หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ใช้เครื่องมือวัดทางไฟฟ้า

สาขาวิชาชีพวิศวกรรมชีวการแพทย์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MET-OBAU-248A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ใช้เครื่องมือวัดทางไฟฟ้า

3. ทบทวนครั้งที่ N/A /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผลิตเครื่องมือแพทย์ หรือ อาชีพประกอบเครื่องมือแพทย์



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะมีความสามารถในการใช้เครื่องมือวัดทางไฟฟ้าให้เหมาะสมกับงาน สามารถจัดเตรียม ตรวจสอบ จัดเก็บ เครื่องมือวัดได้และสามารถใช้เครื่องมือวัด วัดค่าทางไฟฟ้าได้อีกทั้งยังสามารถจดบันทึดค่าที่วัดและสามารถคำนวนหาคุณสมบัติทางไฟฟ้าได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพวิศวกรรมชีวการแพทย์  สาขาการผลิตเครื่องมือแพทย์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
102MC05.1 เลือกและจัดเก็บเครื่องมือวัดทางไฟฟ้า

1.1 เลือกใช้เครื่องมือวัดได้ให้เหมาะสมกับงานได้อย่างถูกต้อง

102MDC05.1.01 163572
102MC05.1 เลือกและจัดเก็บเครื่องมือวัดทางไฟฟ้า

1.2 ตรวจสอบความสมบูรณ์ของเครื่องวัดได้

102MDC05.1.02 163573
102MC05.1 เลือกและจัดเก็บเครื่องมือวัดทางไฟฟ้า

1.3 จัดเก็บเครื่องมือวัดได้อย่างถูกต้อง

102MDC05.1.03 163574
102MC05.2 ใช้เครื่องมือวัดทางไฟฟ้าตามกฎความปลอดภัยในการทำงาน

2.1 ปฏิบัติตามขั้นตอนความปลอดภัยในการทำงานและสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล

102MDC05.2.01 163575
102MC05.2 ใช้เครื่องมือวัดทางไฟฟ้าตามกฎความปลอดภัยในการทำงาน

2.2 จัดเตรียมเครื่องมือวัดให้พร้อมใช้งาน

102MDC05.2.02 163576
102MC05.2 ใช้เครื่องมือวัดทางไฟฟ้าตามกฎความปลอดภัยในการทำงาน

2.3 ใช้เครื่องมือวัด วัดค่าทางไฟฟ้าในอุปกรณ์การแพทย์ได้อย่างถูกต้อง

102MDC05.2.03 163577
102MC05.2 ใช้เครื่องมือวัดทางไฟฟ้าตามกฎความปลอดภัยในการทำงาน

2.4 อ่านค่าจากเครื่องมือวัดได้

102MDC05.2.04 163578
102MC05.3 จดบันทึกผลการวัด

3.1 จดบันทึกค่าจากเครื่องมือวัดได้

102MDC05.3.01 163579
102MC05.3 จดบันทึกผลการวัด

3.2 ดำเนินการทางคณิตศาสตร์เพื่อแปลงหน่วยวัดให้เป็นหน่วยวัดที่เหมาะสม

102MDC05.3.02 163580
102MC05.3 จดบันทึกผลการวัด

3.3 คำนวณค่าที่ได้จากการวัดในการหาคุณสมบัติทางไฟฟ้าอื่นๆ

102MDC05.3.03 163581

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. สามารถระบุชื่อเครื่องมือวัดทางไฟฟ้า จากการเห็นรูปทรง ณ หน้างาน

2. สามารถจำแนก เลือก และจัดเตรียมเครื่องมือวัดทางไฟฟ้า สำหรับใช้ปฏิบัติงาน ตามใบสั่งงาน (Work Instruction)

3. สามารถปฏิบัติตามกฎความปลอดภัยของสถานประกอบการ หรือขั้นตอนความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

4. สามารถตรวจสอบสภาพความพร้อมของอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล

5. สามารถสวมใส่หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล

6. สามารถตรวจสอบสภาพเครื่องมือวัดทางไฟฟ้า

7. สามารถใช้งานเครื่องมือวัดทางไฟฟ้า วัดค่าทางไฟฟ้าของชิ้นงานในอุปกรณ์การแพทย์ได้อย่างถูกต้อง

8. สามารถการอ่านและจดบันทึกค่าจากเครื่องมือวัดทางไฟฟ้า

9. สามารถดำเนินการทางคณิตศาสตร์เพื่อแปลงหน่วยวัดให้เป็นหน่วยวัดที่เหมาะสม

10. สามารถคำนวณค่าที่ได้จากการวัดในการหาคุณสมบัติทางไฟฟ้าอื่นๆ

11. สามารถบำรุงรักษาและจัดเก็บเครื่องมือวัดทางไฟฟ้าเบื้องต้น

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับประเภทและการใช้งานของเครื่องมือวัดทางไฟฟ้า

2. ความรู้เกี่ยวกับสภาพความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน และอันตรายในการทำงาน

3. ความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล และการใช้งาน

4. ความรู้เกี่ยวกับความสภาพของอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลที่ความไม่ปลอดภัย สำหรับใช้ปฏิบัติงาน

