หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ควบคุมการขับขี่รถบรรทุกวัตถุอันตราย

สาขาวิชาชีพโลจิสติกส์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ LOG-QOWJ-631A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ควบคุมการขับขี่รถบรรทุกวัตถุอันตราย

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

   ผู้ปฏิบัติการควบคุมรถบรรทุกวัตถุอันตรายสำหรับการขนส่งทางถนน 

 




6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
   บุคคลที่ทำหน้าที่ปฏิบัติการควบคุมการขับขี่เพื่อความปลอดภัย ควบคุมการขับขี่เพื่อการประหยัดพลังงาน ควบคุมใช้งานอุปกรณ์ทั้งภายในและภายนอกรถได้ตามมาตรฐานของการขับขี่รถบรรทุกวัตถุอันตรายในแต่ละคลาส ควบคุมสินค้าอันตรายไม่ให้ตกหล่นระหว่างการขับขี่ และควบคุมการจอดรถบรรทุกวัตถุอันตราย 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
8332 ผู้ขับรถบรรทุกขนาดใหญ่

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ใบอนุญาตขับขี่ตั้งแต่ประเภท 2 ขึ้นไป และมีใบอนุญาตขับขี่ตรงตามประเภทรถที่รับการประเมินพรบ.การขนส่งทางบก พ.ศ.2522 พรบ.รถยนต์ พ.ศ.2522พรบ.จราจรทางบก พ.ศ.2522

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
208021 ควบคุมการขับขี่เพื่อความปลอดภัยของรถบรรทุกวัตถุอันตราย 1.ควบคุมการหยุดรถบรรทุกอย่างถูกต้องตามกฎหมายจราจร 208021.01 104661
208021 ควบคุมการขับขี่เพื่อความปลอดภัยของรถบรรทุกวัตถุอันตราย 2.ควบคุมการจอดรถบรรทุกอย่างถูกต้องตามกฎหมายจราจร 208021.02 104662
208021 ควบคุมการขับขี่เพื่อความปลอดภัยของรถบรรทุกวัตถุอันตราย 3.ควบคุมการถอยหลังรถบรรทุกอย่างถูกต้องตามกฎหมายจราจร 208021.03 104663
208021 ควบคุมการขับขี่เพื่อความปลอดภัยของรถบรรทุกวัตถุอันตราย 4.ควบคุมระยะห่างระหว่างการขับขี่รถบรรทุกอย่างถูกต้องตามกฎหมายจราจร 208021.04 104664
208021 ควบคุมการขับขี่เพื่อความปลอดภัยของรถบรรทุกวัตถุอันตราย 5.ควบคุมการขับขี่รถบรรทุกบนสภาพถนนต่างชนิดอย่างถูกต้องตามกฎหมายจราจร 208021.05 104665
208021 ควบคุมการขับขี่เพื่อความปลอดภัยของรถบรรทุกวัตถุอันตราย 6.ใช้อุปกรณ์ควบคุมรถบรรทุกอย่างถูกต้องตามกฎหมายจราจร 208021.06 104666
208022 ควบคุมการขับขี่เพื่อการประหยัดพลังงานของรถบรรทุกวัตถุอันตราย 1. ควบคุมพฤติกรรมการในการขับขี่ยานพาหนะเพื่อการประหยัดพลังงาน 208022.01 104667
208022 ควบคุมการขับขี่เพื่อการประหยัดพลังงานของรถบรรทุกวัตถุอันตราย 2. ตรวจสอบปริมาณการใช้เชื้อเพลิงกับระยะทางในการขนส่งสินค้า 208022.02 104668
208023 ควบคุมใช้งานอุปกรณ์ทั้งภายในและภายนอกรถได้ตามมาตรฐานของการขับขี่รถบรรทุกวัตถุอันตรายในแต่ละคลาส 1. จัดหาอุปกรณ์รถบรรทุกวัตถุอันตรายที่จำเป็นในขณะขับขี่ได้อย่างถูกต้องครบถ้วน ตามมาตรฐานการขับรถบรรทุกวัตถุอันตรายในแต่ละคลาส 208023.01 104669
208023 ควบคุมใช้งานอุปกรณ์ทั้งภายในและภายนอกรถได้ตามมาตรฐานของการขับขี่รถบรรทุกวัตถุอันตรายในแต่ละคลาส 2. ใช้อุปกรณ์ทั้งภายในและภายนอกรถบรรทุกในขณะขับขี่ เพื่อความปลอดภัยได้อย่างถูกต้องครบ ถ้วนมาตรฐานของการบรรทุกวัตถุอันตราย 208023.02 104670
208024 ควบคุมสินค้าอันตรายไม่ให้ตกหล่นระหว่างการขับขี่ 1. ขับขี่รถบรรทุกสินค้าอันตรายไม่ให้ตกหล่นระหว่างการขับขี่อย่างถูกต้อง 208024.01 104671
208024 ควบคุมสินค้าอันตรายไม่ให้ตกหล่นระหว่างการขับขี่ 2. ตรวจเช็คสินค้าอันตรายไม่ให้ตกหล่นระหว่างการขับขี่ เป็นระยะ ๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ 208024.02 104672
208025 ควบคุมการจอดรถบรรทุกวัตถุอันตราย 1. ควบคุมการจอดรถบรรทุกวัตถุอันตรายอย่างถูกต้องตามกฎหมายจราจร 208025.01 104673
208025 ควบคุมการจอดรถบรรทุกวัตถุอันตราย 2. ตรวจสอบรถบรรทุกวัตถุอันตรายในการเข้าจอดอย่างถูกต้อง 208025.02 104674

