หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ประเมินความเสี่ยงเครื่องมือแพทย์

สาขาวิชาชีพวิศวกรรมชีวการแพทย์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MET-UFCB-219A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ประเมินความเสี่ยงเครื่องมือแพทย์

3. ทบทวนครั้งที่ N/A /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO 311 ช่างเทคนิคด้านวิทยาศาสตร์กายภาพและวิศวกรรมศาสตร์



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถดำเนินการวางแผน ประเมิน และควบคุมความเสี่ยงของเครื่องมือแพทย์จากการใช้งานตามความมุ่งหมายได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพวิศวกรรมชีวการแพทย์  สาขาการผลิตเครื่องมือแพทย์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
101MC03.1 วางแผนการประเมินความเสี่ยง

1.1 เตรียมข้อมูลความมุ่งหมายการใช้งานเครื่องมือแพทย์

101MDC03.1.01 163168
101MC03.1 วางแผนการประเมินความเสี่ยง

1.2 กำหนดแผนงาน ระยะเวลา และผู้รับผิดชอบในการประเมินความเสี่ยง

101MDC03.1.02 163169
101MC03.2 คาดการณ์ความเสี่ยง

2.1 ระบุสถานการณ์ความเสี่ยงที่อาจ
เกิดขึ้นจากการใช้งานตามความ
มุ่งหมาย

101MDC03.2.01 163170
101MC03.2 คาดการณ์ความเสี่ยง

2.2 ประเมินระดับความเสี่ยง

101MDC03.2.02 163171
101MC03.3 ควบคุมความเสี่ยง

3.1 กำหนดรายการทดสอบเครื่องมือ
แพทย์เพื่อลดความเสี่ยง

101MDC03.3.01 163172
101MC03.3 ควบคุมความเสี่ยง

3.2 รวบรวมผลการทดสอบเครื่องมือ
แพทย์ เพื่อยืนยันผลการลดความ
เสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้

101MDC03.3.02 163173

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

อาชีพออกแบบเครื่องมือแพทย์ ระดับ 5 หรือ อาชีพทดสอบเครื่องมือแพทย์  ระดับ 5


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. สามารถเตรียมข้อมูลรายละเอียดเครื่องมือแพทย์

2. สามารถวางแผนงานประเมินความเสี่ยงเครื่องมือแพทย์

3. สามารถกำหนด ระยะเวลา และผู้รับผิดชอบ ในแต่ละขั้นตอนการประเมิน

4. สามารถระบุรายละเอียดความเสี่ยงของการใช้งานเครื่องมือแพทย์

5. สามารถใช้เครื่องมือเพื่อประเมินระดับความเสี่ยง

6. สามารถระบุความเสี่ยงสำคัญของเครื่องมือแพทย์

7. สามารถระบุการทดสอบสมรรถนะและความปลอดภัยที่เกี่ยวข้อง

8. สามารถแสดงรวบรวมผลการทดสอบ

9. สามารถยืนยันผลการควบคุมความเสี่ยง

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้ด้านกระบวนการประเมินความเสี่ยงเครื่องมือแพทย์ตามข้อกำหนด ISO14971

2. ความรู้เกี่ยวกับ Gantt chart ใช้ในการวางแผนงานการออกแบบเครื่องมือแพทย์

3. ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือแพทย์

4. ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือประเมินความเสี่ยง เช่น FMEA เป็นต้น

5. ความรู้เกี่ยวกับการทดสอบเครื่องมือแพทย


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. เอกสารรับรองการทำงานด้านการประเมินความเสี่ยงเครื่องมือแพทย์จากสถานประกอบการ หรือ

2. แบบบันทึกรายการผลจากสาธิตการปฏิบัติงานออกแบบเครื่องมือแพทย์ หรือ

3. แฟ้มสะสมผลงานที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบเครื่องมือแพทย์

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. เอกสารรับรองผลการเรียนที่เกี่ยวข้องกับการประเมินความเสี่ยงเครื่องมือแพทย์ หรือ

2. เอกสารรับรองผลการอบรมเกี่ยวข้องกับการประเมินความเสี่ยงเครื่องมือแพทย์ หรือ

3. แบบบันทึกผลคะแนนการสอบข้อเขียน

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานด้านความรู้ที่เกี่ยวข้อง

(ง) วิธีการประเมิน

1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน โดยประเมินจาก ใบรับรองการทำงาน หรือแฟ้มสะสมผลงาน

2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้ โดยประเมินจากข้อสอบข้อเขียน หรือการอบรม


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

1. ผู้รับการประเมินควรมีความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือประเมินความเสี่ยง

2. ผู้รับการประเมินควรมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ ISO14971 และวิธีประเมินความเสี่ยง

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1. เครื่องมือแพทย์ หมายถึง เครื่องมือแพทย์ ตามนิยาม เครื่องมือแพทย์ ที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2562

2. รายละเอียดเครื่องมือแพทย์ หมายถึง คุณลักษณะเครื่องมือแพทย์ เช่น ลักษณะรูปทรงทั่วไปหลักการทำงาน ข้อบ่งใช้ วัตถุประสงค์การใช้ การเก็บรักษา ฯลฯ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินการวางแผนการประเมินความเสี่ยง

1. ประเมินโดยการสอบข้อเขียน

2. ประเมินจากรายละเอียดการผ่านการอบรมด้านความเสี่ยงเครื่องมือแพทย์ หรือ ISO14971

3. ประเมินจากแฟ้มสะสมผลงานที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนการประเมินความเสี่ยง

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

18.2 เครื่องมือประเมินการคาดการณ์ความเสี่ยง

1. การสอบข้อเขียน

2. ประเมินจากรายละเอียดการผ่านการอบรมด้านความเสี่ยงเครื่องมือแพทย์ หรือ ISO14971

3. ประเมินจากแฟ้มสะสมผลงานที่เกี่ยวข้องกับการคาดการณ์ความเสี่ยง

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

18.3 เครื่องมือประเมินการควบคุมความเสี่ยง

1. การสอบข้อเขียน

2. ประเมินจากรายละเอียดการผ่านการอบรมด้านความเสี่ยงเครื่องมือแพทย์ หรือ ISO14971

3. ประเมินจากแฟ้มสะสมผลงานที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมความเสี่ยง

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