หน่วยสมรรถนะ
ปฏิบัติงานอย่างปลอดภัยในงานก่อสร้างทั่วไป
สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมก่อสร้างและการผังเมือง
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | CIP-CBD-4-013ZB |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | ปฏิบัติงานอย่างปลอดภัยในงานก่อสร้างทั่วไป |
3. ทบทวนครั้งที่ | - / - |
4. สร้างใหม่ | ปรับปรุง |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
ช่างก่อสร้าง |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะต้องตระหนักรู้ถึงกฎหมาย ข้อกำหนดด้านอาชีวอนามัย และความปลอดภัย และหลักการพื้นฐานในการจัดการความเสี่ยงและป้องกันการบาดเจ็บและความเจ็บป่วยในงานก่อสร้าง |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
อุตสาหกรรมก่อสร้าง |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
N/A |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
1. พระราชบัญญัติ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน 25542. ประกาศกระทรวงแรงงาน และสวัสดิการสังคม เรื่องความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) | รหัส PC (ตามเล่มมาตรฐาน) |
รหัส PC (จากระบบ) |
---|---|---|---|
001111 ระบุกฎหมาย และข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการทำงาน | 1.1 สามารถประยุกต์ใช้ข้อกฎหมาย และข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของตน สามารถระบุและอธิบายบทบาทและความรับผิดชอบได้ | 001111.01 | 116763 |
001111 ระบุกฎหมาย และข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการทำงาน | 1.2 สามารถระบุสิทธิและหน้าที่ในการดูแลความปลอดภัยตามข้อกำหนด | 001111.02 | 116764 |
001111 ระบุกฎหมาย และข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการทำงาน | 1.3 สามารถระบุ และอธิบายความรับผิดชอบของตนให้สอดคล้องกับความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน | 001111.03 | 116765 |
001112 ระบุอันตรายในการก่อสร้างและมาตรการในการควบคุม | 2.1 สามารถระบุหลักการพื้นฐานในการบริหารความเสี่ยง | 001112.01 | 116766 |
001112 ระบุอันตรายในการก่อสร้างและมาตรการในการควบคุม | 2.2 สามารถระบุ และอธิบายอันตรายทั่วไปที่เกิดขึ้นในงานก่อสร้าง | 001112.02 | 116767 |
001112 ระบุอันตรายในการก่อสร้างและมาตรการในการควบคุม | 2.3 สามารถระบุมาตรการในการควบคุมความเสี่ยง | 001112.03 | 116768 |
001113 ระบุกระบวนการในการสื่อสารและการจัดทำรายงานอาชีวอนามัย และความปลอดภัยในการทำงาน | 3.1 สามารถระบุ และอธิบาย กระบวนการสื่อสาร การให้ข้อมูลสารสนเทศและจัดทำเอกสารด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย | 001113.01 | 116769 |
001113 ระบุกระบวนการในการสื่อสารและการจัดทำรายงานอาชีวอนามัย และความปลอดภัยในการทำงาน | 3.2 สามารถระบุและอธิบายบทบาทของตนในด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย | 001113.02 | 116770 |
001113 ระบุกระบวนการในการสื่อสารและการจัดทำรายงานอาชีวอนามัย และความปลอดภัยในการทำงาน | 3.3 สามารถระบุและอธิบายสัญญาณและสัญลักษณ์ความปลอดภัย | 001113.03 | 116771 |
001114 ระบุวิธีการในการตอบสนองต่อความปลอดภัยในการทำงาน | 4.1 สามารถระบุและอธิบายข้อกำหนดสำหรับการเลือกและใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล | 001114.01 | 116772 |
001114 ระบุวิธีการในการตอบสนองต่อความปลอดภัยในการทำงาน | 4.2 สามารถระบุและอธิบายการใช้อุปกรณ์ป้องกันไฟ | 001114.02 | 116773 |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
