หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ผลิตชิ้นส่วนด้วยเครื่องกลึง CNC

สาขาวิชาชีพวิศวกรรมชีวการแพทย์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MET-RAIL-225A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ผลิตชิ้นส่วนด้วยเครื่องกลึง CNC

3. ทบทวนครั้งที่ N/A /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO 722 ช่างเหล็ก ช่างทำเครื่องมือ และผู้ปฏิบัติงานในธุรกิจที่เกี่ยวข้อง



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้มีความสามารถด้านการผลิตชิ้นส่วนด้วยเครื่องกลึง CNC จะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยในการทำงาน สามารถเตรียมงานก่อนการปฏิบัติงาน ป้อนและตรวจสอบโปรแกรมคำสั่ง CNC และปฏิบัติงานกับเครื่องกลึง CNC รวมถึงสามารถตรวจสอบความถูกต้องของขนาดชิ้นส่วนเครื่องมือแพทย์ และบำรุงรักษาเครื่องกลึง CNC เบื้องต้นได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพวิศวกรรมชีวการแพทย์  สาขาการผลิตเครื่องมือแพทย์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
102MM06.1 ความปลอดภัยในการทำงาน 1.1 ปฏิบัติตามขั้นตอนความ
ปลอดภัยในการทำงานและสวม
ใส่อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล
102MM06.1.01 163252
102MM06.1 ความปลอดภัยในการทำงาน

1.2 ตรวจสอบความพร้อมใช้งานของ
อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล
ก่อนและหลังปฏิบัติงาน

102MM06.1.02 163253
102MM06.2 การเตรียมก่อนการปฏิบัติงานด้วยเครื่องกลึง CNC

2.1 ศึกษารายละเอียดจากแบบงาน

102MM06.2.01 163254
102MM06.2 การเตรียมก่อนการปฏิบัติงานด้วยเครื่องกลึง CNC

2.2 ป้อนและตรวจสอบโปรแกรมคำสั่ง CNC

102MM06.2.02 163255
102MM06.2 การเตรียมก่อนการปฏิบัติงานด้วยเครื่องกลึง CNC

2.3 จัดเตรียมเครื่องมือตัดในการกลึง

102MM06.2.03 163256
102MM06.2 การเตรียมก่อนการปฏิบัติงานด้วยเครื่องกลึง CNC

2.4 จัดเตรียมวัตถุดิบ และอุปกรณ

102MM06.2.04 163257
102MM06.3 การปฏิบัติงานกับเครื่องกลึง CNC

3.1 จับยึดชิ้นงานและเครื่องมือตัด

102MM06.3.01 163258
102MM06.3 การปฏิบัติงานกับเครื่องกลึง CNC

3.2 ปรับตั้งศูนย์ชิ้นงานและเครื่องมือตัด

102MM06.3.02 163259
102MM06.3 การปฏิบัติงานกับเครื่องกลึง CNC

3.3 ปฏิบัติงานกลึงด้วยเครื่อง CNC

102MM06.3.03 163260
102MM06.3 การปฏิบัติงานกับเครื่องกลึง CNC

3.4 ตรวจสอบความถูกต้อง ขนาด
ของชิ้นส่วนเครื่องมือแพทย์และ
แก้ไขให้ตรงตามข้อกำหนด

102MM06.3.04 163261
102MM06.4 การบำรุงรักษาเครื่องกลึง CNC และอุปกรณ์

4.1 ตรวจสอบความพร้อมของ
เครื่องกลึง CNC และอุปกรณ์

102MM06.4.01 163262
102MM06.4 การบำรุงรักษาเครื่องกลึง CNC และอุปกรณ์

4.2 บำรุงรักษาเครื่องกลึง CNC และอุปกรณ์

102MM06.4.02 163263

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

อาชีพผลิตเครื่องมือแพทย์ ระดับ 2


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. สามารถปฏิบัติตามกฏความปลอดภัยของสถานประกอบการ หรือขั้นตอนความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

