรุปผลการทดลอง

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