หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

กำหนดแผนและบริหารจัดการความเสี่ยงของโครงการ

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ICT-JKZV-229B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ กำหนดแผนและบริหารจัดการความเสี่ยงของโครงการ

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
    มีความสามารถในการพิเคราะห์ปัจจัยสภาพแวดล้อมขององค์กร (Consider Enterprise Environmental Factors) จัดทำแผนบริหารความเสี่ยง (Create Risk Management Plan) บูรณาการแผนบริหารความเสี่ยง (Integrate Risk Management Plan) ประเมินการวิเคราะห์ความเสี่ยงเชิงคุณภาพและปริมาณ (Assess Qualitative and Quantitative Risk Analysis)

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบวิชาชีพด้านอุตสาหกรรมดิจิทัล

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
1120 กรรมการผู้จัดการและผู้บริหารระดับสูง1211 ผู้จัดการด้านการเงิน

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่มี

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
60304.01 พิเคราะห์และทบทวนข้อมูลที่มีการรวบรวมจากการดำเนินโครงการที่ผ่านมา (Consider and Review Organizational Process Assets) 1.1 รวบรวมข้อมูลที่มีการรวบรวมจากการดำเนินโครงการที่ผ่านมา 60304.01.01 119691
60304.01 พิเคราะห์และทบทวนข้อมูลที่มีการรวบรวมจากการดำเนินโครงการที่ผ่านมา (Consider and Review Organizational Process Assets) 1.2 พิเคราะห์และทบทวนข้อมูลที่มีการรวบรวมจากการดำเนินโครงการที่ผ่านมา 60304.01.02 119692
60304.02 จัดทำแผนบริหารความเสี่ยง (Create Risk Management Plan) 2.1 ออกแบบแผนบริหารความเสี่ยง 60304.02.01 119693
60304.02 จัดทำแผนบริหารความเสี่ยง (Create Risk Management Plan) 2.2 จัดทำแผนบริหารความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นภายในโครงการ 60304.02.02 119694
60304.03 การบูรณาการแผนบริหารความเสี่ยง (Integrate Risk Management Plan) 3.1 หาสาเหตุ ผลกระทบ การควบคุมในปัจจุบัน ประสิทธิผลของการควบคุมในปัจจุบันของความเสี่ยง 60304.03.01 119695
60304.03 การบูรณาการแผนบริหารความเสี่ยง (Integrate Risk Management Plan) 3.2 บูรณาการแผนบริหารความเสี่ยงจากโครงการในอดีต 60304.03.02 119696
60304.04 วิเคราะห์ความเสี่ยงที่กำหนดไว้ 4.1 รวบรวมปัจจัยความเสี่ยง 60304.04.01 119697
60304.04 วิเคราะห์ความเสี่ยงที่กำหนดไว้ 4.2 วิเคราะห์ความเสี่ยงเชิงคุณภาพ 60304.04.02 119698

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่มี


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ความสามารถในการรวบรวมข้อมูลปัจจัยสภาพแวดล้อมขององค์กร

2. ความสามารถในการทำแผนบริหารความเสี่ยง

3. ความสามารถในการทำตารางเปรียบเทียบรายละเอียดของแผนบริหารความเสี่ยงที่ได้กับโครงร่างแผนบริหารความเสี่ยงตามมาตรฐานสากล

4. ความสามารถในการบูรณาการแผนบริหารความเสี่ยง

5. ความสามารถในการรวบรวมข้อมูลความเสี่ยงที่กำหนดไว้

6. ความสามารถในการจัดทำเอกสารแสดงข้อมูลความเสี่ยงเบื้องต้น

7. ความสามารถในการทำแผนที่ความเสี่ยง (Risk map) ที่แสดงความเสี่ยงซึ่งวิกฤติ

8. ความสามารถในการทำรายการความเสี่ยงที่จะนำไปจัดทำแผนบริหารความเสี่ยง


(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับการรวบรวมข้อมูลปัจจัยสภาพแวดล้อมขององค์กร

2. ความรู้เกี่ยวกับแผนการบริหารความเสี่ยงตามมาตรฐานสากล

3. ความรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบการบริหารความเสี่ยง

4. ความรู้เกี่ยวกับมาตรการรับมือกับภัย 5 มาตรการ – 5R

5. ความรู้เกี่ยวกับบูรณาการแผนบริหารความเสี่ยง

6. ความรู้เกี่ยวกับรวบรวมข้อมูลความเสี่ยงที่กำหนดไว้

7. ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินการประเมินความเสี่ยง

8. ความรู้เกี่ยวกับแผนที่ความเสี่ยง (Risk map)



14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

     1. เอกสารหลักฐานที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

     1. ผลจากทดสอบข้อเขียน

     2. ผลการสัมภาษณ์

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

     ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมิน ที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะประเมินย่อย ขอบเขต ความรู้และทักษะที่กำหนด ในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์ที่กำหนด  ผู้ประเมินจะต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะที่ ไม่ผ่าน และให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง

(ง) วิธีการประเมิน

     1. ผู้ประเมินทำการประเมินการปฏิบัติงานที่ต้องการของผู้เข้าทดสอบโดยใช้ เอกสารหลักฐานที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน แฟ้มสะสมงาน ได้แก่ใบผ่านงาน ประกาศนียบัตร ใบวุฒิบัตร

     2. ผู้ประเมินทำการประเมินความรู้ผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบแบบสัมภาษณ์



15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ 

     ไม่มี

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

     1. ระบุกิจกรรมต่าง ๆ ที่ต้องมีในแผนการบริหารความเสี่ยง อันได้แก่ ความเตรียมพร้อม, การตอบสนองอย่างฉับไว, การช่วยเหลือกู้ภัย, การกลับเข้าไปทำงาน และ การกลับคืนสู่สภาวะปกติ

     2. แผนต้องสอดคล้องกับมาตรฐานสากล เช่น The Committee of Sponsoring Organization (COSO)

     3. ดำเนินการประเมินความเสี่ยงโดยวิเคราะห์ทั้งผลกระทบและโอกาสที่ความเสี่ยงจะเกิด

     4. จัดลำดับความเสี่ยงโดยผลการประเมินความเสี่ยงมาวิเคราะห์ร่วมกับความสามารถ/โอกาสในการปรับปรุงความเสี่ยงและกรอบเวลาดำเนินการ



16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

วิธีการประเมินสามารถจำแนกได้ตามสมรรถนะย่อย ดังนี้

     1. สมรรถนะย่อย 60304.01 พิเคราะห์และทบทวนข้อมูลที่มีการรวบรวมจากการดำเนินโครงการที่ผ่านมา ทดสอบโดยใช้ข้อสอบข้อเขียน ทดสอบโดยใช้แบบสัมภาษณ์

     2. สมรรถนะย่อย 60304.02 จัดทำแผนบริหารความเสี่ยง ทดสอบโดยใช้ข้อสอบข้อเขียน ทดสอบโดยใช้แบบสัมภาษณ์

     3. สมรรถนะย่อย 60304.03 การบูรณาการแผนบริหารความเสี่ยง ทดสอบโดยใช้ข้อสอบข้อเขียน ทดสอบโดยใช้แบบสัมภาษณ์

     4. สมรรถนะย่อย 60304.04 วิเคราะห์ความเสี่ยงที่กำหนดไว้ ทดสอบโดยใช้ข้อสอบข้อเขียน ทดสอบโดยใช้แบบสัมภาษณ์




ยินดีต้อนรับ