หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ควบคุมและกำกับดูแลการเตรียมวัตถุดิบสัตว์น้ำ และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการผลิตตามมาตรฐานการผลิตอาหารที่เกี่ยวข้อง

สาขาวิชาชีพการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ FPC-RGIL-379A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ควบคุมและกำกับดูแลการเตรียมวัตถุดิบสัตว์น้ำ และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการผลิตตามมาตรฐานการผลิตอาหารที่เกี่ยวข้อง

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

คุณวุฒิวิชาชีพ สาขาอาชีพผู้ปฏิบัติงานผลิต (การผลิตสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำสดแช่เย็น หรือแช่แข็ง) ชั้น 3



         กลุ่มอาชีพการผลิตสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำสดแช่เย็น หรือแช่แข็ง (TSIC : C1021)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
              ผู้มีความรู้ ทักษะทางความคิด ความสามารถระดับฝีมือและเทคนิคเกี่ยวกับการตรวจสอบความพร้อมของสถานที่ อุปกรณ์/เครื่องมือ เครื่องจักร และสิ่งอำนวยความสะดวกก่อนและหลังการปฏิบัติงานสามารถควบคุมและกำกับดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาให้ปฏิบัติตามหลักสุขลักษณะส่วนบุคคล และปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในการตรวจรับวัตถุดิบสัตว์น้ำการเตรียมส่วนผสม  การเตรียมวัตถุดิบสัตว์น้ำ  และการจัดการวัสดุเศษเหลือและ/หรือผลพลอยได้/ของเสียจากการเตรียมวัตถุดิบสัตว์น้ำเพื่อการผลิตสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำสดแช่เย็น หรือแช่แข็งตามมาตรฐานการผลิตอาหารที่เกี่ยวข้อง  ภายใต้การแนะแนวของผู้บังคับบัญชา

