หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ใช้เครื่องมือวัดละเอียด

สาขาวิชาชีพวิศวกรรมชีวการแพทย์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MET-FFLP-100A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ใช้เครื่องมือวัดละเอียด

3. ทบทวนครั้งที่ N/A /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO 722 ช่างเหล็ก ช่างทำเครื่องมือ และผู้ปฏิบัติงานในธุรกิจที่เกี่ยวข้อง

ISCO 821 ผู้ปฏิบัติงานด้านการประกอบ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้มีความสามารถในการปฏิบัติงานเครื่องมือวัดละเอียด สามารถจำแนกประเภท วิธีการใช้งาน ทั้งยังสามารถเตรียมงาน ตั้งศูนย์เครื่องมือวัดละเอียด ตลอดจนสามารถบำรุงรักษา และจดบันทึกผลการปฏิบัติงานเครื่องมือวัดละเอียดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพวิศวกรรมชีวการแพทย์  สาขาการผลิตเครื่องมือแพทย์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
102MC04.1 เตรียมงานเครื่องมือวัดละเอียด

1.1 จำแนกประเภทและวิธีการใช้งานของ
เครื่องมือวัดละเอียด

102MDC04.1.01 163443
102MC04.1 เตรียมงานเครื่องมือวัดละเอียด

1.2 เตรียมเครื่องมือวัดละเอียด

102MDC04.1.02 163444
102MC04.1 เตรียมงานเครื่องมือวัดละเอียด

1.3 ตรวจสอบความพร้อมใช้งานของ
เครื่องมือวัดละเอียด

102MDC04.1.03 163445
102MC04.2 ดำเนินการวัด

2.1 ตั้งศูนย์ของเครื่องมือวัดละเอียดให้ได้ค่า
ตามมาตรฐานตรวจสอบชิ้นงานที่จะทำการวัด

102MDC04.2.01 163446
102MC04.2 ดำเนินการวัด

2.2 ดำเนินการวัด โดยใช้เครื่องมือวัดละเอียด

102MDC04.2.02 163447
102MC04.2 ดำเนินการวัด

2.3 จดบันทึกค่าที่อ่านได้จากเครื่องมือวัด
ละเอียด

102MDC04.2.03 163448
102MC04.3 บำรุงรักษาจัดเก็บเครื่องมือวัดละเอียด

3.1 ทำความสะอาดเครื่องมือวัดละเอียด

102MDC04.3.01 163449
102MC04.3 บำรุงรักษาจัดเก็บเครื่องมือวัดละเอียด

3.2 เก็บเครื่องมือวัดละเอียดในพื้นที่ที่กำหนด

102MDC04.3.02 163450

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. สามารถตรวจสอบสภาพความพร้อมของเครื่องมือวัดละเอียด

2. สามารถระบุชื่อเครื่องมือวัดละเอียดจากการเห็นรูปทรงเครื่องมือวัดละเอียด

3. สามารถจัดเตรียมเครื่องมือวัดละเอียดตามใบสั่งงาน (Work Instruction)

4. สามารถใช้งานเครื่องมือวัดละเอียด รวมถึงตรงกับวัตถุประสงค์การใช้

5. สามารถตั้งศูนย์ของเครื่องมือวัดละเอียด

6. สามารถดำเนินการวัดด้วยเครื่องมือวัดละเอียด

7. สามารถอ่านและจดบันทึกค่าการวัดจากเครื่องมือวัดละเอียด

8. สามารถดูแลทำความสะอาดเครื่องมือวัดละเอียด

9. สามารถแสดงการเก็บรักษาเครื่องมือวัดละเอียด

10. สามารถแสดงการบันทึกการใช้งาน และรายงานสภาพความไม่สมบูรณ์ เสียหาย ของเครื่องมือวัดละเอียด

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เรื่องประเภทและหลักการทำงานเครื่องมือวัดละเอียด

2. ความรู้เรื่องสเกลและการอ่านสเกล

3. ความรู้เกี่ยวกับหน่วยการวัด

4. ความรู้เกี่ยวกับคุณลักษณะของเครื่องมือวัดละเอียด

5. ความรู้เกี่ยวกับการเก็บรักษาเครื่องมือวัดละเอียด

6. ความรู้เกี่ยวกับหลักการใช้งานเครื่องมือวัดละเอียด

7. ความรู้เกี่ยวกับการอ่านค่าสเกลเครื่องมือวัดละเอียด


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. แบบบันทึกรายการผลจากการการสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. เอกสารรับรองผลการเรียนที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานเครื่องมือวัดละเอียด หรือ

2. เอกสารรับรองผลการอบรมการใช้งานเครื่องมือวัดละเอียด หรือ

3. แบบบันทึกผลคะแนนการสอบข้อเขียน

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน โดยประเมินจากการสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง

2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้ พิจารณาตามหลักฐานความรู้ โดยประเมินจากข้อสอบข้อเขียนหรือการอบรม


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

N/A

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

เครื่องมือวัดละเอียด หมายถึง เครื่องมือวัดขนาดของชิ้นงาน ได้แก่ เวอร์เนียร์คาลิปเปอร์ ไมโครมิเตอร์วัดนอก ไมโครมิเตอร์วัดใน เกจวัดลึก เกจวัดความสูง เกจวัดขนาดรู และนาฬิกาวัด


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินการเตรียมงานเครื่องมือวัดละเอียด

1. ประเมินโดยการสอบข้อเขียน

2. ประเมินจากรายละเอียดการผ่านการอบรมด้านการใช้งานเครื่องมือวัด

3. ประเมินโดยการสังเกตการปฏิบัติงาน ณ หน้างานจริง ในการเตรียมเครื่องมือวัดละเอียด

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

18.2 เครื่องมือประเมินการดำเนินการวัด

1. ประเมินโดยการสอบข้อเขียนการสอบสัมภาษณ์

2. ประเมินจากรายละเอียดการผ่านการอบรมด้านการใช้งานเครื่องมือวัด

3. ประเมินโดยการสังเกตการปฏิบัติงาน ณ หน้างานจริง ในการดำเนินการวัด

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

18.3 เครื่องมือประเมินการบำรุงรักษาจัดเก็บเครื่องมือวัดละเอียด

1. ประเมินโดยการสอบข้อเขียน

2. ประเมินจากรายละเอียดการผ่านการอบรมด้านการใช้งานเครื่องมือวัด

3. ประเมินโดยการสังเกตการปฏิบัติงาน ณ หน้างานจริง ในการบำรุงรักษาจัดเก็บเครื่องมือวัดละเอียด

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