หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฏิบัติงานอย่างปลอดภัยในงานก่อสร้างทั่วไป

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมก่อสร้างและการผังเมือง


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ CIP-CBD-4-081ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฏิบัติงานอย่างปลอดภัยในงานก่อสร้างทั่วไป

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ช่างก่อสร้าง



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะต้องตระหนักรู้ถึงกฎหมาย ข้อกำหนดด้านอาชีวอนามัย และความปลอดภัย และหลักการพื้นฐานในการจัดการความเสี่ยงและป้องกันการบาดเจ็บและความเจ็บป่วยในงานก่อสร้าง


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

อุตสาหกรรมก่อสร้าง


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

N/A


10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

1. พระราชบัญญัติ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน 2554



2. ประกาศกระทรวงแรงงาน และสวัสดิการสังคม เรื่องความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง


11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
001111 ระบุกฎหมาย และข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการทำงาน 1.1 สามารถประยุกต์ใช้ข้อกฎหมาย และข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของตน สามารถระบุและอธิบายบทบาทและความรับผิดชอบได้ 001111.01 116763
001111 ระบุกฎหมาย และข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการทำงาน 1.2 สามารถระบุสิทธิและหน้าที่ในการดูแลความปลอดภัยตามข้อกำหนด 001111.02 116764
001111 ระบุกฎหมาย และข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการทำงาน 1.3 สามารถระบุ และอธิบายความรับผิดชอบของตนให้สอดคล้องกับความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน 001111.03 116765
001112 ระบุอันตรายในการก่อสร้างและมาตรการในการควบคุม 2.1 สามารถระบุหลักการพื้นฐานในการบริหารความเสี่ยง 001112.01 116766
001112 ระบุอันตรายในการก่อสร้างและมาตรการในการควบคุม 2.2 สามารถระบุ และอธิบายอันตรายทั่วไปที่เกิดขึ้นในงานก่อสร้าง 001112.02 116767
001112 ระบุอันตรายในการก่อสร้างและมาตรการในการควบคุม 2.3 สามารถระบุมาตรการในการควบคุมความเสี่ยง 001112.03 116768
001113 ระบุกระบวนการในการสื่อสารและการจัดทำรายงานอาชีวอนามัย และความปลอดภัยในการทำงาน 3.1 สามารถระบุ และอธิบาย กระบวนการสื่อสาร การให้ข้อมูลสารสนเทศและจัดทำเอกสารด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย 001113.01 116769
001113 ระบุกระบวนการในการสื่อสารและการจัดทำรายงานอาชีวอนามัย และความปลอดภัยในการทำงาน 3.2 สามารถระบุและอธิบายบทบาทของตนในด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย 001113.02 116770
001113 ระบุกระบวนการในการสื่อสารและการจัดทำรายงานอาชีวอนามัย และความปลอดภัยในการทำงาน 3.3 สามารถระบุและอธิบายสัญญาณและสัญลักษณ์ความปลอดภัย 001113.03 116771
001114 ระบุวิธีการในการตอบสนองต่อความปลอดภัยในการทำงาน 4.1 สามารถระบุและอธิบายข้อกำหนดสำหรับการเลือกและใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล 001114.01 116772
001114 ระบุวิธีการในการตอบสนองต่อความปลอดภัยในการทำงาน 4.2 สามารถระบุและอธิบายการใช้อุปกรณ์ป้องกันไฟ 001114.02 116773