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพการผลิตสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำสดแช่เย็น หรือแช่แข็ง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
101031 ตรวจสอบสถานที่ปฏิบัติงาน อุปกรณ์/เครื่องมือ เครื่องจักร และสิ่งอำนวยความสะดวกก่อนและหลังการเตรียมวัตถุดิบสัตว์น้ำ 1010311 สถานที่ปฏิบัติงานตรวจรับวัตถุดิบสัตว์น้ำงานเตรียมส่วนผสมและงานเตรียมวัตถุดิบสัตว์น้ำได้รับการตรวจสอบทั้งก่อนและหลังการปฏิบัติงาน ตาม GMPและหลักอาชีวอนามัยและความปลอดภัย 101031.01 143550
101031 ตรวจสอบสถานที่ปฏิบัติงาน อุปกรณ์/เครื่องมือ เครื่องจักร และสิ่งอำนวยความสะดวกก่อนและหลังการเตรียมวัตถุดิบสัตว์น้ำ 1010312 อุปกรณ์/เครื่องมือมีจำนวนครบถ้วนและเหมาะสมกับการเตรียมวัตถุดิบสัตว์น้ำได้รับการจัดหาให้เพียงพอ และได้รับการตรวจเช็คความสะอาดก่อนและหลังการปฏิบัติงานตามGMP และหลักอาชีวอนามัยและความปลอดภัย 101031.02 143551
101031 ตรวจสอบสถานที่ปฏิบัติงาน อุปกรณ์/เครื่องมือ เครื่องจักร และสิ่งอำนวยความสะดวกก่อนและหลังการเตรียมวัตถุดิบสัตว์น้ำ 1010313 เครื่องจักรเตรียมวัตถุดิบสัตว์น้ำได้รับการตรวจเช็คสภาพความพร้อมใช้งานและความสะอาดก่อนและหลังการปฏิบัติงานตาม GMP และหลักอาชีวอนามัยและความปลอดภัย 101031.03 143552
101031 ตรวจสอบสถานที่ปฏิบัติงาน อุปกรณ์/เครื่องมือ เครื่องจักร และสิ่งอำนวยความสะดวกก่อนและหลังการเตรียมวัตถุดิบสัตว์น้ำ 1010314 สิ่งอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับน้ำใช้ได้รับการตรวจสอบวาล์วและท่อนำจ่ายน้ำตามคู่มืออย่างถูกต้องให้สามารถใช้งานได้ตามปกติ ไม่เกิดความสูญเสียจากท่อและเพียงพอตลอดการปฏิบัติงานเตรียมวัตถุดิบสัตว์น้ำรวมถึงอุปกรณ์และสารทำความสะอาดที่ใช้ทำความสะอาดสถานที่ อุปกรณ์/เครื่องมือและเครื่องจักรได้รับการตรวจเช็คจำนวนและสภาพการใช้งานอย่างถูกต้องตามคู่มือและสารทำความสะอาดได้รับการคำนวณความเข้มข้นในหน่วยร้อยละ หรือ ppm. อย่างถูกต้อง 101031.04 143553
101032 ควบคุมและกำกับดูแลการตรวจรับวัตถุดิบเพื่อการผลิตสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำสด แช่เย็น หรือแช่แข็ง 1010321 วัตถุดิบสัตว์น้ำได้รับการควบคุมและกำกับดูแลการตรวจรับตามเกณฑ์คุณภาพอย่างถูกต้อง 101032.01 143554
101032 ควบคุมและกำกับดูแลการตรวจรับวัตถุดิบเพื่อการผลิตสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำสด แช่เย็น หรือแช่แข็ง 1010322 วัตถุดิบสัตว์น้ำที่รับเข้าสู่โรงงานได้รับการควบคุมและกำกับดูแลการชั่งน้ำหนักอย่างถูกต้องตามหลักการชั่ง 101032.02 143555
101032 ควบคุมและกำกับดูแลการตรวจรับวัตถุดิบเพื่อการผลิตสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำสด แช่เย็น หรือแช่แข็ง 1010323 วัตถุดิบสัตว์น้ำที่รับเข้าสู่โรงงานได้รับการควบคุมและกำกับดูแลการคัดแยกตามชนิด/ประเภทของวัตถุดิบสัตว์น้ำรักษาความเย็น และ/หรือจัดเก็บตามข้อกำหนดของบริษัท โดยคำนึงถึง GMP 101032.03 143556
101033 ควบคุมและกำกับดูแลการเตรียมส่วนผสมเพื่อการผลิตสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำสด แช่เย็น หรือแช่แข็ง 1010331 ส่วนผสมในห้องเก็บรักษาได้รับการควบคุมและกำกับดูแลให้อยู่ในสภาพที่ดีมีการแยกประเภทเก็บรักษาตามอุณหภูมิที่กำหนดตามหลักการ โดยคำนึงถึง GMP และไม่หมดอายุก่อนนำมาใช้งาน มีการตรวจเช็คจำนวนให้ตรงกับข้อมูลตามเอกสารที่ระบุและตรวจสอบว่ามีจำนวนเพียงพอกับที่ต้องการใช้เพื่อผลิตรายวัน 101033.01 143557