5. ความรู้เกี่ยวกับความสภาพของเครื่องมือวัดทางไฟฟ้าที่ส่งผลต่อความไม่ปลอดภัยสำหรับใช้ปฏิบัติงาน

6. ความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์และแนวคิดเกี่ยวกับการวัดทางไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์

7. ความรู้เกี่ยวกับข้อมูลจำเพาะของเครื่องมือวัดทางไฟฟ้าที่เกี่ยวข้องที่ใช้ในการวัด

8. ความรู้เกี่ยวกับการตั้งค่าแอพพลิเคชั่นในเครื่องมือวัดทางไฟฟ้าแต่ละประเภท

9. ความรู้เกี่ยวกับวิธีการเชื่อมต่อเครื่องมือวัดทางไฟฟ้ากับชิ้นงานในอุปกรณ์การแพทย์ที่ถูกวัด

10. ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการวัดค่าทางไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์

11. ความรู้เกี่ยวกับการปรับสเกลให้ถูกต้องสำหรับการตั้งค่าเครื่องมือวัดทางไฟฟ้าแต่ละครั้ง

12. ความรู้เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ค่าสเกล (Scaling Factor) กับค่าที่อ่านและถูกจดบันทึกจากอุปกรณ์เครื่องมือวัดทางไฟฟ้า

13. ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินการทางคณิตศาสตร์เพื่อแปลงหน่วยวัดให้เป็นหน่วยวัดที่เหมาะสม

14. ความรู้ด้านบำรุงรักษาและจัดเก็บเครื่องมือวัดทางไฟฟ้า


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. แบบบันทึกรายการผลจากการสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. เอกสารรับรองผลการเรียนที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานเครื่องมือวัดทางไฟฟ้า หรือ

2. เอกสารรับรองผลการอบรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานเครื่องมือวัดทางไฟฟ้า หรือ

3. แบบบันทึกผลคะแนนการสอบข้อเขียน

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน โดยประเมินจากการสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง

2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้ พิจารณาตามหลักฐานความรู้ โดยประเมินจากข้อสอบข้อเขียน หรือการอบรม


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

1. ผู้เข้ารับการประเมินควรมีทักษะการใช้งานเครื่องมือวัดทางไฟฟ้า และทราบถึงการปฏิบัติงานกับอุปกรณ์ทางไฟฟ้าได้อย่างปลอดภัย

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1. เครื่องมือวัดทางไฟฟ้า หมายถึง เครื่องมือที่ใช้ในการวัดปริมาณไฟฟ้าเพื่อหาค่าพารามิเตอร์ทางไฟฟ้าของชิ้นงานในอุปกรณ์ที่ถูกวัด เช่น มัลติมิเตอร์ (Multimeter), Leakage tester, Microwave power meter, Oscilloscope, Signal generator, Signal analyzer ฯลฯ

2. มัลติมิเตอร์ (Multimeter) หมายถึง อุปกรณ์วัดปริมาณต่างๆทางไฟฟ้าที่ใช้งานได้หลายอย่างอยู่ในเครื่องเดียวกัน โดยการรวมแอมมิเตอร์ โวลต์มิเตอร์ และโอห์มมิเตอร์ไว้ในเครื่องเดียวกัน

3. Leakage tester หมายถึง อุปกรณ์วัดการรั่วไหลผ่านแผ่นของตัวเก็บประจุ

4. Microwave power meter หมายถึง อุปกรณ์วัดกำลังไมโครเวฟในค่าความถี่ที่วัด

5. Oscilloscope หมายถึง อุปกรณ์แสดงรูปคลื่นของสัญญาณ

6. Signal generator หมายถึง อุปกรณ์สร้างสัญญาณเพื่อการวัดหรือการทดสอบ

7. Signal analyzer หมายถึง อุปกรณ์วัดแอมพลิจูดและการมอดูเลตของสัญญาณความถี่วิทยุ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินการเลือกและจัดเก็บเครื่องมือวัดทางไฟฟ้า

1. ประเมินโดยการสอบข้อเขียน

2. ประเมินจากรายละเอียดการผ่านการอบรมด้านการใช้งานเครื่องมือวัดทางไฟฟ้า

3. ประเมินโดยการสังเกตการปฏิบัติงาน ณ หน้างานจริง ในการเลือกและจัดเก็บเครื่องมือวัดทางไฟฟ้า ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

18.2 เครื่องมือประเมินการใช้เครื่องมือเครื่องมือวัดทางไฟฟ้าตามกฎความปลอดภัยในการทำงาน

1. ประเมินโดยการสอบข้อเขียน

2. ประเมินจากรายละเอียดการผ่านการอบรมด้านการใช้งานเครื่องมือวัดทางไฟฟ้า

3. ประเมินโดยการสังเกตการปฏิบัติงาน ณ หน้างานจริง ในการใช้เครื่องมือเครื่องมือวัดทางไฟฟ้า ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

18.3 เครื่องมือประเมินการจดบันทึกผลการวัด

1. ประเมินโดยการสอบข้อเขียน

2. ประเมินจากรายละเอียดการผ่านการอบรมด้านการใช้งานเครื่องมือวัดทางไฟฟ้า



ยินดีต้อนรับ