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ความต้องการด้านทักษะ



ทักษะด้านการสื่อสาร



- ชี้แจงข้อกำหนดทางกฎหมายด้านความปลอดภัยในการทำงาน



- รายงานอันตรายและความเสี่ยงภัยในงานก่อสร้างด้วยวาจา



- ถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารให้กับผู้อื่น



- อธิบายและให้ข้อมูลด้านความปลอดภัยในการทำงาน



ทักษะด้านความเข้าใจ



- อธิบายข้อกำหนดทางกฎหมายพื้นฐานด้านความปลอดภัยที่สามารถนำมาใช้ในงานของตน



- อธิบายความหมายของสัญญาณและสัญลักษณ์ความปลอดภัย



- ระบุอันตรายทั่วไปในงานก่อสร้าง

(ข) ความต้องการด้านความรู้

- การบังคับใช้กฎหมาย ระเบียบ มาตรฐาน ข้อกำหนดของการปฏิบัติงาน และแนวทางการปฏิบัติในงานก่อสร้างที่เกี่ยวข้องกับงานของตน



- อันตรายทั่วไปที่เกิดขึ้นในงานก่อสร้าง



- สัญญาณและสัญลักษณ์ทั่วไปเกี่ยวกับความปลอดภัยและความหมาย



- ขั้นตอนทั่วไปในการปฏิบัติตนในสถานการณ์ฉุกเฉิน



- ข้อกำหนดทั่วไปในการช่วยเหลือเบื้องต้น



- ขั้นตอนการรายงานถึงอันตราย อุบัติเหตุ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น สถานการณ์ฉุกเฉิน การบาดเจ็บ เหตุการณ์ที่จะก่อให้เกิดความผิดพลาดและอันตราย



- ค่าชดเชย และข้อกำหนดการจัดการเกี่ยวกับการบาดเจ็บของคนงานทั่วไป



- ความรับผิดชอบและสิทธิด้านชีวอนามัย และความปลอดภัยของผู้ที่มีหน้าที่ ได้แก่ ผู้ควบคุมงานก่อสร้าง นายจ้าง หัวหน้างาน ลูกจ้าง ผู้ออกแบบ ผู้ตรวจสอบ ผู้ผลิต และผู้จำหน่าย 



- ความรับผิดชอบของตนที่สอดคล้องกับความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน ได้แก่ การทำความสะอาด การระบุถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ การป้องกันการข่มขู่หรือล่วงละเมิด การสูบบุหรี่ การใช้สิ่งอำนวยความสะดวก และการใช้ยา และแอลกอฮอล์



- ประเภทของอุปกรณ์ป้องกันตัว และอุปกรณ์ป้องกันเพลิงไหม้



- ประเภทของข่าวสารข้อมูล และเอกสารด้านอาชีวอนามัย 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



- แบบทดสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้



หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  • ผลการสอบข้อเขียน จากแบบทดสอบความรู้



คำแนะนำในการประเมิน




  • ผู้ประเมินตรวจประเมิน โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้



 วิธีการประเมิน



- ทดสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

อธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อความปลอดภัยในการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง




  • คำแนะนำ



ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อกำหนดของสถานประกอบการต่างๆ อาทิ ข้อกำหนดด้านความปลอดภัย ข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงขอกำหนดและกฎระเบียบของสถานประกอบการของผู้ได้รับการประเมิน




  • คำอธิบายรายละเอียด



1. ข้อปฏิบัติด้านความปลอดภัย ประกอบด้วย ความปลอดภัยส่วนบุคคลและความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน เช่น การแต่งกาย การสวมใส่อุปกรณ์ป้องกัน



2. ข้อปฏิบัติในสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น กรณีไฟไหม้ กรณีอุบัติเหตุในสถานที่ทำงาน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)

N/A


17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)

N/A


18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. เครื่องมือประเมิน ระบุกฎหมาย และข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการทำงาน



แบบทดสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้



(ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน)



2. เครื่องมือประเมิน ระบุอันตรายในการก่อสร้างและมาตรการในการควบคุม



แบบทดสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้



(ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน)



3. เครื่องมือประเมินขบวนการในการสื่อสารและการจัดทำรายงานอาชีวอนามัย และความปลอดภัยในการทำงาน



แบบทดสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้



(ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน)



4. เครื่องมือประเมินระบุวิธีการในการตอบสนองต่อความปลอดภัยในการทำงาน



แบบทดสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้



(ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน)



ยินดีต้อนรับ