101033 ควบคุมและกำกับดูแลการเตรียมส่วนผสมเพื่อการผลิตสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำสด แช่เย็น หรือแช่แข็ง 1010332 ส่วนผสมที่ต้องการใช้งานประจำวันได้รับการควบคุมและกำกับดูแลให้มีน้ำหนักและปริมาตรอย่างถูกต้องตามสูตรการเตรียมเพื่อการผลิตผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดและส่วนผสมเพื่อการผลิตได้รับการคำนวณอย่างถูกต้อง 101033.02 143558
101033 ควบคุมและกำกับดูแลการเตรียมส่วนผสมเพื่อการผลิตสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำสด แช่เย็น หรือแช่แข็ง 1010333 ส่วนผสมหลังการเตรียมได้รับการควบคุมและกำกับดูแลชนิดและปริมาณให้เหมาะสมกับการผลิตอย่างถูกต้องและมีส่วนผสมตรงตามรายละเอียดบนป้ายบ่งชี้ที่ระบุ 101033.03 143559
101034 ควบคุมและกำกับดูแลการเตรียมวัตถุดิบสัตว์น้ำ และการจัดการวัสดุเศษเหลือและ/หรือผลพลอยได้/ของเสียจากการเตรียมวัตถุดิบสัตว์น้ำ 1010341 วัตถุดิบสัตว์น้ำที่เข้าสู่ไลน์เตรียมวัตถุดิบได้รับการควบคุมและกำกับดูแลให้มีการคัดขนาดและคัดเกรดถูกต้องตามข้อกำหนดของสัตว์น้ำตามชนิดและประเภทรวมถึงการควบคุมและกำกับดูแลให้มีการรักษาความเย็นระหว่างการคัดเกรด/คัดขนาดสัตว์น้ำตามหลักการให้ความเย็น โดยคำนึงถึง GMP และหลักอาชีวอนามัยและความปลอดภัย 101034.01 143560
101034 ควบคุมและกำกับดูแลการเตรียมวัตถุดิบสัตว์น้ำ และการจัดการวัสดุเศษเหลือและ/หรือผลพลอยได้/ของเสียจากการเตรียมวัตถุดิบสัตว์น้ำ 1010342 วัตถุดิบสัตว์น้ำได้รับการควบคุมและกำกับดูแลให้ตัดแต่งตามชนิดและประเภทอย่างถูกต้องได้ % yield ตามที่กำหนด โดยคำนึงถึง GMP และหลักอาชีวอนามัยและความปลอดภัย รวมถึงการทำความสะอาดก่อน/หลังการตัดแต่งอย่างถูกวิธีตาม GMP และการเก็บรักษาวัตถุดิบสัตว์น้ำหลังการตัดแต่งอย่างถูกต้องตามหลักการใช้ความเย็น โดยคำนึงถึง GMP 101034.02 143561
101034 ควบคุมและกำกับดูแลการเตรียมวัตถุดิบสัตว์น้ำ และการจัดการวัสดุเศษเหลือและ/หรือผลพลอยได้/ของเสียจากการเตรียมวัตถุดิบสัตว์น้ำ 1010343 วัสดุเศษเหลือและ/หรือผลพลอยได้/ของเสียจากขั้นตอนการเตรียมวัตถุดิบสัตว์น้ำได้รับการควบคุมและกำกับดูแลการแยกประเภทรวบรวบ เก็บรักษา และจัดการให้เป็นไปตามข้อกำหนดอย่างถูกต้อง โดยคำนึงถึง GMPหลักอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และมาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม(ISO 14000) 101034.03 143562
101035 ควบคุมและกำกับดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาในการเตรียมวัตถุดิบสัตว์น้ำ 1010351 การปฏิบัติตนเกี่ยวกับสุขลักษณะส่วนบุคคลตามGMP ของผู้ใต้บังคับบัญชาได้รับการควบคุมและกำกับดูแลอย่างถูกต้องตลอดการปฏิบัติงานตรวจรับวัตถุดิบสัตว์น้ำงานเตรียมส่วนผสม งานเตรียมวัตถุดิบสัตว์น้ำจัดการวัสดุเศษเหลือและ/หรือผลพลอยได้ และกำจัดของเสียจากการเตรียมวัตถุดิบสัตว์น้ำ 101035.01 143563
101035 ควบคุมและกำกับดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาในการเตรียมวัตถุดิบสัตว์น้ำ 1010352 การปฏิบัติงานตรวจรับวัตถุดิบสัตว์น้ำ งานเตรียมส่วนผสม งานเตรียมวัตถุดิบสัตว์น้ำจัดการวัสดุเศษเหลือและ/หรือผลพลอยได้และกำจัดของเสียจากการเตรียมวัตถุดิบสัตว์น้ำของผู้ใต้บังคับบัญชาได้รับการควบคุมและกำกับดูแลให้ปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึง GMP หลักอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และมาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม(ISO 14000) 101035.02 143564

