หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ซ่อมแซมเครื่องเครื่องมือประมงประเภทอวนลาก (Trawl)

สาขาวิชาชีพการเดินเรือ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MRT-LDTT-086A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ซ่อมแซมเครื่องเครื่องมือประมงประเภทอวนลาก (Trawl)

3. ทบทวนครั้งที่ N/A / N/A

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

นักประมงอวนลาก



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ที่เหมาะสมในการซ่อมแซมอวนลากได้อย่างเหมาะสม สามารถผูกเงื่อน ต่อเชือก และสลิงได้และมีทักษะในการซ่อมแซมอวนลากได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ปฏิบัติงานบนเรือประมง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
    - ISCO; 6222 ผู้ปฏิบัติงานด้านการประมงน้ำจืด และประมงชายฝั่งทะเล    - ISCO; 6223 ผู้ปฏิบัติงานด้านการประมงน้ำลึก    - ISCO; 8350 ลูกเรือและผู้ปฏิบัติงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
    - N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
FG10201 ใช้วัสดุอุปกรณ์ที่เหมาะสมในการซ่อมแซมอวนลาก 1.1 ระบุอุปกรณ์ช่วยซ่อมแซมอวนลาก FG10201.01 62478
FG10201 ใช้วัสดุอุปกรณ์ที่เหมาะสมในการซ่อมแซมอวนลาก 1.2 ระบุชนิด, ขนาดของเนื้ออวนที่ใช้ในอวนลาก FG10201.02 62479
FG10201 ใช้วัสดุอุปกรณ์ที่เหมาะสมในการซ่อมแซมอวนลาก 1.3 ระบุชนิด, ขนาดของด้ายและเชือกที่ใช้ในอวนลาก FG10201.03 62480
FG10201 ใช้วัสดุอุปกรณ์ที่เหมาะสมในการซ่อมแซมอวนลาก 1.4 ระบุชนิด, ขนาดของทุ่นลอยและตะกั่วถ่วงที่ใช้ในอวนลาก FG10201.04 62481
FG10201 ใช้วัสดุอุปกรณ์ที่เหมาะสมในการซ่อมแซมอวนลาก 1.5 ระบุชนิด, ขนาดของโซ่และสลิงที่ใช้ในอวนลาก FG10201.05 62482
FG10201 ใช้วัสดุอุปกรณ์ที่เหมาะสมในการซ่อมแซมอวนลาก 1.6 จัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับใช้ซ่อมแซมเครื่องมือประมงอวนลาก ขณะปฏิบัติงานในทะเล FG10201.06 62483
FG10202 ผูกเงื่อน ต่อเชือก และสลิง 2.1 ใช้เงื่อนที่สำคัญในการทำประมง FG10202.01 62484
FG10202 ผูกเงื่อน ต่อเชือก และสลิง 2.2 ต่อเชือกด้วยวิธีการแทงเชือก FG10202.02 62485
FG10202 ผูกเงื่อน ต่อเชือก และสลิง 2.3 ทำหัวเชือก FG10202.03 62486
FG10202 ผูกเงื่อน ต่อเชือก และสลิง 2.4 แทงบ่วงเชือก FG10202.04 62487
FG10202 ผูกเงื่อน ต่อเชือก และสลิง 2.5 ตัดสลิงโดยใช้ตัวตัด FG10202.05 62488
FG10202 ผูกเงื่อน ต่อเชือก และสลิง 2.6 ต่อสลิง FG10202.06 62489
FG10202 ผูกเงื่อน ต่อเชือก และสลิง 2.7 แทงบ่วงสลิง FG10202.07 62490
FG10202 ผูกเงื่อน ต่อเชือก และสลิง 2.8 ใช้เครื่องช่วยแทงสลิง FG10202.08 62491
FG10203 ซ่อมแซมอวนลาก 3.1 เลือกใช้อุปกรณ์เย็บอวน FG10203.01 62492
FG10203 ซ่อมแซมอวนลาก 3.2 ตัดอวน FG10203.02 62493
FG10203 ซ่อมแซมอวนลาก 3.3 เย็บอวน FG10203.03 62494
FG10203 ซ่อมแซมอวนลาก 3.4 ต่อตาอวน FG10203.04 62495

