หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ประกอบเครื่องมือแพทย์โดยใช้เครื่องมือพื้นฐาน (Hand Tool) และอุปกรณ์ทางกล

สาขาวิชาชีพวิศวกรรมชีวการแพทย์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MET-PQXV-250A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ประกอบเครื่องมือแพทย์โดยใช้เครื่องมือพื้นฐาน (Hand Tool) และอุปกรณ์ทางกล

3. ทบทวนครั้งที่ N/A /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO 821 ผู้ปฏิบัติงานด้านการประกอบ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะมีทักษะ ความสามารถในการใช้เครื่องมือพื้นฐานและอุปกรณ์ทางกล โดยมีความรู้ในการจำแนกประเภท วิธีการใช้งานของเครื่องมือและอุปกรณ์พื้นฐานให้เหมาะสมกับประเภทของชิ้นส่วนได้ อีกทั้งยังสามารถเตรียม ตรวจสอบความพร้อมใช้งาน ปฏิบัติงานเครื่องมือและอุปกรณ์ รวมไปถึงการดูแลรักษา ตลอดจนการจดบันทึกผลการปฏิบัติงาน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพวิศวกรรมชีวการแพทย์  สาขาการผลิตเครื่องมือแพทย์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
103MA02.1 ปฏิบัติตามหลักความปลอดภัยในการทำงาน

1.1 ปฏิบัติตามขั้นตอนความปลอดภัยใน
การทำงานและสวมใส่อุปกรณ์
ป้องกันภัยส่วนบุคคล

103MA02.1.01 163460
103MA02.1 ปฏิบัติตามหลักความปลอดภัยในการทำงาน

1.2 ตรวจสอบความพร้อมใช้งานของ
อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลก่อน
และหลังปฏิบัติงาน

103MA02.1.02 163461
103MA02.2 เตรียมเครื่องมือพื้นฐานและอุปกรณ์ทางกล

2.1 จำแนกประเภท และวิธีการใช้งาน
ของเครื่องมือพื้นฐานและอุปกรณ์
ทางกลให้เหมาะสมกับประเภทของ
ชิ้นงาน

103MA02.2.01 163462
103MA02.2 เตรียมเครื่องมือพื้นฐานและอุปกรณ์ทางกล

2.2 ตรวจสอบความพร้อมใช้งานของ
เครื่องมือพื้นฐานและอุปกรณ์

103MA02.2.02 163463
103MA02.3 ปฏิบัติงานเครื่องมือพื้นฐานและอุปกรณ์ทางกล

3.1 ดำเนินการใช้งานเครื่องมือพื้นฐาน
และอุปกรณ์ทางกล

103MA02.3.01 163464
103MA02.3 ปฏิบัติงานเครื่องมือพื้นฐานและอุปกรณ์ทางกล

3.2 ตรวจสอบและบำรุงรักษาเครื่องมือื้นฐานและอุปกรณ์ทางกล

103MA02.3.02 163465

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

102MC01 คำนวณโดยใช้คณิตศาสตร์เบื้องต้น

102MC02 อ่านแบบและสัญลักษณ์ GD&T

102MC03 ใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลเพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

102MC04 ใช้เครื่องมือวัดละเอียด


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. สามารถปฏิบัติตามกฎความปลอดภัยของสถานประกอบการ หรือขั้นตอนความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

2. สามารถตรวจสอบสภาพความพร้อมของอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล

3. สามารถสวมใส่หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล

4. สามารถระบุและจำแนกชิ้นส่วนทางกล จากการเห็นรูปทรงชิ้นส่วนทางกล ณ หน้างาน

5. สามารถระบุชื่อเครื่องมือพื้นฐาน (Hand Tool) และอุปกรณ์ทางกล จากการเห็นรูปทรงเครื่องมือพื้นฐาน (Hand Tool) และอุปกรณ์ทางกล ณ หน้างาน

6. สามารถจัดเตรียมเครื่องมือพื้นฐาน (Hand Tool) และอุปกรณ์ทางกลสำหรับใช้ปฏิบัติงาน ตามใบสั่งงาน (Work Instruction)

7. สามารถตรวจสอบสภาพเครื่องมือพื้นฐาน (Hand Tool) และอุปกรณ์ทางกล

8. สามารถใช้งานเครื่องมือพื้นฐาน (Hand Tool) และอุปกรณ์ทางกลอย่างถูกหลักการ รวมถึงตรงกับวัตถุประสงค์การใช้

9. สามารถดูแลทำความสะอาดเครื่องมือพื้นฐานและอุปกรณ์ทางกล

10. สามารถซ่อมแซมเครื่องมือเครื่องมือพื้นฐานและอุปกรณ์ทางกลเบื้องต้น

11. สามารถแสดงการเก็บรักษาเครื่องมือพื้นฐานและอุปกรณ์ทางกลเบื้องต้น

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับสภาพความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน และอันตรายในการทำงาน

2. ความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล และการใช้งาน

3. ความรู้เกี่ยวกับหน่วยของแรงและทอร์ก

4. ความรู้เกี่ยวกับชิ้นส่วนทางกล

5. ความรู้เกี่ยวกับหลักการทำงานของชิ้นส่วนทางกล

6. ความรู้เกี่ยวกับความสภาพของอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลที่ความไม่ปลอดภัย สำหรับใช้ปฏิบัติงาน