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

-  ความรู้ด้านการคำนวณทางคณิตศาสตร์ในหน่วยร้อยละ และ ppm.



-  ความรู้ด้านการตรวจรับวัตถุดิบสัตว์น้ำ



-  ความรู้ด้านการเตรียมส่วนผสมเพื่อการผลิต



-  ความรู้ด้านการเตรียมวัตถุดิบสัตว์น้ำ



-  ความรู้ด้านภาษาอังกฤษในงานอาชีพ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

- ตรวจสอบสถานที่ปฏิบัติงาน  อุปกรณ์/เครื่องมือ  และเครื่องจักร  ก่อนและหลังการปฏิบัติงานตรวจรับวัตถุดิบสัตว์น้ำ งานเตรียมส่วนผสม  และงานเตรียมวัตถุดิบสัตว์น้ำ  ตาม GMP และหลักการอาชีว-อนามัยและความปลอดภัย



- ตรวจสอบวาล์ว และท่อนำจ่ายน้ำ ตามคู่มือ



- ตรวจเช็คจำนวนอุปกรณ์ทำความสะอาด และปริมาณสารทำความสะอาดในห้องเก็บรักษา  รวมถึงตรวจสอบการจัดเก็บสารทำความสะอาดและอุปกรณ์ทำความสะอาดหลังการปฏิบัติงาน



- ทักษะการคำนวณความเข้มข้นของสารทำความสะอาด



- ควบคุมและกำกับดูแลการตรวจรับวัตถุดิบสัตว์น้ำ ตามเกณฑ์คุณภาพ



- ควบคุมและกำกับดูแลการชั่งน้ำหนักวัตถุดิบสัตว์น้ำที่รับเข้าสู่โรงงาน ตามหลักการชั่ง



- ควบคุมและกำกับดูแลการคัดแยกวัตถุดิบสัตว์น้ำตามชนิด/ประเภท  การรักษาความเย็น  และ/หรือการจัดเก็บวัตถุดิบสัตว์น้ำที่รับเข้าสู่โรงงาน 



- ควบคุมและกำกับดูแลส่วนผสมในห้องเก็บรักษาให้อยู่ในสภาพที่ดี  มีการแยกประเภทเก็บรักษาตามอุณหภูมิที่กำหนดตามหลักการ 



- ควบคุมและกำกับดูแลส่วนผสมที่ต้องการใช้งานประจำวันให้มีน้ำหนักและปริมาตรอย่างถูกต้องตามสูตรการเตรียมเพื่อการผลิตผลิตภัณฑ์แต่ละชนิด



- ควบคุมและกำกับดูแลส่วนผสมหลังการเตรียมว่ามีชนิดและปริมาณตรงกับการผลิต  มีคุณสมบัติตามคุณลักษณะที่ต้องการ  และส่วนผสมที่อยู่ในภาชนะตรงตามรายละเอียดบนป้ายบ่งชี้ที่ระบุ



- ทักษะการคำนวณปริมาณส่วนผสม (ในหน่วยร้อยละ) ที่เป็นของแข็ง/ของเหลว



- ควบคุมและกำกับดูแลเกรดวัตถุดิบสัตว์น้ำตามเกณฑ์คุณภาพ  สำหรับการผลิตสัตว์น้ำสดและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำแช่เย็น หรือแช่แข็ง 



- ควบคุมและกำกับดูแลขนาดวัตถุดิบสัตว์น้ำตามชนิดและประเภท สำหรับการผลิตสัตว์น้ำสดและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำแช่เย็น หรือแช่แข็ง 



- ควบคุมและกำกับดูแลสัตว์น้ำหลังการตัดแต่งให้มีคุณลักษณะตามที่กำหนด  สำหรับการผลิตสัตว์น้ำสดและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำแช่เย็น หรือแช่แข็ง 



- ทักษะการคำนวณเปอร์เซ็นต์ yield ของวัตถุดิบสัตว์น้ำจากการตัดแต่ง ตามชนิดและประเภท



- ควบคุมและกำกับดูแลการทำความสะอาดวัตถุดิบสัตว์น้ำก่อน/หลังการตัดแต่ง  ตาม GMP



- ควบคุมและกำกับดูแลให้มีการรักษาความเย็นระหว่างการคัดเกรด/คัดขนาด/ตัดแต่งสัตว์น้ำ ตามหลักการให้ความเย็น



- ควบคุมและกำกับดูแลการจัดการวัสดุเศษเหลือและ/หรือผลพลอยได้ และกำจัดของเสียจากการเตรียมวัตถุดิบสัตว์น้ำ ตาม GMP หลักอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และมาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (ISO 14000)



- ควบคุมและกำกับดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาในการปฏิบัติตนเกี่ยวกับสุขลักษณะส่วนบุคคล ตาม GMP และหลักการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยตลอดการปฏิบัติงานตรวจรับวัตถุดิบ  งานเตรียมส่วนผสม งานเตรียมวัตถุดิบสัตว์น้ำ  งานจัดการวัสดุเศษเหลือและ/หรือผลพลอยได้และของเสียจากการเตรียมวัตถุดิบสัตว์น้ำ



- ควบคุมและกำกับดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาให้มีประสิทธิภาพ ในการปฏิบัติงานตรวจรับวัตถุดิบ  งานเตรียมส่วนผสม  งานเตรียมวัตถุดิบสัตว์น้ำ  งานจัดการวัสดุเศษเหลือและ/หรือผลพลอยได้ และกำจัดของเสียจากการเตรียมวัตถุดิบสัตว์น้ำ โดยคำนึงถึง GMP หลักอาชีวอนามัยและความปลอดภัย  และมาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (ISO 14000)

(ข) ความต้องการด้านความรู้

- ความรู้เกี่ยวกับ GMP



- ความรู้เกี่ยวกับหลักการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย



- ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอันตรายทางเคมี  กายภาพ  และชีวภาพในงานตรวจรับวัตถุดิบ  งานเตรียมส่วนผสม  และงานเตรียมวัตถุดิบสัตว์น้ำเพื่อการผลิตสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำสดแช่เย็น หรือแช่แข็ง



- ความรู้เกี่ยวกับการตรวจสอบระบบน้ำใช้เบื้องต้น (การตรวจสอบวาล์ว และท่อนำจ่ายน้ำ)



- ความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์และสารทำความสะอาดที่ใช้ทำความสะอาดสถานที่ปฏิบัติงาน  อุปกรณ์/เครื่องมือ  และเครื่องจักร



- การคำนวณความเข้มข้นของสารทำความสะอาดในหน่วยร้อยละ และหน่วย ppm.



- ความรู้เกี่ยวกับเครื่องหมายระบุอันตราย  อันตรายจากการใช้สารทำความสะอาด  และวิธีการป้องกัน



- หลักการตรวจรับวัตถุดิบสัตว์น้ำสำหรับการผลิตสัตว์น้ำสดและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำแช่เย็น หรือแช่แข็ง



- ตามเกณฑ์คุณภาพ



- คุณภาพของสัตว์น้ำทางกายภาพ  เคมี  ประสาทสัมผัส และจุลินทรีย์  ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเน่าเสีย  วิธีการควบคุม  และวิธีการจัดการเพื่อลดอัตราการเสื่อมคุณภาพของวัตถุดิบสัตว์น้ำ



- ความรู้เกี่ยวกับการปรับตั้ง  การใช้งาน  และการบำรุงรักษาเครื่องชั่งวัตถุดิบสัตว์น้ำ



- ความรู้เกี่ยวกับการใช้ความเย็นในการรักษาคุณภาพสัตว์น้ำ



- หลักการจัดเก็บส่วนผสม ตาม GMP และหลักอาชีวอนามัยและความปลอดภัย



- การคำนวณปริมาณส่วนผสม (ในหน่วยร้อยละ) ที่เป็นของแข็ง/ของเหลว



- การเตรียมส่วนผสมของแข็งและของเหลว ตามหลักการและกระบวนการ



- เทคนิควิธีการใช้เครื่องชั่ง และอุปกรณ์การตวง  ตามหลักการชั่ง ตวง วัด



- พารามิเตอร์ที่เกี่ยวข้องและคุณลักษณะที่ต้องการหลังการเตรียมส่วนผสมเบื้องต้น



- หลักการคัดเกรดสัตว์น้ำตามชนิดและประเภท ตามเกณฑ์ความสดทางประสาทสัมผัส สำหรับการผลิตสัตว์น้ำสดและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำแช่เย็น หรือแช่แข็ง



- หลักการคัดขนาดสัตว์น้ำตามชนิดและประเภท สำหรับการผลิตสัตว์น้ำสดและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำแช่เย็น หรือแช่แข็ง



- รูปแบบ  และวิธีการตัดแต่งสัตว์น้ำตามชนิดและประเภท สำหรับการผลิตสัตว์น้ำสดและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำแช่เย็น หรือแช่แข็ง



- การคำนวณเปอร์เซ็นต์ yield ของวัตถุดิบสัตว์น้ำจากตัดแต่ง



- เครื่องจักรสำหรับการคัดขนาด ตัดแต่งสัตว์น้ำ (เครื่องคัดขนาด เครื่องขอดเกล็ด เครื่องตัดหัวควักไส้) วิธีการใช้งาน  และการบำรุงรักษา