2. สามารถตรวจสอบสภาพความพร้อมของอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล

3. สามารถสวมใส่หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล

4. สามารถตรวจสอบประเภทและขนาดวัตถุดิบให้ตรงรายละเอียดที่ระบุไว้ในแบบ

5. สามารถติดตั้งวัตถุดิบกับเครื่องกลึง CNC ได้

6. สามารถตั้งศูนย์ของวัตถุดิบกับเครื่องกลึง CNC และตรวจสอบศูนย์

7. สามารถชดเชยขนาดเครื่องมือตัด

8. สามารถใช้เครื่องกลึง CNC สามารถเดินกินเนื้อวัสดุ

9. สามารถใช้เครื่องมือวัด

10. สามารถตรวจสอบขนาดของชิ้นงานภายหลังการกลึง และตัดสินผลตรวจสอบ

11. สามารถตรวจสอบสภาพเครื่องกลึง CNC และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องได้

12. สามารถดูแลท าความสะอาดเครื่องกลึง CNC และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องได้

13. สามารถซ่อมแซมเครื่องมือเครื่องกลึง CNC และอุปกรณ์เบื้องต้น

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับสภาพความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน และอันตรายในการทำงาน

2. ความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล และการใช้งาน

3. ความรู้เกี่ยวกับความสภาพของอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลที่ความไม่ปลอดภัย สำหรับใช้ปฏิบัติงาน

4. ความรู้เกี่ยวกับแบบทางวิศวกรรม

5. ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือตัดสำหรับงานกลึง (Turning Cutting Tool)

6. ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการกลึง

7. ความรู้เกี่ยวกับความเร็วรอบ อัตราการเดิน และระยะการกินเนื้อวัสดุ

8. ความรู้เกี่ยวกับชดเชยขนาดเครื่องมือตัด

9. ความรู้ด้านวัสดุประเภทโลหะที่ใช้ในการผลิตเครื่องมือแพทย์

10. ความรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบเครื่องกลึง CNC

11. ความรู้ด้านการวัดและการใช้งานเครื่องมือวัด


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. เอกสารรับรองการทำงานด้านการผลิตชิ้นส่วนเครื่องมือแพทย์ด้วยเครื่องกลึง CNC จากสถานประกอบการ

2. แบบบันทึกรายการผลจากการการสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. เอกสารรับรองผลการเรียนที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานเครื่องกลึง CNC หรือ

2. เอกสารรับรองผลการอบรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานเครื่องกลึง CNC และ

3. ความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล และการใช้งาน หรือ

4. ความรู้เกี่ยวกับความสภาพของอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลที่ไม่ปลอดภัย สำหรับใช้ปฏิบัติงาน หรือ

5. แบบบันทึกผลคะแนนการสอบข้อเขียน

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน โดยประเมินจาก ใบรับรองการทำงาน หรือ การสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง

2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้ โดยประเมินจากข้อสอบข้อเขียน หรือการอบรม


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องสามารถใช้ หรือสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันภัย สำหรับปฏิบัติงานได้อย่างถูกหลักความปลอดภัย

2. ผู้เข้ารับการประเมินต้องกำหนดรายละเอียดและขั้นตอนการทำงาน จัดเตรียมเครื่องมือตัด และวัตถุดิบ ในการผลิตเครื่องมือแพทย์ด้วยเครื่องกลึง CNC

3. ผู้เข้ารับการประเมินต้องกำหนดรายละเอียดและลำดับของการดำเนินงาน ป้อนและตรวจสอบโปรแกรมคำสั่ง CNC จัดเตรียมเครื่องมือตัด วัสดุงาน และ เครื่องมือวัด

4. ผู้เข้าประเมินต้องจับยึดวัตถุดิบและเครื่องมือตัด รวมถึงปรับตั้งค่าศูนย์ของชิ้นส่วนวัตถุดิบและเครื่องมือตัด ชดเชยขนาดเครื่องมือตัด

