หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ขนย้ายสัตว์น้ำ

สาขาวิชาชีพการเดินเรือ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MRT-RYIY-103A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ขนย้ายสัตว์น้ำ

3. ทบทวนครั้งที่ N/A / N/A

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

นักประมงอวนลาก, นักประมงอวนล้อมจับ, นักประมงอวนครอบ, นักประมงอวนลอย



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะมีทักษะในการขนย้ายสัตว์น้ำ ทั้งการขนย้ายภายในเรือ และการขนย้ายออกจากเรือ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ปฏิบัติงานบนเรือประมง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
    - ISCO; 6222 ผู้ปฏิบัติงานด้านการประมงน้ำจืด และประมงชายฝั่งทะเล    - ISCO; 6223 ผู้ปฏิบัติงานด้านการประมงน้ำลึก    - ISCO; 8350 ลูกเรือและผู้ปฏิบัติงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
    - มาตรฐานอาหารแช่แข็ง (มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ มกอช. 7014-2548)    - พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 กระทรวงสาธารณสุข

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
FG20301 ขนย้ายสัตว์น้ำภายในเรือ 1.1 บอกขั้นตอนการขนย้ายสัตว์น้ำภายในเรือ FG20301.01 62698
FG20301 ขนย้ายสัตว์น้ำภายในเรือ 1.2 ตรวจสอบสภาพสัตว์น้ำก่อนและหลังการขนย้ายภายในเรือ FG20301.02 62699
FG20301 ขนย้ายสัตว์น้ำภายในเรือ 1.3 วางแผนขนย้ายสัตว์น้ำภายในเรือ FG20301.03 62700
FG20301 ขนย้ายสัตว์น้ำภายในเรือ 1.4 จัดวางตำแหน่งเจ้าหน้าที่ในการขนย้ายสัตว์น้ำภายในเรือ FG20301.04 62701
FG20301 ขนย้ายสัตว์น้ำภายในเรือ 1.5 ใช้กว้านหรืออุปกรณ์ช่วยขนย้ายสัตว์น้ำภายในเรือ FG20301.05 62702
FG20302 ขนย้ายสัตว์น้ำออกจากเรือ 2.1 ระบุการขนส่งสัตว์น้ำที่มีมาตรฐาน FG20302.01 62703
FG20302 ขนย้ายสัตว์น้ำออกจากเรือ 2.2 ระบุขั้นตอนการขนย้ายสัตว์น้ำออกจากเรือ FG20302.02 62704
FG20302 ขนย้ายสัตว์น้ำออกจากเรือ 2.3 ตรวจสอบสภาพสัตว์น้ำก่อนและหลังการขนย้ายออกจากเรือ FG20302.03 62705
FG20302 ขนย้ายสัตว์น้ำออกจากเรือ 2.4 วางแผนขนย้ายสัตว์น้ำออกจากเรือ FG20302.04 62706
FG20302 ขนย้ายสัตว์น้ำออกจากเรือ 2.5 จัดวางตำแหน่งเจ้าหน้าที่ในการขนย้ายสัตว์น้ำออกจากเรือ FG20302.05 62707
FG20302 ขนย้ายสัตว์น้ำออกจากเรือ 2.6 ใช้กว้านหรืออุปกรณ์ช่วยขนย้ายสัตว์น้ำออกจากเรือ FG20302.06 62708
FG20302 ขนย้ายสัตว์น้ำออกจากเรือ 2.7 ใช้กว้านหรืออุปกรณ์ช่วยขนย้ายสัตว์น้ำขณะอยู่บนท่าเรือ FG20302.07 62709

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

– N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

    - ทักษะการใช้กว้าน และรอก

    - ทักษะในการใช้เครื่องมือยกกว้าน 

    - ทักษะการคัดแยกสัตว์น้ำ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

    - ความรู้เกี่ยวกับน้ำหนักบรรทุก ระวางขับน้ำ และแนวน้ำบรรทุกของเรือประมง

    - ความรู้เกี่ยวกับการทรงตัวของเรือประมง 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

    - หนังสือคนประจำเรือ (SEAMAN Book)

    - หนังสือคนประจำเรือ (SEA Book) สำหรับแรงงานต่างด้าว

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    - เอกสารรับรองผลการเรียนหรือผลการอบรมที่เกี่ยวข้อง

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

    - ผู้ประเมินตรวจประเมิน โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

    - การสัมภาษณ์

    - การสาธิตการปฏิบัติงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

การขนย้ายสัตว์น้ำภายใต้หน่วยสมรรถนะนี้ มีขอบเขตครอบคลุมตั้งแต่การจับสัตว์น้ำ การขนย้ายสัตว์น้ำที่จับมาได้ขึ้นบนเรือ การขนย้ายสัตว์น้ำระหว่างอยู่บนเรือ การขนย้ายสัตว์น้ำออกจากเรือเพื่อขึ้นท่าเรือ รวมไปจนถึงการใช้แรงงาน/ ลูกเรือประมง และการใช้เครื่องมือ/เครื่องจักรอุปกรณ์ในการขนย้าย/บรรทุกที่จำเป็น

(ก) คำแนะนำ 

    - การจัดการการขนย้ายสัตว์น้ำควรคำนึงถึงน้ำหนักสัตว์น้ำที่จับมาได้และการทรงตัวของเรือ 

    - ใช้ทักษะและความรู้ตามข้อ 13 (ก) และ (ข)

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

    - N/A


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
    - N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
    - N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

    - การสัมภาษณ์

    - การสาธิตการทำงาน



ยินดีต้อนรับ