หน่วยสมรรถนะ
ประเมินโครงสร้างและการทรงตัวของเรือได้
สาขาวิชาชีพการเดินเรือ
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | MRT-LOPO-047A |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | ประเมินโครงสร้างและการทรงตัวของเรือได้ |
3. ทบทวนครั้งที่ | N/A / N/A |
4. สร้างใหม่ |
![]() |
ปรับปรุง |
![]() |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
ต้นกลเรือ |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ จะสามารถระบุความสำคัญของโครงสร้างเรือประมงต่างๆ ได้ จำแนกประเภทของเรือประมงประเภทต่างๆ ได้ สามารถวิเคราะห์คุณลักษณะการทรงตัวของเรือ และมีทักษะในการรักษาการทรงตัวของเรือ |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
อุตสาหกรรมการเดินเรือประมงพาณิชย์ |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
- รหัส ISCO 3151 ช่างเทคนิคหรือช่างเครื่องประจำเรือ |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
N/A |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) | รหัส PC (ตามเล่มมาตรฐาน) |
รหัส PC (จากระบบ) |
---|---|---|---|
ME40101 ระบุความสำคัญของโครงสร้างเรือประมงต่างๆ | 1.1 จำแนกประเภทของเรือประมงต่างๆ | ME40101.01 | 62094 |
ME40101 ระบุความสำคัญของโครงสร้างเรือประมงต่างๆ | 1.2 บอกระวางบรรทุกของเรือ | ME40101.02 | 62095 |
ME40101 ระบุความสำคัญของโครงสร้างเรือประมงต่างๆ | 1.3 บอกความสำคัญของโครงสร้างเรือแต่ละส่วน | ME40101.03 | 62096 |
ME40102 รักษาการทรงตัวของเรือ | 2.1 คำนวณกำลังลอยและการทรงตัวของเรือ | ME40102.01 | 62097 |
ME40102 รักษาการทรงตัวของเรือ | 2.2 คำนวณการทรงตัวอย่างปลอดภัยของเรือ | ME40102.02 | 62098 |
ME40102 รักษาการทรงตัวของเรือ | 2.3 วิเคราะห์คุณลักษณะการทรงตัวของเรือ | ME40102.03 | 62099 |
ME40102 รักษาการทรงตัวของเรือ | 2.4 ควบคุมการทรงตัวของเรือจากน้ำหนักที่บรรทุกหรือเคลื่อนย้ายน้ำหนักบนเรือ | ME40102.04 | 62100 |
ME40102 รักษาการทรงตัวของเรือ | 2.5 ปรับแก้แก้อัตราการกินน้ำลึกหัวเรือและท้ายเรือ | ME40102.05 | 62101 |
ME40102 รักษาการทรงตัวของเรือ | 2.6 ย้ายน้ำหนักน้ำอับเฉาและน้ำมันเชื้อเพลิงในการแก้การเอียงของเรือ | ME40102.06 | 62102 |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
N/A |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ - ทักษะพื้นฐานการย้ายน้ำหนักบรรทุกบนเรือ - ทักษะการจัดเก็บสัตว์ที่จับมาได้ (ข) ความต้องการด้านความรู้ - ประเภทและชนิดของเรือประมง - โครงสร้างของเรือ และหลักการทรงตัวของเรือเบื้องต้น เช่น การทรงตัวของเรือทางขวาง การทรงตัวของเรือทางตามยาว การควบคุมน้ำทะลุเข้าเรือ รวมทั้งการแบ่งระวางภายในเรือ - ความรู้เกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของเรือ |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) - หนังสือคนประจำเรือ (SEAMAN Book) - หนังสือคนประจำเรือ (SEA Book) สำหรับแรงงานต่างด้าว - แบบบันทึกรายการผลจากการสังเกต (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) - ประกาศนียบัตรแสดงความรู้ความสามารถของผู้ทําการในเรือ ฝ่ายเดินเรือ จากกรมเจ้าท่า - เอกสารรับรองผลการเรียนหรือผลการอบรมที่เกี่ยวข้อง (ค) คำแนะนำในการประเมิน - ผู้ประเมินตรวจประเมิน โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้ (ง) วิธีการประเมิน - สอบสัมภาษณ์ |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
การรักษาการทรงตัวของเรือ เป็นสถานะการทรงตัวสถิตย์ของเรือในน้ำนิ่งอย่างปลอดภัย โดยตัวแปรสําคัญในการพิจารณาคือ “โมเมนต์ตั้งตรง” (Righting Moment) ซึ่งก็คือแรงลอยตัวกับน้ำหนักเรือ และ “แขนของโมเมนต์ตั้งตรง” (Righting Moment Arm) หรือระยะระหว่างแรงลอยตัวกับแรงเนื่องจากน้ำหนัก (ก) คำแนะนำ - ศึกษาจากคู่มือควบคุมการทรงตัวของเรือนั้นๆ (Stability booklet) - ทำความเข้าใจแบบแปลนและโครงสร้างเรือ - ใช้ทักษะและความรู้ตามข้อ 13 (ก) และ (ข) (ข) คำอธิบายรายละเอียด - หลักการทรงตัวของเรือเป็นศาสตร์ที่ผู้ทำงานบนเรือต้องเข้าใจ ซึ่งพิจารณาได้จากขนาดโมเมนต์แรงคู่ควบระหว่างแรงลอยตัว (ทิศทางขึ้นข้างบน) กับน้ำหนักเรือ (ทิศทางกระทําลงล่าง) หรือที่เรียกว่าเป็น “โมเมนต์ตั้งตรง” (Righting Moment) ระยะระหว่างแรงลอยตัวกับแรงเนื่องจากน้ำหนักคือ แขนของโมเมนต์ตั้งตรง (Righting Moment Arm) ซึ่งโมเมนต์ตั้งตรงและแขนของโมเมนต์ตั้งตรงจะเป็นตัวแปรสําคัญในการพิจารณาการทรงตัวของเรือ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตําแหน่งการกระทําของแรงลอยตัวและแรงเนื่องจากน้ำหนักเรือ ตราบใดที่ตําแหน่งทั้งสองก่อให้เกิดโมเมนต์ช่วยพยุงเรือกลับตั้งตรง เรือจะยังคงสามารถทรงตัวได้อย่างปลอดภัย - คู่มือควบคุมการทรงตัวของเรือ (Stability booklet) เป็นหนังสือแสดงความทรงตัวของเรือในภาวะปกติ (Intact stability booklet) ต้องระบุรายละเอียดถังสินค้าหรือห้องโดยสาร ถังน้ำมันเชื้อเพลิง ถังอับเฉา และถังน้ำจืด โดยมีการกําหนดความหนาแน่นของสินค้าหรือจํานวนคนโดยสารในสภาพการบรรทุกต่างๆ และต้องเปรียบเทียบค่าความทรงตัวที่คํานวณได้กับหลักเกณฑ์ความทรงตัวมาตรฐาน |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
- สอบสัมภาษณ์ |