หน่วยสมรรถนะ
ปฏิบัติตามหลักชีวอนามัยและความปลอดภัยของบุคลากรเรือประมง
สาขาวิชาชีพการเดินเรือ
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | MRT-YWGJ-055A |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | ปฏิบัติตามหลักชีวอนามัยและความปลอดภัยของบุคลากรเรือประมง |
3. ทบทวนครั้งที่ | N/A / N/A |
4. สร้างใหม่ | ปรับปรุง |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
ช่างกลเรือ รองต้นกลเรือ ต้นกลเรือ |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ จะสามารถประยุกต์หลักปฏิบัติด้านชีวอนามัยและความปลอดภัยมาใช้กับบุคลากรบนเรือประมงได้ |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
อุตสาหกรรมการเดินเรือประมงพาณิชย์ |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
- ISCO 3151 ช่างเทคนิคหรือช่างเครื่องประจำเรือ |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
- แนวปฏิบัติด้านความปลอดภัยในการทำงานภาคประมงทะเล ของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ปี พ.ศ.2556 |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) | รหัส PC (ตามเล่มมาตรฐาน) |
รหัส PC (จากระบบ) |
---|---|---|---|
ME40901 ประยุกต์หลักปฏิบัติด้าน ชีวอนามัยและความปลอดภัยมาใช้กับบุคลากรเรือประมง | 1.1 ปฏิบัติตามข้อกำหนดของสภาพความเป็นอยู่และสภาพการทำงานตามแนวปฏิบัติด้านความปลอดภัยในการทำงานภาคประมงทะเล | ME40901.01 | 62150 |
ME40901 ประยุกต์หลักปฏิบัติด้าน ชีวอนามัยและความปลอดภัยมาใช้กับบุคลากรเรือประมง | 1.2 ป้องกันอันตรายที่เกิดจากใบจักรเรือ | ME40901.02 | 62151 |
ME40901 ประยุกต์หลักปฏิบัติด้าน ชีวอนามัยและความปลอดภัยมาใช้กับบุคลากรเรือประมง | 1.3 ป้องกันอันตรายที่เกิดจากไฟฟ้าบนเรือ | ME40901.03 | 62152 |
ME40901 ประยุกต์หลักปฏิบัติด้าน ชีวอนามัยและความปลอดภัยมาใช้กับบุคลากรเรือประมง | 1.4 ป้องกันอันตรายที่เกิดจากการใช้เครื่องมือกว้าน | ME40901.04 | 62153 |
ME40901 ประยุกต์หลักปฏิบัติด้าน ชีวอนามัยและความปลอดภัยมาใช้กับบุคลากรเรือประมง | 1.5 ป้องกันอันตรายที่เกิดจากเครื่องมือเก็บอวน | ME40901.05 | 62154 |
ME40901 ประยุกต์หลักปฏิบัติด้าน ชีวอนามัยและความปลอดภัยมาใช้กับบุคลากรเรือประมง | 1.6 ป้องกันอันตรายที่เกิดจากการใช้รอก | ME40901.06 | 62155 |
ME40901 ประยุกต์หลักปฏิบัติด้าน ชีวอนามัยและความปลอดภัยมาใช้กับบุคลากรเรือประมง | 1.7 ป้องกันอันตรายที่เกิดจากการอยู่ในจุดอับที่ทำให้เกิดการหนีบของอุปกรณ์ | ME40901.07 | 62156 |
ME40901 ประยุกต์หลักปฏิบัติด้าน ชีวอนามัยและความปลอดภัยมาใช้กับบุคลากรเรือประมง | 1.8 ป้องกันอันตรายที่เกิดจากการชนและกระแทก ยก หรือเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ | ME40901.08 | 62157 |
ME40901 ประยุกต์หลักปฏิบัติด้าน ชีวอนามัยและความปลอดภัยมาใช้กับบุคลากรเรือประมง | 1.9 ป้องกันอันตรายที่เกิดจากอันตรายจากการเคลื่อนย้ายแผ่นตะเฆ่ | ME40901.09 | 62158 |
ME40901 ประยุกต์หลักปฏิบัติด้าน ชีวอนามัยและความปลอดภัยมาใช้กับบุคลากรเรือประมง | 1.10 ป้องกันอันตรายที่เกิดจากอันตรายจากการเคลื่อนย้ายอวน | ME40901.10 | 62159 |
ME40902 ปฏิบัติตามข้อกำหนด FAO/ILO/IMO สำหรับชาวประมงและบุคลากรเรือประมง | 2.1 ปฏิบัติตามขั้นตอนความปลอดภัยตามแนวปฏิบัติด้านความปลอดภัยในการทำงานภาคประมงทะเลของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน | ME40902.01 | 62160 |
ME40902 ปฏิบัติตามข้อกำหนด FAO/ILO/IMO สำหรับชาวประมงและบุคลากรเรือประมง | 2.2 ปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัยของ IMO/FAO | ME40902.02 | 62161 |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
