หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

มีความรู้และความเข้าใจด้านแนวคิด ทฤษฎี หลักการด้านผังเมือง และกระบวนการวางแผนและผัง รวมถึงกรณีศึกษาด้านการพัฒนาเมืองระดับโลก

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมก่อสร้างและการผังเมือง


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ CIP-TPN-7-014ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ มีความรู้และความเข้าใจด้านแนวคิด ทฤษฎี หลักการด้านผังเมือง และกระบวนการวางแผนและผัง รวมถึงกรณีศึกษาด้านการพัฒนาเมืองระดับโลก

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


ISCO 2164 นักวางผังเมืองและระบบการจราจร



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ ระบุถึงอาชีพนักผังเมืองซึ่งจำเป็นต้องมีความรู้และความเข้าใจสาระสำคัญและองค์ประกอบของแนวคิด ทฤษฎีและหลักการสากลด้านการวางแผนและจัดทำผังทุกระดับ มีความรู้และความเข้าใจกระบวนการวางแผนและจัดทำผังทุกระดับตามหลักการสากล มีความรู้และความเข้าใจเจตนารมณ์และแนวความคิดทางด้านกฎหมายผังเมือง ขอบเขต และแนวทางการใช้บังคับโดยตัวบทกฎหมายและโดยดุลยพินิจ ชนิดและรูปแบบของมาตรการควบคุมทางผังเมือง การใช้บังคับกฎหมาย และข้อบังคับทางผังเมือง และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในประเทศไทย มีความรอบรู้เกี่ยวกับกรณีศึกษาด้านการพัฒนาเมืองในระดับโลกเพื่อนำมาประยุกต์ใช้เป็นแนวทางการวางแผนและจัดทำผังทุกระดับ และมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการตั้งถิ่นฐานและระบบชุมชน สามารถกำหนดบทบาท ลำดับศักย์และความเชื่อมโยงของเมืองในภูมิภาค

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อาชีพนักผังเมือง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
10.1) ข้อกำหนดตามคู่มือเกณฑ์มาตรฐานผังเมืองรวม พ.ศ.2549 ของกรมโยธาธิการ และผังเมือง10.2) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับในอดีตถึงปัจจุบัน 10.3) พระราชบัญญัติการผังเมือง ฉบับปัจจุบัน

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01104.01 มีความรู้และความเข้าใจสาระสำคัญและองค์ประกอบของแนวคิด ทฤษฎีและหลักการสากลด้านการวางแผนและจัดทำผังทุกระดับ 1) เข้าใจสาระสำคัญและองค์ประกอบของแนวคิดทฤษฎีและหลักการสากลในด้านการพัฒนาภาคและเมือง 01104.01.01 143331
2) เข้าใจสาระสำคัญและองค์ประกอบหลักในการพัฒนาภาคและเมืองประเภทต่างๆ 01104.01.02 143332
3) ประยุกต์แนวคิด ทฤษฎีและหลักการที่เหมาะสมกับบทบาท ศักยภาพและทิศทางการพัฒนาพื้นที่ 01104.01.03 143333
4) ประยุกต์ใช้เกณฑ์และมาตรฐานผังเมืองรวมอย่างเหมาะสมกับบริบทการพัฒนาพื้นที่ 01104.01.04 143334
01104.02 มีความรู้และความเข้าใจกระบวนการวางแผนและจัดทำผังทุกระดับตามหลักการสากล 1) กำหนดวิสัยทัศน์วัตถุประสงค์และเป้าหมายในการพัฒนาพื้นที่ได้อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับแนวนโยบายแห่งรัฐยุทธศาสตร์ชาติ รวมถึงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 01104.02.01 143335
2) วางและจัดทำผังทางเลือกที่สะท้อนวัตถุประสงค์และเป้าหมายในการพัฒนาภายใต้แนวคิดที่แตกต่างกัน 01104.02.02 143336
3) วางและจัดทำผังแนวคิด (conceptual plan) ที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์พร้อมกำหนดองค์ประกอบในการพัฒนาที่ถูกต้องตามแนวคิด ทฤษฎีและหลักการสากล 01104.02.03 143337
4) วางและจัดทำผังเมืองในแต่ละระดับให้สอดคล้องกัน 01104.02.04 143338
5) กำหนดรูปแบบกระบวนการมีส่วนร่วม และจัดประชุมการรับฟังความคิดเห็นตามขั้นตอนการปฏิบัติงานและขั้นตอนตามกฎหมายในการวางและจัดทำผัง 01104.02.05 143339
01104.03 มีความรู้และความเข้าใจเจตนารมณ์และแนวความคิดทางด้านกฎหมายผังเมือง ขอบเขต และแนวทางการใช้บังคับโดยตัวบทกฎหมายและโดยดุลยพินิจ ชนิดและรูปแบบของมาตรการควบคุมทางผังเมือง การใช้บังคับกฎหมาย และข้อบังคับทางผังเมือง และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในประเทศไทย 1) เข้าใจเจตนารมณ์และแนวความคิดทางด้านกฎหมายผังเมืองของประเทศไทยและสากล 01104.03.01 143340
2) เข้าใจสาระสำคัญของ พรบ การผังเมือง ฉบับปัจจุบัน 01104.03.02 143341
3) จัดทำแผนผังและรายการประกอบแผนผังตามความจำเป็นในแต่ละระดับ 01104.03.03 143342
4) จัดทำแผนผังการใช้ประโยชน์ที่ดินและข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินที่จะให้ปฏิบัติหรือไม่ให้ปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของผังเมืองรวมและแผนผังรายสาขาทุกประการ 01104.03.04 143343
5) กำหนดนโยบาย มาตรการ และวิธีดำเนินการเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของผังเมืองรวม 01104.03.05 143344
01104.04 มีความรอบรู้เกี่ยวกับกรณีศึกษาด้านการพัฒนาเมืองในระดับโลกเพื่อนำมาประยุกต์ใช้เป็นแนวทางการวางแผนและจัดทำผังทุกระดับ 1) คัดเลือกภาคและเมืองกรณีศึกษาที่มีความเหมาะสมกับพื้นที่ได้อย่างเหมาะสม 01104.04.01 143345
2) เข้าใจองค์ประกอบและเงื่อนไขในการประสบความสำเร็จของภาคและเมืองกรณีศึกษาเป็นอย่างดี 01104.04.02 143346
01104.05 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการตั้งถิ่นฐานและระบบชุมชน สามารถกำหนดบทบาท ลำดับศักย์และความเชื่อมโยงของเมืองในภูมิภาค 1) เข้าใจพัฒนาการและรูปแบบการตั้งถิ่นฐานของเมืองแต่ละประเภท 01104.05.01 143347
2) วิเคราะห์การเติบโต ปัจจัยที่มีผลต่อการขยายตัว แนวโน้มและทิศทางการพัฒนาภาคและเมืองได้อย่างถูกต้อง 01104.05.02 143348
3) วิเคราะห์บทบาทและศักยภาพของภาคและเมืองภายใต้แนวนโยบายแห่งรัฐยุทธศาสตร์ชาติ รวมถึงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 01104.05.03 143349
4) กำหนดบทบาท ลำดับศักย์ และความสัมพันธ์ของระบบเมืองในภูมิภาค เพื่อจัดทำแผนผังการตั้งถิ่นฐานและระบบชุมชนได้อย่างเหมาะสม 01104.05.04 143350

