หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฏิบัติการต่อแยกรถบรรทุกลากจูง

สาขาวิชาชีพโลจิสติกส์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ LOG-TABJ-634A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฏิบัติการต่อแยกรถบรรทุกลากจูง

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

   ผู้ปฏิบัติการควบคุมรถบรรทุกลากจูงสำหรับการขนส่งทางถนน 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
   บุคคลที่ทำหน้าที่ปฏิบัติการปฏิบัติการต่อหัวรถบรรทุกลากจูง และปฏิบัติการแยกรถบรรทุกลากจูง 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
8332 ผู้ขับรถบรรทุกขนาดใหญ่

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ใบอนุญาตขับขี่ตั้งแต่ประเภท 2 ขึ้นไป และมีใบอนุญาตขับขี่ตรงตามประเภทรถที่รับการประเมินพรบ.การขนส่งทางบก พ.ศ.2522 พรบ.รถยนต์ พ.ศ.2522พรบ.จราจรทางบก พ.ศ.2522

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
207031 ปฏิบัติการต่อหัวรถบรรทุกลากจูง 1. ตรวจสอบความพร้อมของหัวรถบรรทุกลากจูง อยู่ในสภาพที่พร้อมตามขั้นตอน อย่างถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือการปฏิบัติงาน 207031.01 104650
207031 ปฏิบัติการต่อหัวรถบรรทุกลากจูง 2. ต่อหัวรถบรรทุกลากจูง ได้อย่างถูกต้องตามคู่มือการปฏิบัติงาน 207031.02 104651
207032 ปฏิบัติการแยกรถบรรทุกลากจูง 1. ตรวจสอบความพร้อมของหัวรถบรรทุกลากจูงอยู่ในสภาพที่พร้อมตามขั้นตอน อย่างถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือการปฏิบัติงาน 207032.01 104652
207032 ปฏิบัติการแยกรถบรรทุกลากจูง 2. แยกหัวรถบรรทุกลากจูง ได้อย่างถูกต้องตามมาตรฐานที่ระบุไว้ในคู่มือการปฏิบัติงาน 207032.02 104653

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่ระบุ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ปฏิบัติการต่อหัวรถบรรทุกลากจูง

  1.1 สามารถตรวจสอบความพร้อมของหัวรถบรรทุกลากจูง อยู่ในสภาพที่พร้อมตามขั้นตอน อย่างถูกต้อง ครบถ้วนตามมาตรฐานที่ระบุไว้ในคู่มือ

  1.2 สามารถปฏิบัติการต่อหัวรถบรรทุกลากจูง ได้อย่างถูกต้องตามมาตรฐานที่ระบุไว้ในคู่มือ

2. ปฏิบัติการแยกรถบรรทุกลากจูง

  2.1 สามารถตรวจสอบความพร้อมของหัวรถบรรทุกลากจูงอยู่ในสภาพที่พร้อมตามขั้นตอน อย่างถูกต้อง ครบถ้วนตามมาตรฐานที่ระบุไว้ในคู่มือ

  2.2 สามารถปฏิบัติการแยกหัวรถบรรทุกลากจูง ได้อย่างถูกต้องตามมาตรฐานที่ระบุไว้ในคู่มือ



(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. การตรวจสภาพรถบรรทุกลากจูง พ่วง กึ่งพ่วง

2. การเตรียมความพร้อมก่อนขับขี่รถบรรทุกลากจูง พ่วง กึ่งพ่วง

3. การจัดการขนส่งสินค้าทางถนน

4. หลักการปฏิบัติการขนส่งสินค้าทางถนน



14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

   หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

   1. เอกสารรับรองการปฏิบัติงานหรือผลการประเมินการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

   2. เอกสารการประเมินตามหน่วยสมรรถนะครอบคลุมคุณวุฒิวิชาชีพ

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

   1. เอกสารรับรองการผ่านการอบรมที่เกี่ยวข้องกับการขับรถบรรทุกลากจูงขนส่งสินค้าทางถนน

   2. เอกสารรับรองการผ่านการสอบข้อเขียนหรือผลการทดสอบความรู้

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

    ประเมินเกี่ยวกับการควบคุมรถบรรทุกลากจูงสำหรับการขนส่งสินค้าทางถนน โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

   1. พิจารณาหลักฐานความรู้

   2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน



15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

   ปฏิบัติการต่อหัวรถบรรทุกลากจูงพ่วง กึ่งพ่วง และปฏิบัติการแยกรถบรรทุกลากจูงพ่วง กึ่งพ่วง

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

   1. ปฏิบัติการต่อหัวรถบรรทุกลากจูงพ่วง กึ่งพ่วง จะต้องตรวจสอบความพร้อมของหัวรถบรรทุกลากจูง อยู่ในสภาพที่พร้อมตามขั้นตอนตามมาตรฐานที่ระบุไว้ในคู่มือ และปฏิบัติการต่อหัวรถบรรทุกลากจูงตามมาตรฐานที่ระบุไว้ในคู่มือ

   2. ปฏิบัติการแยกรถบรรทุกลากจูงพ่วง กึ่งพ่วง จะต้องตรวจสอบความพร้อมของหัวรถบรรทุกลากจูงอยู่ในสภาพที่พร้อมตามขั้นตอนครบถ้วนตามมาตรฐานที่ระบุไว้ในคู่มือ และปฏิบัติการแยกหัวรถบรรทุกลากจูงตามมาตรฐานที่ระบุไว้ในคู่มือ

   3. รถบรรทุกลากจูง หมายถึง รถบรรทุกพ่วง และรถบรรทุกกึ่งพ่วง ซึ่งเป็นรถบรรทุกที่มีลักษณะพ่วงกับลูกพ่วงตั้งแต่ 2 ตอนขึ้นไป หรือมีลักษณะพ่วงตู้คอนเทนเนอร์ 

 



16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. เครื่องมือการประเมิน

  1. แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก 

  2. แบบประเมินจากการสาธิตการปฏิบัติงาน

    ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

2. เครื่องมือการประเมิน

  1. แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก 

  2. แบบประเมินจากการสาธิตการปฏิบัติงาน

     ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

 




ยินดีต้อนรับ