- การใช้ประโยชน์จากวัสดุเศษเหลือในอุตสาหกรรมสัตว์น้ำแช่เย็น แช่แข็ง  และการจัดการผลพลอยได้ที่เกิดจากการเตรียมวัตถุดิบสัตว์น้ำ



- กฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยที่เกี่ยวกับการกำจัดของเสีย  และวิธีการกำจัดของเสีย



- มาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (ISO 14000) เบื้องต้น



- หลักจิตวิทยาเบื้องต้นในการควบคุมและกำกับการปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชา



- การตรวจรับวัตถุดิบสัตว์น้ำเพื่อการผลิตสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำสดแช่เย็น หรือแช่แข็ง



- การเตรียมส่วนผสมเพื่อการผลิตสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำสดแช่เย็น หรือแช่แข็ง



- การเตรียมวัตถุดิบสัตว์น้ำเพื่อการผลิตสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำสดแช่เย็น หรือแช่แข็ง


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skill and Knowledge)




  • หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



-  ใบรับรองการทำงานในสถานประกอบที่เกี่ยวกับการแปรรูปสัตว์น้ำแช่เย็นหรือแช่แข็ง  ไม่น้อยกว่า 1 ปี  สำหรับผู้ที่มีวุฒิการศึกษาระดับ ปวส. ในรูปแบบการจัดการศึกษาในระบบ  สาขาแปรรูปสัตว์น้ำ/ อุตสาหกรรมเกษตร/ สาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตอาหาร หรือ



-  ใบรับรองการทำงานในสถานประกอบที่เกี่ยวกับการแปรรูปสัตว์น้ำแช่เย็นหรือแช่แข็ง ไม่น้อยกว่า 5 ปี สำหรับผู้ที่มีวุฒิการศึกษาระดับ ปวส. ในสาขาอื่นๆ หรือ การศึกษาระดับ ปวช. ในสาขาอื่นๆ หรือ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือการศึกษาภาคบังคับ (ในปีที่สำเร็จการศึกษา)   หรือ



-  ใบรับรองการทำงานในสถานประกอบที่เกี่ยวกับการแปรรูปสัตว์น้ำแช่เย็นหรือแช่แข็ง ไม่น้อยกว่า 3 ปี สำหรับผู้ที่มีใบรับรองหรือประกาศนียบัตรคุณวุฒิวิชาชีพ นักปฏิบัติงานผลิต (ผลิตสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำสดแช่เย็น หรือแช่แข็ง) ชั้น 2



-  หนังสือรับรองการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการผลิตสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำสดแช่เย็นหรือแช่แข็ง จากผู้บังคับบัญชาในระดับนักบริหารการผลิต (การผลิตสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำสดแช่เย็นหรือแช่แข็ง) ชั้น 4 ขึ้นไป หรือผู้มีอำนาจออกหนังสือรับรองของบริษัท



-  แบบบันทึกประสบการณ์ทำงาน



(ข)  หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



-  ใบรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาอาชีพผู้ปฏิบัติงานผลิต (การผลิตสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำสดแช่เย็น หรือแช่แข็ง) ชั้น 2  ให้แนบคุณวุฒิทางการศึกษาร่วมกับใบรับรองการปฏิบัติงานไม่น้อยกว่า 3 ปีหรือ



-  ใบรับรองคุณวุฒิทางการศึกษาระดับ ปวส. ในรูปแบบการจัดการศึกษาระบบทวิภาคี สาขาแปรรูปสัตว์น้ำ อุตสาหกรรมสัตว์น้ำ อุตสาหกรรมเกษตร และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตอาหาร หรือ



-  ใบรับรองคุณวุฒิทางการศึกษาระดับ ปวส. ในรูปแบบการจัดการศึกษาในระบบ  สาขาแปรรูปสัตว์น้ำ/ อุตสาหกรรมเกษตร/ สาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตอาหาร ให้แนบคุณวุฒิทางการศึกษาร่วมกับใบรับรองการปฏิบัติงานไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ



-  ใบรับรองคุณวุฒิการศึกษาระดับ ปวส. ในสาขาอื่นๆ หรือ การศึกษาระดับ ปวช. ในสาขาอื่นๆ หรือ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือการศึกษาภาคบังคับ (ในปีที่สำเร็จการศึกษา) ให้แนบคุณวุฒิทางการศึกษาร่วมกับใบรับรองการปฏิบัติงานไม่น้อยกว่า 5 ปี หรือ



