หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เลือกวัสดุที่เหมาะสมในการออกแบบและผลิตเครื่องมือแพทย์

สาขาวิชาชีพวิศวกรรมชีวการแพทย์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MET-BQAN-082A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เลือกวัสดุที่เหมาะสมในการออกแบบและผลิตเครื่องมือแพทย์

3. ทบทวนครั้งที่ N/A /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO 311 ช่างเทคนิคด้านวิทยาศาสตร์กายภาพและวิศวกรรมศาสตร์



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้มีสามารถตรวจสอบสมบัติวัสดุและองค์ประกอบธาตุของวัสดุที่ถูกนำมาใช้ในการออกแบบและผลิตเครื่องมือแพทย์ รวมถึงคัดเลือกวัสดุที่เหมาะสมเพื่อนำมาใช้ในการออกแบบเครื่องมือแพทย์ได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพวิศวกรรมชีวการแพทย์  สาขาการผลิตเครื่องมือแพทย์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
101MD02.1 อ่านสมบัติวัสดุและองค์ประกอบธาตุของวัสดุ 1.1 อ่านสมบัติวัสดุและองค์ประกอบของธาตุในใบรับรอง (Material Certification)
101MD02.1.01 163003
101MD02.1 อ่านสมบัติวัสดุและองค์ประกอบธาตุของวัสดุ

1.2 อ่านสมบัติวัสดุและองค์ประกอบวัสดุในมาตรฐานของวัสดุ

101MD02.1.02 163004
101MD02.2 ตรวจสอบสมบัติวัสดุ

2.1 เลือกวิธีตรวจสอบสมบัติวัสดุ

101MD02.2.01 163005
101MD02.2 ตรวจสอบสมบัติวัสดุ

2.2 ตรวจสอบความถูกต้องของสมบัติและองค์ประกอบของธาตุเทียบกับเกรดมาตรฐานของวัสดุ

101MD02.2.02 163006
101MD02.3 เลือกใช้วัสดุเพื่อนำมาผลิตเครื่องมือแพทย์ 3.1 จำแนกวัสดุที่ใช้ในเครื่องมือแพทย์
101MD02.3.01 163007
101MD02.3 เลือกใช้วัสดุเพื่อนำมาผลิตเครื่องมือแพทย์

3.2 คัดเลือกวัสดุเพื่อนำมาใช้ผลิตเครื่องมือแพทย์

101MD02.3.02 163008

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. สามารถระบุองค์ประกอบและปริมาณของธาตุที่แสดงในใบรับรองวัสดุ

2. สามารถจำแนก โลหะ เซรามิก และพอลิเมอร์

3. สามารถระบุสมบัติวัสดุสมบัติวัสดุที่แสดงในใบรับรองวัสดุ

4. สามารถแสดงวิธีเลือกการทดสอบสมบัติวัสดุตามความต้องการทดสอบ

5. สามารถแยกแยะวัสดุและเลือกใช้วัสดุตามการใช้งานของเครื่องมือแพทย์

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับตารางธาตุและสัญลักษณ์ของธาตุ (Element Symbol)

2. ความรู้เกี่ยวกับสมบัติวัสดุ และการอ่านสัดส่วนของธาตุองค์ประกอบ

3. ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานของวัสดุ

4. ความรู้เกี่ยวกับเครื่องจักรที่ใช้สำหรับทดสอบสมบัติวัสดุ

5. ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานการทดสอบวัสดุ และวิธีการทดสอบสมบัติวัสดุ

6. ความรู้เกี่ยวกับเรื่องวัสดุศาสตร์ (Material Science) และ ชีววัสดุ (Biomaterial)


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. เอกสารรับรองการทำงานด้านการออกแบบเครื่องมือแพทย์จากสถานประกอบการ หรือ

2. เอกสารผลงานที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบเครื่องมือแพทย์ ซึ่งอาจเป็นแบบทางวิศวกรรม (Drawing) ที่มีวัสดุระบุในแบบ

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. เอกสารรับรองผลการเรียนหรือการอบรมที่เกี่ยวข้องกับวัสดุศาสตร์ หรือชีววัสดุ หรือ

2. เอกสารรับรองผลการเรียนหรือการอบรมที่เกี่ยวข้องกับวัสดุวิศวกรรม หรือกลศาสตร์วัสดุ หรือ

