หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ตรวจสภาพพื้นที่และพื้นที่การกองเก็บวัสดุให้เหมาะสม

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมก่อสร้างและการผังเมือง


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ CIP-CBD-3-031ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ตรวจสภาพพื้นที่และพื้นที่การกองเก็บวัสดุให้เหมาะสม

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ช่างปูบาทวิถี (Pavement)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้จะเกี่ยวข้องกับการตรวจสภาพพื้นที่ก่อนการติดตั้ง และตรวจพื้นที่การกองเก็บวัสดุให้เหมาะสมหน่วยสมรรถนะนี้เหมาะกับผู้เข้ารับการประเมินที่มีทักษะฝีมือสามารถแก้ปัญหาพื้นฐาน โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎี เครื่องมือและข้อมูลพื้นฐานภายใต้การควบคุมแนะแนวของผู้มีตำแหน่งงานที่สูงกว่า

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมก่อสร้าง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
40331 ตรวจสภาพพื้นที่ก่อนการติดตั้ง 1.1 สามารถตรวจสภาพพื้นที่ได้ถูกต้องตามลักษณะของการปูพื้นบาทวิถีก่อนการติดตั้ง 40331.01 143145
40331 ตรวจสภาพพื้นที่ก่อนการติดตั้ง 1.2 สามารถกำหนดความลาดเอียงของระดับพื้นบริเวณพื้นที่จะปูบาทวิถีได้ถูกต้อง 40331.02 143146
40331 ตรวจสภาพพื้นที่ก่อนการติดตั้ง 1.3 สามารถกำหนดจุดเริ่มต้นการปูบาทวิถีได้ถูกต้องตามแบบที่กำหนด 40331.03 143147
40331 ตรวจสภาพพื้นที่ก่อนการติดตั้ง 1.4 สามารถตรวจงานที่ดำเนินการก่อนหลังหรือต่อเนื่องกับงานปูบาทวิถีได้ 40331.04 143148
40332 ตรวจพื้นที่การกองเก็บวัสดุให้เหมาะสม 2.1 ตรวจพื้นที่การกองเก็บวัสดุให้เหมาะสมกับชนิดของวัสดุที่ใช้ปูบาทวิถี 40332.01 143149
40332 ตรวจพื้นที่การกองเก็บวัสดุให้เหมาะสม 2.2 รู้จักคุณสมบัติของวัสดุเพื่อกำหนดการกองเก็บที่เหมาะสม 40332.02 143150

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

(ก) ความรู้ก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Knowledge)



1. สามารถอ่านเขียนภาษาไทยได้



2. มีความรู้เรื่องการปูบาทวิถีและปูกระเบื้องคอนกรีต



 (ข) ทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill)



1. ปูบาทวิถี และส่วนประกอบบนพื้นทรายหรือปูนทราย



2. การเคลือบผิววัสดุปูตามมาตรฐานของผู้ผลิต


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. รู้จักการเตรียมสภาพผิวของพื้นที่ได้ถูกต้องตามลักษณะของการปูบาทวิถีก่อนการติดตั้ง



 2. สามารถกำหนดค่าความลาดเอียงของระดับพื้นบริเวณพื้นที่ที่จะปูบาทวิถีได้ถูกต้อง



3. สามารถกำหนดจุดเริ่มต้นการปูพื้นบาทวิถีได้ถูกต้องตามแบบที่กำหนด



 4. สามารถตรวจงานที่ดำเนินการก่อน-หลังหรือต่อเนื่องกับงานปูบาทวิถีได้

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1 รู้จักสภาพพื้นที่ก่อนการติดตั้งที่เหมาะสมกับชนิดของวัสดุปูบาทวิถี



2. รู้จักคุณสมบัติของวัสดุปูบาทวิถีเพื่อกำหนดพื้นที่กองเก็บวัสดุให้เหมาะสม


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)  หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



-



(ข)  หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



- ทดสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้



- แบบสัมภาษณ์



 (ค)  คำแนะนำในการประเมิน



การประเมินหลักฐานด้านทักษะและความรู้ ผู้ประเมินจะต้องมีประสบการณ์ด้านหน่วยสมรรถนะนี้อย่างน้อย 1 ปีขึ้นไป มีประสบการณ์ในการปูบาทวิถี



วิธีการประเมิน



1. ทดสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้



2. แบบสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการตรวจสภาพพื้นที่ก่อนการติดตั้ง และตรวจพื้นที่การกองเก็บวัสดุให้เหมาะสม



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



คุณสมบัติของวัสดุ หมายถึง คุณสมบัติของวัสดุปูบาทวิถี หรือกระเบื้องคอนกรีต


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. เครื่องมือประเมินการตรวจสภาพพื้นที่ก่อนการติดตั้ง



1. ทดสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ และ



   2. แบบสัมภาษณ์



(ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน)



2. เครื่องมือประเมินการตรวจพื้นที่การกองเก็บวัสดุให้เหมาะสม



1. ทดสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ และ



   2. แบบสัมภาษณ์



(ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน)



 



ยินดีต้อนรับ