-  ประกาศนียบัตรหรือใบรับรองหลักสูตรการฝึกอบรมสมรรถนะอาชีพ สาขาอาชีพเกษตรกรรม สาขาแปรรูปสัตว์น้ำ  อาชีพนักปฏิบัติงานผลิต (ผลิตสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำสดแช่เย็นหรือแช่แข็ง) ชั้น 3 จากหน่วยงานฝึกอบรมที่ได้รับการรับรองจากภาครัฐ (ถ้ามี)




  • ใบรับรองการฝึกอบรมเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร (GMP) และหลักอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (OHS) เป็นต้น (ถ้ามี)

  • ใบรับรองการฝึกอบรมที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)



(ค)  คำแนะนำในการประเมิน




  • การพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะให้ใช้หลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้ตามที่ระบุ

  • เจ้าหน้าที่สอบต้องมีประสบการณ์ในหน่วยสมรรถนะนี้อย่างน้อย 2 ปี หรือ เป็นผู้มีคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาอาชีพผู้ปฏิบัติงานผลิต (การผลิตสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำสด แช่เย็นหรือแช่แข็ง) ชั้น 3 อย่างน้อย 1 ปี

  • การประเมินการสอบสัมภาษณ์ให้เจ้าหน้าที่สอบใช้แบบบันทึกประสบการณ์ทำงานร่วมพิจารณาในประเด็นที่ระบุตามคู่มือ  และสอบโดยใช้เจ้าหน้าที่สอบไม่ต่ำกว่า 2 คน ในการประเมินผู้เข้ารับการประเมิน 1 คน  โดยสถานที่ทำการประเมินต้องไม่มีสภาวะรบกวนการสอบ  มีเครื่องคอมพิวเตอร์ วัสดุสำนักงาน และสิ่งอำนวยความสะดวกที่พร้อมใช้งานขณะการประเมิน



(ง)  วิธีการประเมิน




  • การสอบข้อเขียน

  • การสอบสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

      ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตการปฏิบัติงาน  และสภาพแวดล้อมอื่นๆ  หรือสถานการณ์อื่นๆ  ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน  รวมถึงเครื่องมือ  อุปกรณ์  เทคโนโลยี  ทรัพยากรที่ใช้  หรือข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง



(ก)  คำแนะนำ



        การทดสอบการควบคุมและกำกับดูแลการเตรียมวัตถุดิบสัตว์น้ำ และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการผลิตตามมาตรฐานการผลิตอาหารที่เกี่ยวข้องครอบคลุมถึงการตรวจสอบสถานที่ปฏิบัติงาน  อุปกรณ์/เครื่องมือ  เครื่องจักร และสิ่งอำนวยความสะดวกก่อนและหลังการเตรียมวัตถุดิบสัตว์น้ำ  การควบคุมและกำกับดูแลการตรวจรับวัตถุดิบสัตว์น้ำ  การเตรียมส่วนผสม  การเตรียมวัตถุดิบสัตว์น้ำ และการจัดการวัสดุเศษเหลือและ/หรือผลพลอยได้/ของเสียจากการเตรียมวัตถุดิบสัตว์น้ำ  รวมถึงการควบคุมและกำกับดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาในฝ่ายตรวจรับวัตถุดิบสัตว์น้ำ  ฝ่ายเตรียมวัตถุดิบสัตว์น้ำ และฝ่ายเตรียมส่วนผสมเพื่อการผลิต  โดยคำนึงถึงมาตรฐานการผลิตอาหารที่เกี่ยวข้อง



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



     1)  อุปกรณ์ เครื่องมือ และ/หรือเครื่องจักร :



-  อุปกรณ์:  มีด เขียง ตะกร้า/กระบะ/ถังพลาสติก ถังสแตนเลส โต๊ะสแตนเลส  เทอร์โมมิเตอร์



-  เครื่องมือ: เครื่องชั่ง  เครื่องปั่นส่วนผสม  เครื่องวัดค่าความหวาน-ความเค็ม  เครื่องวัดค่าความเป็นกรด-ด่าง