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)


ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประเทศ ภาคและเมือง


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


ขั้นตอนและวิธีการดำเนินการวางและจัดทำผังเมืองรวมเพื่อประกาศกฎกระทรวงใช้บังคับต่อไป

(ข) ความต้องการด้านความรู้


1. แนวคิด ทฤษฎี หลักการด้านผังเมือง




2. กระบวนการวางแผนและผัง




3. กรณีศึกษาด้านการพัฒนาเมืองระดับโลก




4. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการวางและจัดทำผังทุกระดับ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


ผลสอบข้อเขียน


15. ขอบเขต (Range Statement)


หน่วยสมรรถนะนี้เป็นการประเมินความรู้พื้นฐานด้านการผังเมืองสำหรับนักผังเมือง




1. การผังเมือง กำหนดนิยามตามพระราชบัญญัติการผังเมือง ฉบับปัจจุบัน มาตรา 4 ในพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 กำหนดให้ “การผังเมือง” หมายความว่า การวาง จัดทำ และการดำเนินการให้เป็นไปตามผังเมืองในระดับต่าง ๆ สำหรับเป็นกรอบชี้นำการพัฒนาทางด้านกายภาพในระดับประเทศ ระดับภาค ระดับจังหวัด ระดับเมือง ระดับชนบท และพื้นที่เฉพาะควบคู่กับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อการพัฒนาเมือง บริเวณที่เกี่ยวข้อง หรือชนบทให้มีหรือทำให้ดียิ่งขึ้นซึ่งสุขลักษณะ ความสะดวกสบาย ความเป็นระเบียบ ความสวยงาม การใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน การคมนาคมและการขนส่ง ความปลอดภัยของประชาชน สวัสดิภาพของสังคม การป้องกันภัยพิบัติ และการป้องกันความขัดแย้งในการใช้ประโยชน์ที่ดิน เพื่อส่งเสริมการเศรษฐกิจ สังคม และสภาพแวดล้อม เพื่อดำรงรักษาหรือบูรณะสถานที่และวัตถุที่มีประโยชน์หรือคุณค่าในทางศิลปกรรม สถาปัตยกรรม ประวัติศาสตร์หรือโบราณคดี หรือบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภูมิประเทศที่งดงามหรือมีคุณค่าในทางธรรมชาติ




2. การวางแผนและจัดทำผังทุกระดับ กำหนดประเภทผังตามพระราชบัญญัติการผังเมือง ฉบับปัจจุบัน มาตรา 8 ในพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 กำหนดให้ผังเมือง ประกอบด้วย




(1) ผังนโยบายการใช้ประโยชน์พื้นที่ แบ่งเป็นสามประเภท ดังต่อไปนี้




(ก) ผังนโยบายระดับประเทศ




(ข) ผังนโยบายระดับภาค




(ค) ผังนโยบายระดับจังหวัด




(2) ผังกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดิน แบ่งเป็นสองประเภท ดังต่อไปนี้




(ก) ผังเมืองรวม




(ข) ผังเมืองเฉพาะ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


• ผลสอบข้อเขียน