N/A |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ ความต้องการด้านทักษะ ทักษะด้านการสื่อสาร - ชี้แจงข้อกำหนดทางกฎหมายด้านความปลอดภัยในการทำงาน - รายงานอันตรายและความเสี่ยงภัยในงานก่อสร้างด้วยวาจา - ถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารให้กับผู้อื่น - อธิบายและให้ข้อมูลด้านความปลอดภัยในการทำงาน ทักษะด้านความเข้าใจ - อธิบายข้อกำหนดทางกฎหมายพื้นฐานด้านความปลอดภัยที่สามารถนำมาใช้ในงานของตน - อธิบายความหมายของสัญญาณและสัญลักษณ์ความปลอดภัย - ระบุอันตรายทั่วไปในงานก่อสร้าง (ข) ความต้องการด้านความรู้ - การบังคับใช้กฎหมาย ระเบียบ มาตรฐาน ข้อกำหนดของการปฏิบัติงาน และแนวทางการปฏิบัติในงานก่อสร้างที่เกี่ยวข้องกับงานของตน - อันตรายทั่วไปที่เกิดขึ้นในงานก่อสร้าง - สัญญาณและสัญลักษณ์ทั่วไปเกี่ยวกับความปลอดภัยและความหมาย - ขั้นตอนทั่วไปในการปฏิบัติตนในสถานการณ์ฉุกเฉิน - ข้อกำหนดทั่วไปในการช่วยเหลือเบื้องต้น - ขั้นตอนการรายงานถึงอันตราย อุบัติเหตุ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น สถานการณ์ฉุกเฉิน การบาดเจ็บ เหตุการณ์ที่จะก่อให้เกิดความผิดพลาดและอันตราย - ค่าชดเชย และข้อกำหนดการจัดการเกี่ยวกับการบาดเจ็บของคนงานทั่วไป - ความรับผิดชอบและสิทธิด้านชีวอนามัย และความปลอดภัยของผู้ที่มีหน้าที่ ได้แก่ ผู้ควบคุมงานก่อสร้าง นายจ้าง หัวหน้างาน ลูกจ้าง ผู้ออกแบบ ผู้ตรวจสอบ ผู้ผลิต และผู้จำหน่าย - ความรับผิดชอบของตนที่สอดคล้องกับความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน ได้แก่ การทำความสะอาด การระบุถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ การป้องกันการข่มขู่หรือล่วงละเมิด การสูบบุหรี่ การใช้สิ่งอำนวยความสะดวก และการใช้ยา และแอลกอฮอล์ - ประเภทของอุปกรณ์ป้องกันตัว และอุปกรณ์ป้องกันเพลิงไหม้ - ประเภทของข่าวสารข้อมูล และเอกสารด้านอาชีวอนามัย |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) - แบบทดสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
คำแนะนำในการประเมิน
วิธีการประเมิน - ทดสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
อธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อความปลอดภัยในการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อกำหนดของสถานประกอบการต่างๆ อาทิ ข้อกำหนดด้านความปลอดภัย ข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงขอกำหนดและกฎระเบียบของสถานประกอบการของผู้ได้รับการประเมิน
1. ข้อปฏิบัติด้านความปลอดภัย ประกอบด้วย ความปลอดภัยส่วนบุคคลและความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน เช่น การแต่งกาย การสวมใส่อุปกรณ์ป้องกัน 2. ข้อปฏิบัติในสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น กรณีไฟไหม้ กรณีอุบัติเหตุในสถานที่ทำงาน |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
1. เครื่องมือประเมิน ระบุกฎหมาย และข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการทำงาน แบบทดสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ (ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน) 2. เครื่องมือประเมิน ระบุอันตรายในการก่อสร้างและมาตรการในการควบคุม แบบทดสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ (ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน) 3. เครื่องมือประเมินขบวนการในการสื่อสารและการจัดทำรายงานอาชีวอนามัย และความปลอดภัยในการทำงาน แบบทดสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ (ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน) 4. เครื่องมือประเมินระบุวิธีการในการตอบสนองต่อความปลอดภัยในการทำงาน แบบทดสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ (ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน) |