7. ความรู้เกี่ยวกับประเภทและการใช้งานของเครื่องมือพื้นฐาน (Hand Tool) และอุปกรณ์ทางกล

8. ความรู้เกี่ยวกับความสภาพของเครื่องมือพื้นฐาน (Hand Tool) และอุปกรณ์ทางกลที่ความไม่ปลอดภัยสำหรับใช้ปฏิบัติงาน

9. ความรู้ด้านการซ่อมแซมและเก็บรักษาเครื่องมือพื้นฐาน (Hand Tool) และอุปกรณ์ทางกล


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. แบบบันทึกรายการผลจากการการสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. เอกสารรับรองผลการเรียนที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานเครื่องมือพื้นฐาน (Hand Tool) และอุปกรณ์ทางกล หรือ

2. เอกสารรับรองผลการอบรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานเครื่องมือพื้นฐาน (Hand Tool) และอุปกรณ์ทางกล หรือ

3. แบบบันทึกผลคะแนนการสอบข้อเขียน

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน โดยประเมินจาก การสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง

2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้ โดยประเมินจากข้อสอบข้อเขียน หรือการอบรม


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

1. ผู้เข้ารับการประเมินควรให้ความสำคัญเรื่องของความปลอดภัยในการทำงานขณะประกอบชิ้นส่วนเครื่องมือแพทย์ โดยสวมใส่อุปกรณ์นิรภัยส่วนบุคคลระหว่างการปฏิบัติงาน

2. ผู้เข้ารับการประเมินต้องสามารถอ่านแบบทางวิศวกรรม และตีความได้อย่างถูกต้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งแบบแสดงชิ้นส่วนประกอบ และ Bill of Materials

3. ผู้เข้ารับการประเมินต้องทราบศัพท์เทคนิคหรือศัพท์ทางช่างของอุปกรณ์ทางกล

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1. เครื่องมือพื้นฐาน (Hand Tool) และอุปกรณ์ทางกล หมายถึง เครื่องมือช่างที่ทำงานได้ด้วยกำลังจากคน หรือกำลังจากไฟฟ้า เช่น ไขควง ประแจ ตะไบ เลื่อน สว่าง ฯลฯ

2. อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล หมายถึง อุปกรณ์นิรภัยที่ป้องกันผู้ปฏิบัติงานจากอันตรายต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการทำงาน เช่น แว่นตานิรภัย หมวกนิรภัย เชือกนิรภัย ชุดนิรภัย รองเท้านิรภัย ถุงมือเข็มขัดพยุงหลัง ชุดป้องกันสารเคมี ฯลฯ

3. เครื่องมือแพทย์ หมายถึง เครื่องมือแพทย์ ตามนิยาม เครื่องมือแพทย์ ที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2562

(ค) วัสดุและอุปกรณ์

1. วัสดุที่ควรมีในการประเมินจากการสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง ประกอบด้วย ชิ้นส่วนเครื่องมือแพทย์ ที่ผลิตมาสำเร็จแล้ว รวมถึงชิ้นส่วนทางกลสำหรับยึด เช่น สกรู เป็นต้น

2. เครื่องจักรที่ควรมีในการประเมินจากการสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง ประกอบด้วย เครื่องทุนแรงในการยึดชิ้นส่วน (หากจำเป็น) เครื่องยกทุ่นกำลัง และเครน (หากจำเป็น) เป็นต้น

3. อุปกรณ์ที่ควรมีประกอบด้วย อุปกรณ์ป้องกันภัย เครื่องมือตัด เครื่องมือตัด ประแจ ไขควงเครื่องมือวัด และแบบหรือตัวอย่างแบบวิศวกรรมของงานชิ้นส่วนเครื่องมือแพทย์


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินการปฏิบัติตามหลักความปลอดภัยในการทำงาน

1. ประเมินโดยการสอบข้อเขียน

2. ประเมินจากรายละเอียดการผ่านการอบรมด้านความปลอดภัยในการทำงาน

3. ประเมินโดยการสังเกตการปฏิบัติงาน ณ หน้างานจริง ในด้านความปลอดภัยในการทำงาน

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

18.2 เครื่องมือประเมินการส ารวจข้อมูลความต้องการเตรียมเครื่องมือพื้นฐานและอุปกรณ์ทางกล

1. ประเมินโดยการสอบข้อเขียน

2. ประเมินจากรายละเอียดการผ่านการอบรมด้านการใช้เครื่องมือกล

3. ประเมินจากรายละเอียดการผ่านการอบรมด้านการอ่านแบบทางวิศวกรรม

4. การสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง ในด้านการเตรียมเครื่องมือพื้นฐานและอุปกรณ์ทางกล

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

18.3 เครื่องมือประเมินปฏิบัติงานเครื่องมือพื้นฐานและอุปกรณ์ทางกล

1. ประเมินโดยการสอบข้อเขียน

2. ประเมินจากรายละเอียดการผ่านการอบรมด้านการใช้เครื่องมือกล

3. ประเมินจากรายละเอียดการผ่านการอบรมด้านการอ่านแบบทางวิศวกรรม

4. การสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง ในด้านการเตรียมเครื่องมือพื้นฐานและอุปกรณ์ทางกล

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