หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

มีทักษะในการศึกษา วิเคราะห์และบูรณาการข้อมูลเพื่อการวางแผนและผัง

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมก่อสร้างและการผังเมือง


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ CIP-TPN-7-012ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ มีทักษะในการศึกษา วิเคราะห์และบูรณาการข้อมูลเพื่อการวางแผนและผัง

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


ISCO 2164 นักวางผังเมืองและระบบการจราจร



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ ระบุถึงอาชีพนักผังเมืองซึ่งจำเป็นต้องมีความสามารถในการสืบค้นและจัดทำข้อมูลรายสาขาสำหรับการวางแผนและจัดทำผังทุกระดับ การวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพสำหรับการวางแผนและจัดทำผังทุกระดับ และการบูรณาการข้อมูลทุติยภูมิเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพเพื่อการวิเคราะห์ศักยภาพ ปัญหา และข้อจำกัดของพื้นที่สำหรับการวางแผนและจัดทำผังทุกระดับ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อาชีพนักผังเมือง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
10.1) ข้อกำหนดของซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้อง เช่น Excel , Photoshop , GIS , AUTOCAT10.2) ข้อกำหนดตามคู่มือเกณฑ์มาตรฐานผังเมืองรวม พ.ศ.2549 ของกรมโยธาธิการ และผังเมือง 10.3) ข้อกำหนดการจัดทำข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS)

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01102.01 สืบค้นและจัดทำข้อมูลรายสาขาสำหรับการวางแผนและจัดทำผังทุกระดับ 1) วางแผนการสำรวจและจัดเก็บข้อมูลปฐมภูมิรายสาขาที่จำเป็นสำหรับการวางผังในแต่ละระดับได้อย่างเป็นขั้นตอน 01102.01.01 143317
01102.01 สืบค้นและจัดทำข้อมูลรายสาขาสำหรับการวางแผนและจัดทำผังทุกระดับ 2) ทราบที่มาและสามารถสืบค้นแหล่งข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิที่เชื่อถือได้รายสาขาที่จำเป็นสำหรับการวางผังในแต่ละระดับ 01102.01.02 143318
01102.01 สืบค้นและจัดทำข้อมูลรายสาขาสำหรับการวางแผนและจัดทำผังทุกระดับ 3) จัดเก็บข้อมูลในรูปแบบที่เหมาะในการนำไปใช้การวางและจัดทำผังแต่ละระดับ 01102.01.03 143319
01102.02 วิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพสำหรับการวางแผนและจัดทำผังทุกระดับ 1) วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงแนวโน้มและการเติบโตของข้อมูลรายสาขาที่จำเป็นสำหรับการวางผังในแต่ละระดับ 01102.02.01 143320
01102.02 วิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพสำหรับการวางแผนและจัดทำผังทุกระดับ 2) แปรผลหรือตีความข้อมูลสถิติตัวเลขรายสาขาเป็นข้อมูลเชิงคุณภาพที่จำเป็นสำหรับการวางและจัดทำผังในแต่ละระดับ 01102.02.02 143321
01102.02 วิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพสำหรับการวางแผนและจัดทำผังทุกระดับ 3) เลือกใช้ข้อมูลเพื่อคาดการณ์การเติบโตของประชากรและเศรษฐกิจในอนาคตได้อย่างถูกต้องเหมาะสม 01102.02.03 143322
01102.02 วิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพสำหรับการวางแผนและจัดทำผังทุกระดับ 4) คาดการณ์ความต้องการด้านการใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภทตามเกณฑ์มาตรฐานความหนาแน่นประชากรให้สอดคล้องกับเป้าหมายในการพัฒนาพื้นที่ 01102.02.04 143323
01102.03 บูรณาการข้อมูลทุติยภูมิเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพเพื่อการวิเคราะห์ศักยภาพ ปัญหา และข้อจำกัดของพื้นที่สำหรับการวางแผนและจัดทำผังทุกระดับ 1) บูรณาการข้อมูลเพื่อวิเคราะห์ศักยภาพปัญหา และข้อจำกัดของพื้นที่สำหรับการวางแผนและจัดทำผังทุกระดับ 01102.03.01 143324
01102.03 บูรณาการข้อมูลทุติยภูมิเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพเพื่อการวิเคราะห์ศักยภาพ ปัญหา และข้อจำกัดของพื้นที่สำหรับการวางแผนและจัดทำผังทุกระดับ 2) บูรณาการข้อมูลเพื่อวิเคราะห์ปัญหาและข้อจำกัดของพื้นที่สำหรับการวางแผนและจัดทำผังทุกระดับ 01102.03.02 143325

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)


ความรู้ด้านสถิติ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


1) โปรแกรมด้านสถิติ เช่น Excel, SPSS




2) โปรแกรมสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS)

(ข) ความต้องการด้านความรู้


ประเภทและเทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลด้านกายภาพ เศรษฐกิจ สังคมและประชากร


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


ผลสอบข้อเขียน


15. ขอบเขต (Range Statement)


หน่วยสมรรถนะนี้เป็นการประเมินทักษะด้านการจัดทำข้อมูลรายสาขาสำหรับการวางแผนและจัดทำผังทุกระดับ ข้อมูลรายสาขา ประกอบด้วย




1. ด้านกายภาพ




2. ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม




3. ด้านประชากรและแรงงาน




4. ด้านการบริการสังคม




5. ด้านระบบเมืองและการตั้งถิ่นฐานของชุมชน




6. ด้านเศรษฐกิจ




7. ด้านเกษตรกรรม




8. ด้านอุตสาหกรรม




9. ด้านการท่องเที่ยว




10. ด้านการใช้ประโยชน์ที่ดิน




11. ด้านการคมนาคมและขนส่งและโลจิสติกส์




12. ด้านโครงสร้างพื้นฐาน




13. ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ




14. ด้านพื้นที่เสี่ยงภัยจากธรรมชาติที่มนุษย์สร้างขึ้น




ขอบเขตของคำว่าทักษะด้านการจัดทำข้อมูล มีดังนี้




1. ความสามารถในการสืบค้นและรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากหน่วยงานต่างๆ สำหรับการวางแผนและจัดทำผังทุกระดับ




2. ความสามารถในการจัดเก็บข้อมูลปฐมภูมิสำหรับการวางแผนและจัดทำผังทุกระดับ




3. ความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลรายสาขาสำหรับการวางแผนและจัดทำผังทุกระดับ




4. ความสามารถในการบูรณาการข้อมูลรายสาขาสำหรับการวางแผนและจัดทำผังทุกระดับ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


• ผลการสอบข้อเขียน



 


ยินดีต้อนรับ