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่ระบุ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ปฏิบัติการควบคุมการขับขี่เพื่อความปลอดภัย

  1.1 สามารถควบคุมการหยุดรถบรรทุกอย่างถูกต้องตามกฎหมายจราจร

  1.2 สามารถควบคุมการจอดรถบรรทุกอย่างถูกต้องตามกฎหมายจราจร

  1.3 สามารถควบคุมการถอยหลังรถบรรทุกอย่างถูกต้องตามกฎหมายจราจร

  1.4 สามารถควบคุมระยะห่างระหว่างการขับขี่รถบรรทุกอย่างถูกต้องตามกฎหมายจราจร

  1.5 สามารถควบคุมการขับขี่รถบรรทุกบนสภาพถนนต่างชนิดอย่างถูกต้องตามกฎหมายจราจร

  1.6 สามารถใช้อุปกรณ์ควบคุมรถบรรทุกอย่างถูกต้องตามกฎหมายจราจร

2. ปฏิบัติควบคุมการขับขี่เพื่อการประหยัดพลังงาน

  2.1 สามารถควบคุมพฤติกรรมการในการขับขี่ยานพาหนะเพื่อการประหยัดพลังงาน

  2.2 สามารถตรวจสอบปริมาณการใช้เชื้อเพลิงกับระยะทางในการขนส่งสินค้า

3. ปฏิบัติควบคุมใช้งานอุปกรณ์ทั้งภายในและภายนอกรถได้ตามมาตรฐานของการขับขี่รถบรรทุกวัตถุอันตรายในแต่ละคลาส

  3.1 สามารถจัดหาอุปกรณ์รถบรรทุกวัตถุอันตรายที่จำเป็นในขณะขับขี่ได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน ตามมาตรฐานการขับรถบรรทุกวัตถุอันตรายในแต่ละคลาส

  3.2 สามารถใช้อุปกรณ์ทั้งภายในและภายนอกรถบรรทุกในขณะขับขี่ เพื่อความปลอดภัยได้อย่างถูกต้อง ครบ ถ้วนมาตรฐานของการบรรทุกวัตถุอันตราย

4. ปฏิบัติควบคุมสินค้าอันตรายไม่ให้ตกหล่นระหว่างการขับขี่

  4.1 สามารถขับขี่รถบรรทุกสินค้าอันตรายไม่ให้ตกหล่นระหว่างการขับขี่อย่างถูกต้อง

  4.2 สามารถตรวจเช็คสินค้าอันตรายไม่ให้ตกหล่นระหว่างการขับขี่ เป็นระยะ ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

5. ปฏิบัติควบคุมการจอดรถบรรทุกวัตถุอันตราย

  5.1 สามารถควบคุมการจอดรถบรรทุกวัตถุอันตรายอย่างถูกต้องตามกฎหมายจราจร

  5.2 สามารถตรวจสอบรถบรรทุกวัตถุอันตรายในการเข้าจอดอย่างถูกต้อง


(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. กฎหมายจราจร

2. เครื่องหมายจราจร

3. เทคนิคการขับรถอย่างปลอดภัย

4. เทคนิคการขับรถประหยัดพลังงาน

5. การจัดการขนส่งสินค้าทางถนน

6. หลักการปฏิบัติการขนส่งสินค้าทางถนน

7. การขนส่งสินค้าวัตถุอันตราย



14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

   1. เอกสารรับรองการปฏิบัติงานหรือผลการประเมินการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

   2. เอกสารการประเมินตามหน่วยสมรรถนะครอบคลุมคุณวุฒิวิชาชีพ

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

   1. เอกสารรับรองการผ่านการอบรมที่เกี่ยวข้องกับการขับรถบรรทุกวัตถุอันตรายขนส่งสินค้าทางถนน