- N/A |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ - ใช้อุปกรณ์ความปลอดปลอดภัยส่วนบุคคลปฏิบัติการเหตุฉุกเฉินอย่างเต็มความสามารถ เช่น ไฟไหม้ เรือโดนกัน เรืออับปาง น้ำเข้าเรือ อันตรายจากการใช้เครื่องมือประมง - ทักษะการใช้อุปกรณ์ช่วยชีวิต (ข) ความต้องการด้านความรู้ - ความรู้เกี่ยวกับวัตถุ อุปกรณ์และสถานการณ์ที่เป็นอันตราย เช่น กว้าน เชือก และแผ่นตะเฆ่ การยกเคลื่อนย้ายอวน การปล่อยอวนสำหรับการทำประมง รวมถึงแสงสว่างในบริเวณที่ทำงานและทางเดินที่ไม่เพียงพอ และอันตรายจากเครื่องยนต์ - ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์และค้นหาอันตราย โดยการแบ่งงานที่จะวิเคราะห์ออกเป็นขั้นตอนย่อยๆ เช่น ขั้นตอนการวางอวน การกู้อวน การตัก การ คัดแยก การเก็บสัตว์น้ำ หรืออาจจะจำแนกโดยกำหนดสถานที่ปฏิบัติงาน บริเวณ ปฏิบัติงานของลูกจ้าง เช่น ปฏิบัติงานที่ห้องเครื่อง ปฏิบัติงานบริเวณดาดฟ้าเรือ การปฏิบัติงานบริเวณห้องครัวหรือสถานที่ทำครัว หรือปฏิบัติงานห้องควบคุม การจ่ายการแสไฟฟ้า |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) - หนังสือคนประจำเรือ (SEAMAN Book) - หนังสือคนประจำเรือ (SEA Book) สำหรับแรงงานต่างด้าว - แบบบันทึกรายการผลจากการสังเกต (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) - ประกาศนียบัตรแสดงความรู้ความสามารถของผู้ทําการในเรือ ฝ่ายเดินเรือ จากกรมเจ้าท่า - เอกสารรับรองผลการเรียนหรือผลการอบรมที่เกี่ยวข้อง (ค) คำแนะนำในการประเมิน - ผู้ประเมินตรวจประเมิน โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้ (ง) วิธีการประเมิน - สอบสัมภาษณ์ |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
(ก) คำแนะนำ - ความรู้เกี่ยวกับวัตถุ อุปกรณ์และสถานการณ์ที่เป็นอันตราย เช่น กว้าน เชือก และแผ่นตะเฆ่ การยกเคลื่อนย้ายอวน การปล่อยอวนสำหรับการทำประมง รวมถึงแสงสว่างในบริเวณที่ทำงานและทางเดินที่ไม่เพียงพอ และอันตรายจากเครื่องยนต์ - ศึกษาข้อกำหนดขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nations ; FAO) - ศึกษาข้อกำหนดขององค์การเดินเรือระหว่างประเทศ (International Maritime Organization ; IMO) - ใช้ทักษะและความรู้ตามข้อ 13 (ก) และ (ข) (ข) คำอธิบายรายละเอียด - กว้าน เป็นเครื่องมือสำคัญของเรือประมง เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยในการผ่อนแรงสำหรับการยกอวนพร้อมสัตว์น้ำขึ้นจากทะเล กว้านของเรือประมง แต่ละชนิดจะแตกต่างกัน กว้านหลักของเรือลากแผ่นตะเฆ่และเรืออวนล้อม จะติดตั้งอยู่บริเวณด้านข้างของเรือ แต่จะมีขนาดและจำนวนที่ต่างกัน - รอก เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบกับกว้านที่ใช้ในการยกอวน รอกของเรืออวนลากจะติดอยู่กับเสาที่แยกจากเสากระโดงบริเวณหัวเรือ ส่วนรอกของเรืออวนล้อมจะติดอยู่บริเวณด้านบนของเสากระโดงเรือและบริเวณคานที่อยู่หน้าเก๋งเรือ - อันตรายจากเครื่องจักร หมายถึง อันตรายจากระบบการส่งกำลังของเครื่องจักร และระบบที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรทั้งหมด หรืออาจได้รับอันตราย จากการปฏิบัติงานทั้งในภาวะปกติหรือในขณะแก้ไขจุดบกพร่องของเครื่องจักรที่กำลังทำงาน - อันตรายจากไฟฟ้า หมายถึง เครื่องกำเนิดไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าบนเรือ อาจก่อให้เกิดอันตรายกับ ลูกจ้างจากกระแสไฟฟ้ารั่ว ในส่วนของอุปกรณ์ที่แผงเมนสวิทซ์ แผงสวิทช์ จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายจากกระแสไฟฟ้าดูดสูง |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
- N/A |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
- N/A |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
- สอบสัมภาษณ์ |