-  เครื่องจักร: เครื่องจักรล้างกระบะ/ตะกร้า เครื่องจักรลำเลียงวัตถุดิบผ่านสายพาน  เครื่องคัดขนาดอัตโนมัติ



2)  สถานที่:



-  สถานที่ตรวจรับวัตถุดิบสัตว์น้ำ (หน้าแพ)



-  สถานที่เก็บวัตถุดิบสด/แห้ง



-  สถานที่เก็บวัตถุดิบสัตว์น้ำสดแช่แข็ง  แช่แข็ง



-  สถานที่ (ไลน์) เตรียมวัตถุดิบสัตว์น้ำเป็นสถานที่ต่อเนื่องสถานที่ตรวจรับวัตถุดิบสัตว์น้ำ (หน้าแพ)  ครอบคลุมไปจนถึงสถานที่ก่อนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมสัตว์น้ำแช่เย็น หรือแช่แข็ง



-  สถานที่แปรรูปสัตว์น้ำ (ล้งกุ้ง ล้งปลา ล้งปู ล้งหมึก)



-  สถานที่เตรียมส่วนผสมเพื่อการผลิต และสถานที่เก็บส่วนผสม



3)  มาตรฐานการผลิตอาหารที่เกี่ยวข้อง



-  หลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิต (GMP) มาตรฐานบังคับ



-  ระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม (HACCP)



-  ISO 22000 (ระบบการจัดการความปลอดภัยของอาหาร) ซึ่งคลอบคลุม ISO 9001 และ ระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม (HACCP)



-  ISO 14000 (ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม)



-  ISO 18000 (ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย)



4)  วัตถุดิบสัตว์น้ำ ประกอบด้วย 



          -  ปลาทูน่า



          -  ปลาอื่นๆ ที่ไม่ใช่ปลาทูน่า



          -  กุ้ง



          -  ปู



          -  หอย



          -  หมึก



5)  ส่วนผสม ประกอบด้วย



          -  วัตถุเจือปนอาหาร  : เกลือ  น้ำตาล  กรด  น้ำตาลอัลกอฮอล์  สารประกอบฟอสเฟตหรือสารทดแทนสารประกอบฟอสเฟต



          -  ผลผลิตทางการเกษตร  : เครื่องปรุง  เครื่องเทศ  แป้งต่างๆ  และวัตถุดิบทางการเกษตรอื่นๆ



6)  ป้ายบ่งชี้ ประกอบด้วยหัวข้อสำคัญ: ชื่อวัตถุดิบสัตว์น้ำ หรือ ชื่อส่วนผสม วันที่ เวลา สถานที่เตรียม สถานที่จัดส่ง ผู้เตรียม/ผู้จัดส่ง



7)  สิ่งอำนวยความสะดวก ครอบคลุมทั้งระบบน้ำ ระบบไฟฟ้า ระบบระบายอากาศ  อุปกรณ์และสารทำความสะอาด



8)  อุปกรณ์และสารทำความสะอาด  ประกอบด้วย  คลอรีนน้ำ  น้ำยาทำความสะอาด  ถัง/กะละมังพลาสติก  ฟองน้ำ  ผ้าเช็ดโต๊ะ  ไม้ปาดน้ำบนโต๊ะปฏิบัติการ  ไม้ปาดน้ำบนพื้น  ถุงดำ



9)  พารามิเตอร์เบื้องต้นของส่วนผสม:  ค่า pH  ค่าความหวาน  ค่าความเค็ม



10)  คุณลักษณะที่ต้องการทางประสาทสัมผัสของส่วนผสม: สี  กลิ่น  รสชาติ  และเนื้อสัมผัส


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
กลุ่มอาชีพผลิตสัตว์น้ำกระป๋อง/ผลิตสัตว์น้ำแปรรูปอื่นๆ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

          ประเมินผลทางด้านความรู้ ทักษะ และเจตคติในอาชีพผลิตสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำสดแช่เย็นหรือแช่แข็ง  ด้านการควบคุมและกำกับดูแลการเตรียมวัตถุดิบสัตว์น้ำ และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการผลิตตามมาตรฐานการผลิตอาหารที่เกี่ยวข้อง  โดยใช้วิธีการสอบข้อเขียน และการสอบสัมภาษณ์  ตามคู่มือ



 



ยินดีต้อนรับ