หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

พัฒนาแผนและติดตามบริหารจัดการผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ICT-QBKX-221B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ พัฒนาแผนและติดตามบริหารจัดการผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
    มีความสามารถในการพิเคราะห์เอกสารและปัจจัย (Consider necessary  documents and factors) จัดทำข้อมูลระบุผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ (Create Stakeholder identification)  พิเคราะห์ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ (Consider Stakeholder Register) จัดทำแผนการบริหารผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ (Create Stakeholder Management Plan) การติดตามเอกสารการดำเนินโครงการ (Track Project Documents) และ ติดตามข้อมูลประสิทธิภาพการทำงาน (Track Work Performance Data)

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบวิชาชีพด้านอุตสาหกรรมดิจิทัล

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
1120 กรรมการผู้จัดการและผู้บริหารระดับสูง1212 ผู้จัดการด้านทรัพยากรบุคคล2421 ผู้ประกอบวิชาชีพด้านนโยบายและการบริหาร

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่มี

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
60103.01 รวบรวมเอกสารและปัจจัย (Collect necessary documents and factors) 1.1 รวบรวมเอกสารและปัจจัยด้านบุคคล ที่จำเป็นต่อโครงการ 60103.01.01 119628
60103.01 รวบรวมเอกสารและปัจจัย (Collect necessary documents and factors) 1.2 รวบรวมเอกสารและปัจจัยด้านรายละเอียดงานที่จำเป็นต่อโครงการ 60103.01.02 119629
60103.02 จัดทำข้อมูลระบุผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ (Create Stakeholder identification) 2.1 กำหนดลักษณะงานตามวัตถุประสงค์ของโครงการ 60103.02.01 119630
60103.02 จัดทำข้อมูลระบุผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ (Create Stakeholder identification) 2.2 กำหนดผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่จำเป็นสำหรับการดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ 60103.02.02 119631
60103.03 วางแผนบริหารผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ 3.1 รวบรวมข้อมูลผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการที่มีการรวบรวมจากการดำเนินโครงการที่ผ่านมา 60103.03.01 119632
60103.03 วางแผนบริหารผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ 3.2 วิเคราะห์ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของโครงการ 60103.03.02 119633
60103.04 จัดทำแผนการบริหาร ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ (Create Stakeholder Management Plan) 4.1 ออกแบบแผนการบริหารผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ 60103.04.01 119634
60103.04 จัดทำแผนการบริหาร ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ (Create Stakeholder Management Plan) 4.2 จัดทำแผนการบริหารผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ 60103.04.02 119635
60103.05 ติดตามเอกสารการดำเนินโครงการ (Track Project Documents) 5.1 วิเคราะห์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ 60103.05.01 119636
60103.05 ติดตามเอกสารการดำเนินโครงการ (Track Project Documents) 5.2 ตรวจสอบและปรับปรุงสถานะการติดต่อประสานงานกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 60103.05.02 119637
60103.06 ติดตามข้อมูลประสิทธิภาพการทำงาน (Track Work Performance Data) 6.1 วิเคราะห์การประสานงานกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ 60103.06.01 119638
60103.06 ติดตามข้อมูลประสิทธิภาพการทำงาน (Track Work Performance Data) 6.2 ตรวจสอบและติดตามประสิทธิภาพ การประสานงานกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ให้เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ 60103.06.02 119639

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่มี


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ความสามารถในการรวบรวมเอกสารและปัจจัยที่จำเป็นต่อโครงการได้

2. ความสามารถในการระบุผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และ/หรือ เอกสารแสดงรายละเอียดของวัตถุประสงค์หรือความจำเป็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

3. ความสามารถในการรวบรวมข้อมูลผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ

4. ความสามารถในการทำเอกสารระบุบทบาทและหน้าที่ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และ/หรือ

5. ความสามารถในการทำเอกสารข้อเสนอแนะที่จำเป็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และ/หรือ

6. ความสามารถในการทำแผนยุทธศาสตร์การบริหารการติดต่อสื่อสารและประสานงานกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

7. ความสามารถในการตรวจสอบ หรือการรายงานสถานการณ์ประสานงานร่วมกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

8. ความสามารถในการหาแนวทางการป้องกันและแก้ไขหากเกิดข้อผิดพลาดในการติดต่อประสานงาน กรณีที่ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ


