หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการสินค้าในการขนส่งรถบรรทุกวัตถุอันตราย

สาขาวิชาชีพโลจิสติกส์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ LOG-PIYD-652A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการสินค้าในการขนส่งรถบรรทุกวัตถุอันตราย

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

   ผู้ปฏิบัติการควบคุมรถบรรทุกวัตถุอันตรายสำหรับการขนส่งทางถนน 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
    บุคคลที่ทำหน้าที่ปฏิบัติการจัดการรับ ส่ง สินค้าวัตถุอันตราย การจัดการสินค้าตามความอันตรายในแต่ละคลาส และการปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวัตถุอันตราย 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
8332 ผู้ขับรถบรรทุกขนาดใหญ่

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ใบอนุญาตขับขี่ตั้งแต่ประเภท 2 ขึ้นไป และมีใบอนุญาตขับขี่ตรงตามประเภทรถที่รับการประเมินพรบ.การขนส่งทางบก พ.ศ.2522 พรบ.รถยนต์ พ.ศ.2522พรบ.จราจรทางบก พ.ศ.2522

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
210031 จัดการรับ ส่ง สินค้าวัตถุอันตราย 1. กำหนดการรับ ส่งสินค้าวัตถุอันตรายอย่างถูกต้อง ครบถ้วน ตามมาตรฐานของสถานประกอบการที่กำหนด 210031.01 104702
210031 จัดการรับ ส่ง สินค้าวัตถุอันตราย 2. ปฏิบัติตามขั้นตอนการรับ ส่งสินค้าวัตถุอันตรายได้อย่างถูกต้องครบถ้วน ตามมาตรฐานของสถานประกอบการที่กำหนด 210031.02 104703
210032 จัดการสินค้าตามความอันตรายในแต่ละคลาส 1. จัดเรียงสินค้าตามความอันตรายในแต่ละคลาสอย่างถูกต้อง ครบถ้วน ตามกฎหมายที่กำหนด 210032.01 104704
210032 จัดการสินค้าตามความอันตรายในแต่ละคลาส 2. จำแนกสินค้าตามความอันตรายในแต่ละคลาสอย่างถูกต้อง ครบถ้วน ตามกฎหมายที่กำหนด 210032.02 104705
210033 ปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวัตถุอันตราย 1. มีความรู้ทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวัตถุอันตรายในแต่ละคลาสได้อย่างถูกต้องครบถ้วน ตามกฎหมายที่กำหนด 210033.01 104706
210033 ปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวัตถุอันตราย 2. ปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวัตถุอันตรายในแต่ละคลาสได้อย่างถูกต้องครบถ้วนตามกฎหมายที่กำหนด 210033.02 104707

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่ระบุ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ปฏิบัติการจัดการรับ ส่ง สินค้าวัตถุอันตราย 

   1.1 สามารถกำหนดการรับ ส่งสินค้าวัตถุอันตรายอย่างถูกต้อง ครบถ้วน ตามเกณฑ์มาตรฐาน

   1.2 สามารถปฏิบัติตามขั้นตอนการรับ ส่งสินค้าวัตถุอันตรายได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน ตามเกณฑ์มาตรฐาน

2. ปฏิบัติการจัดการสินค้าตามความอันตรายในแต่ละคลาส

   2.1 สามารถจัดเรียงสินค้าตามความอันตรายในแต่ละ คลาสอย่างถูกต้อง ครบถ้วน ตามข้อกำหนด

   2.2 สามารถจำแนกสินค้าตามความอันตรายในแต่ละ คลาสอย่างถูกต้อง ครบถ้วน ตามข้อกำหนด

3. ปฏิบัติการปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวัตถุอันตราย

   3.1 สามารถมีความรู้ทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวัตถุอันตรายในแต่ละคลาสได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน ตามข้อกำหนด

   3.2 สามารถปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวัตถุอันตรายในแต่ละคลาสได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วนตามข้อกำหนด


(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. กฎหมายและข้อกำหนดเกี่ยวกับสินค้าวัตถุอันตราย

2. การขนส่งสินค้าวัตถุอันตราย

3. การจัดการขนส่งสินค้าทางถนน

4. หลักการปฏิบัติการขนส่งสินค้าทางถนน

 



14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

   หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

  1. เอกสารรับรองการปฏิบัติงานหรือผลการประเมินการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

  2. เอกสารการประเมินตามหน่วยสมรรถนะครอบคลุมคุณวุฒิวิชาชีพ

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

  1. เอกสารรับรองการผ่านการอบรมที่เกี่ยวข้องกับการขับรถบรรทุกวัตถุอันตรายขนส่งสินค้าทางถนน

  2. เอกสารรับรองการผ่านการสอบข้อเขียนหรือผลการทดสอบความรู้

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

  ประเมินเกี่ยวกับการจัดการสินค้าในการขนส่งรถบรรทุกวัตถุอันตราย โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

  1. พิจารณาหลักฐานความรู้

  2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน



15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

   การปฏิบัติการจัดการรับ ส่ง สินค้าวัตถุอันตราย การจัดการสินค้าตามความอันตรายในแต่ละคลาส และการปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวัตถุอันตราย

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

   1. การจัดการรับ ส่ง สินค้าวัตถุอันตราย จะต้องกำหนดการรับ ส่งสินค้าวัตถุอันตรายตามเกณฑ์มาตรฐาน และการปฏิบัติตามขั้นตอนการรับ ส่งสินค้าวัตถุอันตรายตามเกณฑ์มาตรฐาน

   2. การจัดการสินค้าตามความอันตรายในแต่ละคลาส จะต้องจัดเรียงสินค้าตามความอันตรายในแต่ละ คลาสตามข้อกำหนด และจำแนกสินค้าตามความอันตรายในแต่ละคลาสตามข้อกำหนด

   3. การปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวัตถุอันตราย จะต้องมีความรู้ทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวัตถุอันตรายในแต่ละคลาสได้ตามข้อกำหนด และปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวัตถุอันตรายในแต่ละคลาสตามข้อกำหนด

   4. รถบรรทุกวัตถุอันตราย หมายถึง การบรรทุก สาร สิ่งของ วัตถุ หรือวัสดุใด ๆ ที่อาจเกิดอัตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของคน สัตว์ ทรัพย์สิน และสิ่งแวดล้อมระหว่างการขนส่งสินค้า โดยสินค้าประเภทวัตถุอันตรายแบ่งออกเป็น 9 ประเภท ได้แก่ วัตถุระเบิด ก๊าซ ของเหลวไวไฟ ของแข็งไวไฟ สารออกซิไดส์ สารพิษและสารติดเชื้อ วัสดุกัมมันตรังสี สารกัดกร่อน และวัตถุอื่น ๆ เช่น ปุ๋ย พลาสติกเคมี เป็นต้น 

 



16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. เครื่องมือการประเมิน

  1. แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก 

  2. แบบประเมินจากการสาธิตการปฏิบัติงาน

     ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

2. เครื่องมือการประเมิน

  1. แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก 

  2. แบบประเมินจากการสาธิตการปฏิบัติงาน

    ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

3. เครื่องมือการประเมิน

  1. แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก 

  2. แบบประเมินจากการสาธิตการปฏิบัติงาน

     ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

 

 




ยินดีต้อนรับ