หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ออกแบบเครื่องมือแพทย์ด้วยหลักการ Human Factor และ Human Compatibility

สาขาวิชาชีพวิศวกรรมชีวการแพทย์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MET-YFAR-208A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ออกแบบเครื่องมือแพทย์ด้วยหลักการ Human Factor และ Human Compatibility

3. ทบทวนครั้งที่ N/A /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO 311 ช่างเทคนิคด้านวิทยาศาสตร์กายภาพและวิศวกรรมศาสตร์



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถเข้าใจสรีรวิทยาเบื้องต้นพื้นฐานของร่างกาย โดยระบุแกนทิศทางของร่างกาย (Body Axis) และระนาบของร่างกาย (Body Plane) ได้ รวมถึงกำหนดพารามิเตอร์การวัดร่างกาย และเลือกใช้เครื่องมือการวัดที่เหมาะสม เพื่อนำข้อมูลมาสรุปเชิงสถิติและนำมาใช้ในการออกแบบเครื่องมือแพทย์ได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพวิศวกรรมชีวการแพทย์  สาขาการผลิตเครื่องมือแพทย์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
101MD06.1 เข้าใจกายวิภาคพื้นฐานของร่างกาย

1.1 ระบุแกนทิศทางของร่างกายและระนาบของร่างกาย

101MD06.1.01 163050
101MD06.1 เข้าใจกายวิภาคพื้นฐานของร่างกาย

1.2 ระบุสรีรวิทยาเบื้องต้น (Organ Level)

101MD06.1.02 163051
101MD06.2 วัดขนาดร่างกายและนำ Human Factor เพื่อนำมาใช้ในการออกแบบ

2.1 เลือกใช้เครื่องมือวัดที่เหมาะสม

101MD06.2.01 163052
101MD06.2 วัดขนาดร่างกายและนำ Human Factor เพื่อนำมาใช้ในการออกแบบ

2.2 กำหนดพารามิเตอร์ในการวัดร่างกาย

101MD06.2.02 163053
101MD06.3 สรุปข้อมูลเพื่อนำไปใช้ในการออกแบบ

3.1 นำหลักสถิติมาใช้ในการวิเคราะห์ผลข้อมูลการวัดพารามิเตอร

101MD06.3.01 163054
101MD06.3 สรุปข้อมูลเพื่อนำไปใช้ในการออกแบบ

3.2 หาความสัมพันธ์ระหว่าพารามิเตอร์
ของร่างกายได

101MD06.3.02 163055

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

อาชีพออกแบบเครื่องมือแพทย์ ระดับ 4


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. สามารถแสดงการใช้เครื่องมือวัดในการวัดพารามิเตอร์ของร่างกาย

2. สามารถแสดงการวางแผนเพื่อกำหนดการวัดพารามิเตอร์ของร่างกายที่สัมพันธ์กับการออกแบบเครื่องมือแพทย์

3. สามารถแสดงการเก็บผลตัวเลขการวัดพารามิเตอร์ของร่างกาย

4. สามารถแสดงการหา ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากข้อมูลดิบ

5. สามารถแสดงใช้ t-test และ ANOVA เพื่อระบุความแตกต่างหรือไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ

6. สามารถแสดงการหาสมการ และค่าสัมประสิทธิ์ความสอดคล้องด้วยวิธีกำลังสองถดถอยได้

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับการวางแผนการวัดพารามิเตอร์

2. ความรู้เกี่ยวกับแกนทิศทางของร่างกายและระบุระนาบของร่างกาย

3. ความรู้เกี่ยวกับระบบอวัยวะและอวัยวะ

4. ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือวัด

5. ความรู้เกี่ยวกับ Human Factor

6. ความรู้เกี่ยวกับหลักสถิติในการ ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

7. ความรู้เกี่ยวกับ t-test และ ANOVA

8. ความรู้เกี่ยวกับวิธีกำลังสองถดถอย


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. เอกสารรับรองการทำงานด้านการออกแบบเครื่องมือแพทย์ โดยใช้ Human Factor และ Human Compatibility มาเกี่ยวข้องจากสถานประกอบการ หรือ

