หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เลือกใช้เซนเซอร์ที่เหมาะสมในการออกแบบและผลิตเครื่องมือแพทย์

สาขาวิชาชีพวิศวกรรมชีวการแพทย์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MET-EBPR-085A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เลือกใช้เซนเซอร์ที่เหมาะสมในการออกแบบและผลิตเครื่องมือแพทย์

3. ทบทวนครั้งที่ N/A /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO 311 ช่างเทคนิคด้านวิทยาศาสตร์กายภาพและวิศวกรรมศาสตร์



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถสำรวจปริมาณที่ต้องการวัด และสภาพแวดล้อมที่เซนเซอร์ต้องติดตั้งขณะใช้งาน รวมถึงสามารถวิเคราะห์วงจรไฟฟ้าและเข้าใจคุณลักษณะของเซนเซอร์ เพื่อตัดสินใจเลือกเซนเซอร์ตามความเหมาะสมในการใช้งานกับเครื่องมือแพทย์ได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพวิศวกรรมชีวการแพทย์  สาขาการผลิตเครื่องมือแพทย์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
101MD05.1 สำรวจข้อมูลความต้องการเพื่อใช้ในการเลือกเซนเซอร์

1.1 บ่งชี้ปริมาณที่ต้องการวัด

101MD05.1.01 163042
101MD05.1 สำรวจข้อมูลความต้องการเพื่อใช้ในการเลือกเซนเซอร์

1.2 บ่งชี้สภาพแวดล้อมที่ใช้งานเซนเซอร์

101MD05.1.02 163043
101MD05.2 วิเคราะห์คุณลักษณะวงจรไฟฟ้า

2.1 อ่านวงจรไฟฟ้า

101MD05.2.01 163044
101MD05.2 วิเคราะห์คุณลักษณะวงจรไฟฟ้า

2.2 คำนวณกฎพื้นฐานทางวิศวกรรมไฟฟ้า

101MD05.2.02 163045
101MD05.3 สรุปการเลือกใช้เซนเซอร์

3.1 มีความเข้าใจข้อจำกัดการใช้งานของเซนเซอร์

101MD05.3.01 163046
101MD05.3 สรุปการเลือกใช้เซนเซอร์

3.2 อ่านคุณลักษณะของเซนเซอร์ได้ถูกต้อง

101MD05.3.02 163047
101MD05.3 สรุปการเลือกใช้เซนเซอร์

3.3 ตัดสินใจเลือกเซนเซอร์

101MD05.3.03 163048
101MD05.3 สรุปการเลือกใช้เซนเซอร์

3.4 กำหนดสัญลักษณ์เซนเซอร์ลงในแบบวงจรไฟฟ้า

101MD05.3.04 163049

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. สามารถบ่งชี้ปริมาณทางกายภาพที่ต้องการวัดไปเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

2. สามารถบ่งชี้สภาพแวดล้อมที่ใช้งานเซนเซอร์ได้

3. สามารถอ่านวงจรไฟฟ้าในเครื่องมือแพทย์ได้

4. สามารถคำนวณกฎพื้นฐานทางวิศวกรรมไฟฟ้าในการปรับสภาพสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการแปลงข้อมูลดิจิทัล

5. สามารถกำหนดค่าระบบคอมพิวเตอร์เพื่อรับข้อมูลการทดลอง

6. สามารถบ่งชี้ข้อจำกัดในการดำเนินงานได้

7. สามารถอ่านคุณลักษณะของเซนเซอร์จากแคตตาล็อกได้ถูกต้อง

8. สามารถตัดสินใจเลือกเซนเซอร์ได้สอดคล้องกับบ่งชี้และข้อจำกัดในการดำเนินงานทั้งหมด

9. สามารถกำหนดสัญลักษณ์เซนเซอร์ลงในแบบวงจรไฟฟ้าในการจัดทำเอกสารกระบวนการปฏิบัติงานและรายละเอียดการนำไปปฏิบัติ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ทางทางวิศวกรรมไฟฟ้า

2. ความรู้เกี่ยวกับระบบเลขที่เกี่ยวข้อง (เลขฐานสอง ฐานสิบ และเลขฐานสิบหก)

