หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ใช้งานเครื่องมือประมงประเภทอวนล้อมจับ(Surrounding Nets)

สาขาวิชาชีพการเดินเรือ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MRT-QJFI-089A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ใช้งานเครื่องมือประมงประเภทอวนล้อมจับ(Surrounding Nets)

3. ทบทวนครั้งที่ N/A / N/A

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

นักประมงอวนล้อมจับ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะเข้าใจหลักการการทำงานของอวนล้อมจับ สามารถระบุส่วนประกอบต่างๆ ของอวนล้อมจับได้ มีทักษะในการทำประมงโดยใช้อวนล้อมจับ และสามารถกำหนดแหล่งสัตว์น้ำเพื่อทำประมงอวนล้อมจับได้ พร้อมทั้งปฏิบัติงานการทำประมงอวนล้อมจับด้วยความปลอดภัย

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ปฏิบัติงานบนเรือประมง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
    - ISCO; 6222 ผู้ปฏิบัติงานด้านการประมงน้ำจืด และประมงชายฝั่งทะเล    - ISCO; 6223 ผู้ปฏิบัติงานด้านการประมงน้ำลึก    - ISCO; 8350 ลูกเรือและผู้ปฏิบัติงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
    - แนวปฏิบัติด้านความปลอดภัยในการทำงาน ภาคประมงทะเล สำนักความปลอดภัยแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานพ.ศ. 2556

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
FG10501 เข้าใจหลักการการทำงานของอวนล้อมจับ 1.1 ระบุความเป็นมาและจุดเด่นของอวนล้อมจับแต่ละชนิด FG10501.01 62516
FG10501 เข้าใจหลักการการทำงานของอวนล้อมจับ 1.2 บอกชนิดของสัตว์น้ำเป้าหมายจากการทำประมงอวนล้อมจับ FG10501.02 62517
FG10501 เข้าใจหลักการการทำงานของอวนล้อมจับ 1.3 ระบุขั้นตอนการทำประมงอวนล้อมจับ FG10501.03 62518
FG10502 ระบุส่วนประกอบต่างๆ ของอวนล้อมจับ 2.1 บอกลักษณะเรืออวนล้อมจับ FG10502.01 62519
FG10502 ระบุส่วนประกอบต่างๆ ของอวนล้อมจับ 2.2 อ่านแบบแปลนเครื่องมืออวนล้อมจับเข้าใจ FG10502.02 62520
FG10502 ระบุส่วนประกอบต่างๆ ของอวนล้อมจับ 2.3 ระบุส่วนประกอบสำคัญของอวนล้อมจับ FG10502.03 62521
FG10503 ทำการประมงอวนล้อมจับ 3.1 เตรียมอวนล้อมจับให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้ FG10503.01 62522
FG10503 ทำการประมงอวนล้อมจับ 3.2 ปล่อยอวนล้อมจับ FG10503.02 62523
FG10503 ทำการประมงอวนล้อมจับ 3.3 เก็บกู้อวนล้อมจับ FG10503.03 62524
FG10503 ทำการประมงอวนล้อมจับ 3.4 ใช้สวิงตักปลา FG10503.04 62525
FG10503 ทำการประมงอวนล้อมจับ 3.5 จัดเก็บอวนล้อมจับให้พร้อมใช้ในครั้งต่อไป FG10503.05 62526
FG10504 กำหนดแหล่งสัตว์น้ำเพื่อทำประมงอวนล้อมจับ 4.1 บอกพฤติกรรมของสัตว์น้ำเป้าหมาย FG10504.01 62527
FG10504 กำหนดแหล่งสัตว์น้ำเพื่อทำประมงอวนล้อมจับ 4.2 บอกกระแสน้ำ กระแสลม ฤดูกาลในแหล่งทำการประมง FG10504.02 62528
FG10504 กำหนดแหล่งสัตว์น้ำเพื่อทำประมงอวนล้อมจับ 4.3 บอกภูมิประเทศในแหล่งทำการประมง FG10504.03 62529
FG10504 กำหนดแหล่งสัตว์น้ำเพื่อทำประมงอวนล้อมจับ 4.4 ใช้เครื่องหาฝูงปลา (SONAR) FG10504.04 62530
FG10504 กำหนดแหล่งสัตว์น้ำเพื่อทำประมงอวนล้อมจับ 4.5 ใช้เครื่องหยั่งความลึกน้ำ (EchoSounder) FG10504.05 62531
FG10504 กำหนดแหล่งสัตว์น้ำเพื่อทำประมงอวนล้อมจับ 4.6 ล่อฝูงสัตว์น้ำโดยใช้แสงไฟ FG10504.06 62532
FG10504 กำหนดแหล่งสัตว์น้ำเพื่อทำประมงอวนล้อมจับ 4.7 รู้หลักการของซั๊ง (Payaw) และสร้างซั๊งเพื่อล่อฝูงปลา FG10504.07 62533
FG10504 กำหนดแหล่งสัตว์น้ำเพื่อทำประมงอวนล้อมจับ 4.8 สังเกตหาฝูงสัตว์น้ำเป้าหมายจากสิ่งแวดล้อมรอบข้าง FG10504.08 62534
FG10505 ปฏิบัติงานการทำประมงอวนล้อมจับด้วยความปลอดภัย 5.1 ใช้อุปกรณ์ป้องกันในการปฏิบัติงานประมงอวนล้อมจับ FG10505.01 62535
FG10505 ปฏิบัติงานการทำประมงอวนล้อมจับด้วยความปลอดภัย 5.2 ตรวจสอบเครื่องมืออวนล้อมจับก่อนการใช้งาน FG10505.02 62536
FG10505 ปฏิบัติงานการทำประมงอวนล้อมจับด้วยความปลอดภัย 5.3 กำหนดจุดปลอดภัยในการปฏิบัติงาน FG10505.03 62537
FG10505 ปฏิบัติงานการทำประมงอวนล้อมจับด้วยความปลอดภัย 5.4 จดบันทึกรายงานการทำประมง (FishingLogbook) FG10505.04 62538
FG10505 ปฏิบัติงานการทำประมงอวนล้อมจับด้วยความปลอดภัย 5.5 ปฏิบัติตามมาตรฐานขั้นตอนการปฏิบัติงานการทำประมงอวนล้อมจับ FG10505.05 62539