3. แบบบันทึกผลคะแนนการสอบข้อเขียน

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

1. พิจารณาตามหลักฐานความรู้ โดยประเมินจากข้อสอบข้อเขียน หรือการอบรม


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

1. ผู้เข้ารับการประเมินควรมีความรู้พื้นฐานด้านสมบัติวัสดุ หรือกลศาสตร์ของวัสดุ (Mechanics of Materials)

2. ผู้เข้ารับการประเมินควรมีความรู้ด้านชีววัสดุที่เป็นโลหะ พอลิเมอร์ และเซรามิก รวมถึงเกรดของวัสดุเหล่านี้

3. ผู้เข้ารับการประเมินควรมีความรู้ความเข้าใจการทดสอบสมบัติวัสดุ และมาตรฐานการทดสอบ

4. ผู้เข้ารับการประเมินควรเข้าใจพารามิเตอร์ของวัสดุ เช่น จุดคราก (Yield Stress) มอดูลัสของวัสดุ (Elastic Modulus) และจุดความเค้นสูงสุด (Ultimate Stress) เป็นต้น

5. ผู้เข้ารับการประเมินควรเคยอ่านใบรับรองวัสดุ (Material Certificate)

6. ผู้เข้ารับการประเมินควรมีความรู้ด้านเครื่องจักรที่ใช้ส าหรับทดสอบวัสดุทางกล เช่น เครื่อง Universal Testing Machine หรือเครื่องทดสอบความแข็ง เป็นต้น

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1. สมบัติวัสดุ หมายถึง สมบัติเชิงกล สมบัติทางไฟฟ้า สมบัติทางความร้อน และสมบัติทางแม่เหล็กของวัสดุ

2. เครื่องมือแพทย์ หมายถึง เครื่องมือแพทย์ ตามนิยาม เครื่องมือแพทย์ ที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2562

3. มาตรฐานของวัสดุ หมายถึง มาตรฐาน ISO มาตรฐาน ASTM และมาตรฐาน มอก. ที่กำหนดมาตรฐานสมบัติวัสดุ และสัดส่วนองค์ประกอบของธาตุ

4. สัญลักษณ์ของธาตุ หมายถึง สัญลักษณ์ที่ใช้แสดงถึงชื่อธาตุอย่างย่อ ตามหนังสือเล่มเขียว (Green Book) ของ International Union of Pure and Applied Physics (IUPAP) (Quantities, Units and Symbols in Physical Chemistry, IUPAC Green Book, third edition)

5. ชีววัสดุ หมายถึง วัสดุที่สามารถใช้แทนส่วนหนึ่งส่วนใดของเนื้อเยื้อในอวัยวะ ส่วนหนึ่งส่วนใดในร่างกายมนุษย์ที่เสื่อมสภาพโดยไม่เกิดปฏิกิริยาจากร่างกายมนุษย์


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินการอ่านสมบัติวัสดุและองค์ประกอบธาตุของวัสดุ

1. ประเมินโดยการสอบข้อเขียน

2. ประเมินจากรายละเอียดการผ่านการอบรมด้านวัสดุศาสตร์ ชีววัสดุ วัสดุวิศวกรรม หรือกลศาสตร์ของวัสดุ

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

18.2 เครื่องมือประเมินการตรวจสอบสมบัติวัสดุ

1. ประเมินโดยการสอบข้อเขียน

2. ประเมินจากรายละเอียดการผ่านการอบรมด้านวัสดุศาสตร์ ชีววัสดุ วัสดุวิศวกรรม หรือกลศาสตร์ของวัสดุ

3. ประเมินจากรายละเอียดการผ่านการอบรมด้าน มาตรฐานการทดสอบ

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

18.3 เครื่องมือประเมินการเลือกใช้วัสดุเพื่อนำมาผลิตเครื่องมือแพทย์

1. ประเมินโดยการสอบข้อเขียน

2. ประเมินจากรายละเอียดการผ่านการอบรมด้านวัสดุศาสตร์ ชีววัสดุ วัสดุวิศวกรรม หรือกลศาสตร์ของวัสดุ

3. ประเมินจากรายละเอียดการผ่านการอบรมด้านการทดสอบวัสดุและเครื่องจักรสำหรับทดสอบวัสดุ

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