2. แบบบันทึกรายการผลจากสาธิตการปฏิบัติงานการออกแบบเครื่องมือแพทย์ โดยใช้ Human Factor และ Human Compatibility มาเกี่ยวข้อง หรือ

3. แฟ้มสะสมผลงานที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบเครื่องมือแพทย์ โดยใช้ Human Factor และ Human Compatibility มาเกี่ยวข้องหรือ

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. เอกสารรับรองผลการเรียนที่เกี่ยวข้องกับสรีรวิทยา หรือ การยศาสตร์  หรือ

2. เอกสารรับรองผลการอบรมที่เกี่ยวข้องกับสรีรวิทยา หรือ การยศาสตร์ หรือ

3. เอกสารรับรองผลการเรียนที่เกี่ยวข้องกับ Human Factor หรือ

4. เอกสารรับรองผลการอบรมที่เกี่ยวข้องกับ Human Factor หรือ

5. เอกสารรับรองผลการเรียนที่เกี่ยวข้องกับหลักสถิติ หรือ

6. เอกสารรับรองผลการอบรมที่เกี่ยวข้องกับหลักสถิติ หรือ

7. เอกสารรับรองผลการเรียนที่เกี่ยวข้องกับการวัด หรือเครื่องมือวัด หรือ

8. เอกสารรับรองผลการอบรมที่เกี่ยวข้องกับการวัด หรือเครื่องมือวัด หรือ

9. แบบบันทึกผลการสอบสัมภาษณ์ หรือ

10. แบบบันทึกผลคะแนนการสอบข้อเขียน

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

1. พิจารณาจากใบรับรองการทำงาน หรือแฟ้มสะสมผลงาน

2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้ โดยประเมินจากข้อสอบข้อเขียน หรือการอบรม


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องสามารถใช้เครื่องมือวัด หรือหรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป เช่นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบ (CAD) ในการวัดสรีระได้

2. ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีทักษะการใช้เครื่องคิดเลข หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป เช่น MS Excel ในการวิเคราะห์ทางสถิติได้

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1. สรีรวิทยาเบื้องต้น หมายถึง รูปทรงของร่างกาย และอวัยวะของมนุษย์

2. เครื่องมือการวัด หมายถึง เครื่องมือที่ใช้วัดขนาดร่างกายและอวัยวะ ซึ่งได้แก่ สายวัด คาลิปเปอร์เวอร์เนียร์คาลิปเปอร์ และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบ

3. เครื่องมือแพทย์ หมายถึง เครื่องมือแพทย์ ตามนิยาม เครื่องมือแพทย์ ที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2551

4. Human Factor หมายถึง ปัจจัยด้านร่างกายและพฤติกรรมของมนุษย์

5. หลักสถิติ การหาค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ ANOVA

6. ความสัมพันธ์ระหว่างพารามิเตอร์ หมายถึง สมการความสัมพันธ์จาการใช้วิธีกำลังสองถดถอย


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินการเข้าใจกายวิภาคพื้นฐานของร่างกาย

1. ประเมินโดยการสอบข้อเขียน

2. ประเมินจากการสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิคเกี่ยวกับความรู้ด้านกายวิภาคและสรีรวิทยา

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

18.2 เครื่องมือประเมินการวัดขนาดร่างกายและนำ Human Factor เพื่อนำมาใช้ในการออกแบบ

1. ประเมินโดยการสอบข้อเขียน

2. ประเมินจากแฟ้มสะสมผลงานออกแบบเครื่องมือแพทย์โดยอาศัยสรีรวิทยาเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งแสดงถึงการใช้เครื่องมือวัดมิติต่างๆ ของร่างกาย

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

18.3 เครื่องมือประเมินการสรุปข้อมูลเพื่อน าไปใช้ในการออกแบบ

1. ประเมินโดยการสอบข้อเขียน

2. ประเมินจากแฟ้มสะสมผลงานออกแบบเครื่องมือแพทย์โดยใช้เครื่องมือทางสถิติเป็นตัววิเคราะห์

ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