3. ความรู้เกี่ยวกับแนวคิดพื้นฐานของฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์และจำกัดในการดำเนินงาน

4. ความรู้เกี่ยวกับเลือกตัวแปลงสัญญาณหรือเซนเซอร์ที่เหมาะสมสำหรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

5. ความรู้เกี่ยวกับข้อกำหนดด้านสุขภาพความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง

6. ความรู้เกี่ยวกับวิธีการแปลงข้อมูลอนาล็อก (Analog) ไปเป็นข้อมูลดิจิทัล (Digital)


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. แบบบันทึกรายการสังเกตการปฏิบัติงานการเลือกใช้เซนเซอร์ในเครื่องมือแพทย์ที่มีกำลัง

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. เอกสารรับรองผลการเรียนหรือการอบรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเซนเซอร์ หรือ

2. เอกสารรับรองผลการเรียนหรือการอบรมที่เกี่ยวข้องกับสัญญาณทางไฟฟ้าแบบอนาล็อก (Analog) และแบบดิจิทัล (Digital)

3. เอกสารรับรองผลการเรียนหรือการอบรมที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ทางไฟฟ้า

4. เอกสารรับรองผลการเรียนหรือการอบรมที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบเครื่องมือแพทย์ที่มีกำลัง

5. แบบบันทึกผลคะแนนการสอบข้อเขียน

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน โดยประเมินจากการสังเกต หรือใบรับรองการทำงาน

2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้ โดยประเมินจากข้อสอบข้อเขียน หรือการอบรม


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

1. ผู้เข้ารับการประเมินควรมีความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือแพทย์แบบที่มีกำลัง

2. ผู้เข้ารับการประเมินควรมีความรู้เกี่ยวกับสัญญาณอนาล็อก (Analog) และสัญญาณดิจิทัล (Digital)

3. ผู้เข้ารับการประเมินควรมีความรู้เกี่ยวกับเลขฐานทางคณิตศาสตร์ และค่าพหุคูณ (Prefix) ของหน่วยวัดทางไฟฟ้า

4. ผู้เข้ารับการประเมินควรมีความรู้เกี่ยวกับสัญลักษณ์ทางไฟฟ้า การอ่านวงจรทางไฟฟ้า

5. ผู้เข้ารับการประเมินควรมีความรู้เกี่ยวกับเซนเซอร์ เช่น เซนเซอร์ทางกล เซนเซอร์ทางแสง เซนเซอร์การสั่นสะเทือน

6. ผู้เข้ารับการประเมินควรมีความสามารถในการอ่าน Specification ของเซนเซอร์

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1. เครื่องมือแพทย์ หมายถึง เครื่องมือแพทย์ ตามนิยาม เครื่องมือแพทย์ ที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2562

2. เครื่องมือแพทย์มีกำลัง (Active Medical Device) หมายถึง เครื่องมือแพทย์ที่ทำงานโดยอาศัยกำลังจากไฟฟ้า


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินการสำรวจข้อมูลความต้องการเพื่อใช้ในการเลือกเซนเซอร์

1. ประเมินจากการสอบข้อเขียน

2. ประเมินจากรายละเอียดการอบรมเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเซนเซอร์

3. เอกสารรับรองผลการเรียนหรือการอบรมที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบเครื่องมือแพทย์ที่มีกำลัง

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

18.2 เครื่องมือประเมินการนำผลการวิเคราะห์คุณลักษณะวงจรไฟฟ้า

1. การสอบข้อเขียน

2. ประเมินจากรายละเอียดการอบรมเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ทางไฟฟ้า

3. ประเมินจากรายละเอียดการอบรมเกี่ยวข้องกับสัญญาณทางไฟฟ้าแบบอนาล็อก (Analog) และแบบดิจิทัล (Digital)

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

18.3 เครื่องมือประเมินการตัดสินผลการสรุปการเลือกใช้เซนเซอร์

1. การสอบข้อเขียน

2. ประเมินจากรายละเอียดการอบรมเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเซนเซอร์

3. เอกสารรับรองผลการเรียนหรือการอบรมที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบเครื่องมือแพทย์ที่มีกำลัง

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