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

    - N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

    - ทักษะการเย็บอวน

    - ทักษะการต่อเชือก

    - ทักษะการผูกเงื่อน

    - ทักษะการแทงสลิง

    - ทักษะการแทงบ่วงเชือก

    - ทักษะการทำหัวเชือก

    - ทักษะการใช้เครื่องมือช่าง

(ข) ความต้องการด้านความรู้

    - พื้นฐานการทำประมงด้วยเครื่องมือประมงอวนลากของไทย

    - องค์ประกอบของเรือประมงอวนลาก

    - พื้นฐานการซ่อมบำรุง

    - คุณสมบัติของเชือกไนล่อน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

    - หนังสือคนประจำเรือ (SEAMAN Book)

    - หนังสือคนประจำเรือ (SEA Book) สำหรับแรงงานต่างด้าว

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    - เอกสารรับรองผลการเรียนหรือผลการอบรมที่เกี่ยวข้อง

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

    - ผู้ประเมินตรวจประเมิน โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

    - การสัมภาษณ์

    - การสาธิตการปฏิบัติงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

การซ่อมแซมเครื่องมือประมงประเภทอวนลากภายใต้หน่วยสมรรถนะนี้ มีขอบเขตเริ่มตั้งแต่การจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็นต่อการซ่อมแซม  การเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ที่เหมาะสม การลงมือซ่อมแซมที่ถูกต้องตามหลักการ ทั้งในเรื่องของการเย็บตาอวน การต่อตาอวน การตัดผืนอวน การใช้เงื่อนที่จำเป็น/ถูกต้อง การต่อเชือก การแทงเชือก และการแทงสลิง 

(ก) คำแนะนำ 

    - ในขั้นตอนการต่อเชือกขนาดเล็กหรือด้ายนั้น ผู้ปฏิบัติงานควรคำนึงถึงชนิดของการต่อเชือก สำหรับเชือกขนาดเล็กหรือด้ายจะพบมาก สำหรับการเย็บอวน ซ่อมอวน หรือแม้แต่การต่อใช้ในกรณีต่าง ๆ เงื่อนที่ใช้กันโดยทั่วไปสำหรับการต่อเชือก สองเส้นที่มีขนาดเท่ากันเข้าด้วยกัน จะมีความเหนียวแน่นของเงื่อนที่ต่อ ผูกง่าย ยิ่งดึงยิ่งแน่น และแก้ออกได้ยาก ได้แก่ เงื่อนประสานแรง เงื่อนพิรอด เงื่อนหัวล้านชนกัน และเงื่อนขัดสมาธิ

    - ใช้ทักษะและความรู้ตามข้อ 13 (ก) และ (ข)

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

    - อุปกรณ์ที่ใช้ในการเย็บอวน ซ่อมอวน ที่สำคัญได้แก่ 1.ด้ายหรือเชือกที่จะใช้เย็บเป็นเนื้ออวน 2. ไม้ขัดตาอวน (Mesh Stick) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้กำหนดขนาดของตาอวน ช่วยให้ตาอวนมีขนาดเท่า ๆ กัน ทั้งชิ้น ขนาดความกว้างของไม้ขัดตาอวนจะเท่ากับความยาวของขาอวน (Bar Length) และ 3. ชุน (Net Needle) เป็นอุปกรณ์ให้ความสะดวกในการเย็บอวน ทำจากไม้หรือ พลาสติกขนาดของชุนที่ใช้ขึ้นอยู่กับขนาดตาอวนและขนาดเชือก เชือกที่ใช้ซึ่งมีความยาวมากจะถูกจัดให้อยู่ ภายในชุน และสะดวกสำหรับการเย็บและซ่อมอวน



16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
    - N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
    - N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

    - การสัมภาษณ์

    - การสาธิตการปฏิบัติงาน



ยินดีต้อนรับ