   2. เอกสารรับรองการผ่านการสอบข้อเขียนหรือผลการทดสอบความรู้

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

   ประเมินเกี่ยวกับการควบคุมรถบรรทุกวัตถุอันตรายสำหรับการขนส่งสินค้าทางถนน โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

   1. พิจารณาหลักฐานความรู้

   2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน

 



15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

   การปฏิบัติการควบคุมการขับขี่เพื่อความปลอดภัย ควบคุมการขับขี่เพื่อการประหยัดพลังงาน ควบคุมการขับขี่รถบรรทุกวัตถุอันตรายขณะถอยหลัง และควบคุมในการเลี้ยวกลับรถบรรทุกวัตถุอันตราย

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

   1. การควบคุมการขับขี่เพื่อความปลอดภัย จะต้องควบคุมการหยุดรถบรรทุก ควบคุมการจอดรถบรรทุก ควบคุมการถอยหลังรถบรรทุก ควบคุมระยะห่างระหว่างการขับขี่รถบรรทุก ควบคุมการขับขี่รถบรรทุกบนสภาพถนนต่างชนิด ใช้อุปกรณ์ควบคุมรถบรรทุก เช่น พวงมาลัย เกียร์ คลัตช์

   2. การควบคุมการขับขี่เพื่อการประหยัดพลังงาน จะต้องควบคุมพฤติกรรมการในการขับขี่ยานพาหนะเพื่อการประหยัดพลังงาน เช่น การใช้เกียร์ การควบคุมรอบเครื่องยนต์ การใช้เบรก เป็นต้น และตรวจสอบปริมาณการใช้เชื้อเพลิงกับระยะทางในการขนส่งสินค้า

    3. การควบคุมใช้งานอุปกรณ์ทั้งภายในและภายนอกรถได้ตามมาตรฐานของการขับขี่รถบรรทุกวัตถุอันตรายในแต่ละคลาสจะต้องจัดหาอุปกรณ์รถบรรทุกวัตถุอันตรายที่จำเป็นในขณะขับขี่รถบรรทุกวัตถุอันตรายในแต่ละคลาส การใช้อุปกรณ์ทั้งภายในและภายนอกรถบรรทุกในขณะขับขี่ เพื่อความปลอดภัยตามมาตรฐานของการบรรทุกวัตถุอันตราย

    4. การควบคุมสินค้าอันตรายไม่ให้ตกหล่นระหว่างการขับขี่ จะต้องขับขี่รถบรรทุกสินค้าอันตรายไม่ให้ตกหล่นระหว่างการขับขี่ การตรวจเช็คสินค้าอันตรายไม่ให้ตกหล่นระหว่างการขับขี่ เป็นระยะ ๆ เพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดในการขนส่งสินค้า

    5. การควบคุมการจอดรถบรรทุกวัตถุอันตราย จะต้องควบคุมการจอดรถบรรทุกวัตถุอันตราย การตรวจสอบรถบรรทุกวัตถุอันตรายในการเข้าจอดอย่างถูกต้อง

    6. รถบรรทุกวัตถุอันตราย หมายถึง การบรรทุก สาร สิ่งของ วัตถุ หรือวัสดุใด ๆ ที่อาจเกิดอัตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของคน สัตว์ ทรัพย์สิน และสิ่งแวดล้อมระหว่างการขนส่งสินค้า โดยสินค้าประเภทวัตถุอันตรายแบ่งออกเป็น 9 ประเภท ได้แก่ วัตถุระเบิด ก๊าซ ของเหลวไวไฟ ของแข็งไวไฟ สารออกซิไดส์ สารพิษและสารติดเชื้อ วัสดุกัมมันตรังสี สารกัดกร่อน และวัตถุอื่น ๆ เช่น ปุ๋ย พลาสติกเคมี เป็นต้น

 



16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. เครื่องมือการประเมิน

  1. แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก 

  2. แบบประเมินจากการสาธิตการปฏิบัติงาน

     ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

2. เครื่องมือการประเมิน

  1. แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก 

  2. แบบประเมินจากการสาธิตการปฏิบัติงาน

    ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

3. เครื่องมือการประเมิน

  1. แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก 

  2. แบบประเมินจากการสาธิตการปฏิบัติงาน

    ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

4. เครื่องมือการประเมิน

  1. แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก 

  2. แบบประเมินจากการสาธิตการปฏิบัติงาน

    ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

5. เครื่องมือการประเมิน

  1. แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก 

  2. แบบประเมินจากการสาธิตการปฏิบัติงาน

    ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

 




ยินดีต้อนรับ