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

    - N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

    - มีทักษะการปล่อยอวนและกู้อวน

    - การใช้เครื่องมือในกว้าน เช่น กว้านเชือก

    - การจัดเก็บอวนให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานทุกๆ สภาวะแวดล้อม

    - ทักษะการแปลความหมายจากอุปกรณ์ช่วยหาปลา เช่น Echo sounder และ Sonar

(ข) ความต้องการด้านความรู้

    - พื้นฐานการทำประมงด้วยเครื่องมือประมงอวนล้อมจับของไทย

    - องค์ประกอบของเรือประมงอวนล้อมจับ

    - คุณสมบัติของเชือกไนล่อน

    - ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมของสัตว์น้ำที่เกี่ยวข้องกับการทำประมง


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

    - หนังสือคนประจำเรือ (SEAMAN Book)

    - หนังสือคนประจำเรือ (SEA Book) สำหรับแรงงานต่างด้าว

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    - เอกสารรับรองผลการเรียนหรือผลการอบรมที่เกี่ยวข้อง

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

    - ผู้ประเมินตรวจประเมิน โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

    - การสัมภาษณ์

    - การสาธิตการปฏิบัติงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

เครื่องมือประมงประเภทอวนล้อมจับภายใต้หน่วยสมรรถนะนี้ ครอบคลุมอวนล้อมจับ 2 ประเภทคือ อวนล้อมจับแบบไม่มีสายมาน (Lampara Net) และอวนล้อมจับแบบมีสายมาน (Purse seine)

(ก) คำแนะนำ  

    - ผู้ปฏิบัติงานควรคำนึงถึงตำแหน่งที่ปลอดภัยบนเรือ รู้หน้าที่ของตนเอง และสวมอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลขณะทำการประมง

    - ศึกษาและปฏิบัติตามคู่มือเพื่อรองรับกฎระเบียบของสหภาพยุโรปว่าด้วยการป้องกันยับยั้งและขจัดการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและไร้การควบคุม (การประมงไอยูยู) สำหรับเรือประมงไทย โดยกรมประมง ปี พ.ศ. 2552

    - ศึกษาและทำความเข้าใจจากคู่มือการใช้เครื่องหยั่งความลึกของน้ำที่ใช้บนเรือประมงนั้นๆ

    - ใช้ทักษะและความรู้ตามข้อ 13 (ก) และ (ข)

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

    - เครื่องมือประมงประเภทอวนล้อมจับ เป็นเครื่องมือประมงที่มีลักษณะอวนคล้ายรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า จับสัตว์น้ำ โดยการปล่อยผืนอวนล้อมรอบแล้วปิดหัวท้ายอวนเพื่อป้องกันสัตวน้ำหลุดออกไป ขนาดของอ้วนล้อมจับขึ้นอยู่กับชนิดของสัตว์น้ำเป้าหมายที่จะจับ โดยทั่วไปอวนล้อมจับมี 2 ประเภทคือ  อวนล้อมจับแบบไม่มีสายมาน (Lampara Net) และอวนล้อมจับแบบมีสายมาน (Purse seine)

    - เอคโคซาวเดอร์ (Echo Sounder)  มีอธิบายในหน่วยสมรรถนะ FG101 

    - โซนาร์ (Sonar) การทำงานของโซนาร์นั้นคล้าย ๆ กับการทำงานของเอคโคซาวเดอร์ แต่ลักษณะการค้นหาฝูงปลาจะสามารถทำได้ในแนวระนาบและแนวเอียง หลักการเบื้องต้นในการทำงานและการใช้งานโซนาร์ เช่น มุมเอียงของ Transducer ในขณะที่ค้นหาฝูงปลาหรือเป้าในระยะไกล, การปรับ AGC (Automatic Gain Control) ให้เหมาะสมกับการหาฝูงปลา หน้าดิน,การแยกภาพหน้าดินปกติและหน้าดินที่มีกองหินและหินโสโครก,การรบกวนจากEcho sounder หรือ Sonarตัวอื่น,การสังเกตหาฝูงปลาทางจอภาพ



16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
    - N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
    - N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

    - การสัมภาษณ์

    - การสาธิตการปฏิบัติงาน



ยินดีต้อนรับ