5. ผู้เข้าประเมินต้องอ่านแบบทางวิศวกรรมของงานได้ และสามารถควบคุมเครื่องกลึง CNC ให้ผลิตชิ้นงานได้ตรงตามข้อกำหนดของแบบงาน

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1. เครื่องมือแพทย์ หมายถึง เครื่องมือแพทย์ ตามนิยาม เครื่องมือแพทย์ ที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2562

2. เครื่องมือวัด หมายถึง เครื่องมือวัดระยะ ได้แก่ เวอร์เนียคาลิปเปอร์ ไมโครมิเตอร์ และไดอัลเกจ (Dial Gauge)

3. อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล หมายถึง หมายถึง อุปกรณ์นิรภัยที่ป้องกันผู้ปฏิบัติงานจากอันตรายต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการทำงานกับเครื่องกลึง CNC เช่น แว่นตานิรภัย หมวกนิรภัย ชุดนิรภัย รองเท้านิรภัยถุงมือ ฯลฯ

(ค) วัสดุและอุปกรณ์

1. วัสดุที่ควรมีในการประเมินจากการสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง ประกอบด้วย วัตถุดิบที่เป็นโลหะชีววัสดุ (Metal Biomaterials) เช่น สแตนเลสสตีล และไทเทเนียม เป็นต้น หรือโลหะที่ใช้ผลิตเป็นเครื่องมือแพทย์

2. เครื่องจักรที่ควรมีในการประเมินจากการสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง ประกอบด้วย เครื่องกลึงCNC แบบที่ผู้เข้ารับการทดสอบถนัดและมีความช านาญ และอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน

3. อุปกรณ์ที่เครื่องจักรที่ควรมีประกอบด้วย อุปกรณ์ป้องกันภัย เครื่องมือตัด เครื่องมือวัด และแบบหรือตัวอย่างแบบวิศวกรรมของงานชิ้นส่วนเครื่องมือแพทย์


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินความปลอดภัยในการทำงาน

1. ประเมินโดยการสอบข้อเขียน

2. ประเมินจากรายละเอียดการผ่านการอบรมด้านความปลอดภัยในการทำงาน

3. ประเมินโดยการสังเกตการปฏิบัติงาน ณ หน้างานจริง ในด้านความปลอดภัยในการทำงานการ

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

18.2 เครื่องมือประเมินการเตรียมก่อนการปฏิบัติงานด้วยเครื่องกลึง CNC

1. ประเมินโดยการสอบข้อเขียน

2. ประเมินจากรายละเอียดการผ่านการอบรมด้านการใช้งานเครื่องกลึง CNC

3. ประเมินโดยการสังเกตการปฏิบัติงาน ณ หน้างานจริง ในด้านการปฏิบัติงานด้วยเครื่องกลึง CNC

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

18.3 เครื่องมือประเมินการปฏิบัติงานกับเครื่องกลึง CNC

1. ประเมินโดยการสอบข้อเขียน

2. ประเมินจากรายละเอียดการผ่านการอบรมด้านการใช้งานเครื่องกลึง CNC

3. ประเมินจากรายละเอียดการผ่านการอบรมด้านการใช้งานเครื่องมือวัด

4. ประเมินโดยการสังเกตการปฏิบัติงาน ณ หน้างานจริง ในด้านการปฏิบัติงานกับเครื่องกลึง CNC

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

18.4 เครื่องมือประเมินการบำรุงรักษาเครื่องกลึง CNC และอุปกรณ์

1. ประเมินโดยการสอบข้อเขียน

2. ประเมินจากรายละเอียดการผ่านการอบรมด้านการใช้งานเครื่องกลึง CNC

3. ประเมินโดยการสังเกตการปฏิบัติงาน ณ หน้างานจริง ในด้านการบำรุงรักษาเครื่องกลึง CNC และอุปกรณ์

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