(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับเอกสารและปัจจัยที่จำเป็นต่อโครงการ

2. ความรู้เกี่ยวกับการกำหนดรายละเอียดข้อมูลการติดต่อประสานงาน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่จำเป็นต่อการดำเนินโครงการ

3. ความรู้ด้านซอฟต์แวร์ Application ความรู้ด้านอุตสาหกรรมทักษะการด้านการสื่อสารระหว่างบุคคล (Inter-personal communication skill), ความรู้ด้านการเข้าใจสภาพแวดล้อมโครงการ

4. ความรู้เกี่ยวกับรวบรวมข้อมูลผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ

5. ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์และกำหนดสิทธิของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องแต่ละส่วนตามลำดับความสำคัญและความจำเป็น

6. ความรู้เกี่ยวกับยุทธ์ศาสตร์เพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสารกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 

7. ความรู้เกี่ยวกับการตรวจสอบและติดตามประสิทธิภาพของการติดต่อประสานงานกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์

8. ความรู้เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาหากเกิดสถานการณ์การประสานงานกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ



14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

    1. เอกสารหลักฐานที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน 

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

     1. ผลจากทดสอบข้อเขียน

     2. ผลการสัมภาษณ์ 

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

     ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมิน ที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะประเมินย่อย ขอบเขต ความรู้และทักษะที่กำหนด ในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์ที่กำหนด  ผู้ประเมินจะต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะที่ ไม่ผ่าน และให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง

(ง) วิธีการประเมิน

     1. ผู้ประเมินทำการประเมินการปฏิบัติงานที่ต้องการของผู้เข้าทดสอบโดยใช้ เอกสารหลักฐานที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน แฟ้มสะสมงาน ได้แก่ใบผ่านงาน ประกาศนียบัตร ใบวุฒิบัตร

     2. ผู้ประเมินทำการประเมินความรู้ผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบแบบสัมภาษณ์ 



15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

    การระบุผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ หมายรวมถึงการเสนอ การให้ความเห็น การพิจารณาการคัดเลือก

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

     1. ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในโครงของ ได้แก่ บุคคล กลุ่มหรือหน่วยงาน ที่มีผลต่อการตัดสินใจ หรือกิจกรรมในการดำเนินงานโครงการ

     2. การกำหนดโครงสร้างสิทธิและความมีส่วนเกี่ยวข้องของผู้เกี่ยวข้องในแต่ละส่วนที่ความสำคัญต่อโครงการ

     3. รูปแบบและกระบวนการในการการติดต่อสื่อสารไปยังผู้มีส่วนเกี่ยวข้องแต่ละระดับ

     4. การตรวจสอบกระบวนการหรือข้อมูลการติดต่อประสานงานกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่ รายงาน บันทึกประชุม หรือข้อเสนอแนะจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

     5. การปรับปรุงสถานะการติดต่อกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้มีความเป็นปัจจุบัน



16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

วิธีการประเมินสามารถจำแนกได้ตามสมรรถนะย่อย ดังนี้

1. สมรรถนะย่อย 60103.01 รวบรวมเอกสารและปัจจัย ทดสอบโดยใช้ข้อสอบข้อเขียน ทดสอบโดยใช้แบบสัมภาษณ์

2. สมรรถนะย่อย 60103.02 จัดทำข้อมูลระบุผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ ทดสอบโดยใช้ข้อสอบข้อเขียน ทดสอบโดยใช้แบบสัมภาษณ์

3. สมรรถนะย่อย 60103.03 วางแผนบริหารผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ ทดสอบโดยใช้ข้อสอบข้อเขียน ทดสอบโดยใช้แบบสัมภาษณ์

4. สมรรถนะย่อย 60103.04 จัดทำแผนการบริหารผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ ทดสอบโดยใช้ข้อสอบข้อเขียน ทดสอบโดยใช้แบบสัมภาษณ์

5. สมรรถนะย่อย 60103.05 ติดตามเอกสารการดำเนินโครงการ ทดสอบโดยใช้ข้อสอบข้อเขียน ทดสอบโดยใช้แบบสัมภาษณ์

6. สมรรถนะย่อย 60103.06 ติดตามข้อมูลประสิทธิภาพการทำงาน ทดสอบโดยใช้ข้อสอบข้อเขียน ทดสอบโดยใช้แบบสัมภาษณ์




ยินดีต้อนรับ