หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

แก้ปัญหาคุณภาพน้ำในระบบผลิต

สาขาวิชาชีพธุรกิจสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PUM-SRDQ-024A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ แก้ปัญหาคุณภาพน้ำในระบบผลิต

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

3122  หัวหน้าคุมงานด้านการผลิต



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้จะสามารถแก้ปัญหาคุณภาพน้ำ จากการวิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพน้ำในระบบผลิต เพื่อแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำให้ได้ตามมาตรฐานและวิธีการที่กำหนด

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
เจ้าหน้าที่ควบคุมคุณภาพน้ำ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
02307.01 หาสาเหตุของปัญหาคุณภาพน้ำในระบบผลิต 1. รวบรวมข้อมูลปัญหาคุณภาพน้ำในระบบผลิตได้อย่างครบถ้วนถูกต้อง 02307.01.01 152433
02307.01 หาสาเหตุของปัญหาคุณภาพน้ำในระบบผลิต 2. วิเคราะห์สาเหตุของปัญหาคุณภาพน้ำในระบบผลิตได้อย่างถูกต้อง 02307.01.02 152434
02307.01 หาสาเหตุของปัญหาคุณภาพน้ำในระบบผลิต 3. ระบุสาเหตุของปัญหาคุณภาพน้ำในระบบผลิตจากการวิเคราะห์ตามวิธีที่กำหนดได้อย่างถูกต้อง 02307.01.03 152435
02307.02 กำหนดวิธีการแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำในระบบผลิต 1. ระบุแนวทางวิธีการในการแก้ปัญหาคุณภาพน้ำในระบบผลิตได้อย่างถูกต้อง 02307.02.01 152436
02307.02 กำหนดวิธีการแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำในระบบผลิต 2. แนะนำแนวทางที่ถูกต้องในการแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำในระบบผลิตให้กับผู้ปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง 02307.02.02 152437
02307.02 กำหนดวิธีการแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำในระบบผลิต 3. ติดตามผลการแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำในระบบผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ 02307.02.03 152438
02307.03 เขียนรายงานผลการแก้ไขคุณภาพน้ำในระบบผลิต 1. บันทึกผลการแก้ไขคุณภาพน้ำในระบบผลิตได้อย่างละเอียดถูกต้อง 02307.03.01 152439
02307.03 เขียนรายงานผลการแก้ไขคุณภาพน้ำในระบบผลิต 2. บันทึกแนวทางในการแก้ไขปัญหาโดยใช้ข้อมูลจากรายงานผลการแก้ไขคุณภาพน้ำในระบบผลิตได้อย่างละเอียดถูกต้อง 02307.03.02 152440
02307.03 เขียนรายงานผลการแก้ไขคุณภาพน้ำในระบบผลิต 3. ตรวจทานการเขียนรายงานผลการแก้ไขคุณภาพน้ำในระบบผลิตได้อย่างถูกต้อง 02307.03.03 152441

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1) ทักษะการถวางแผนและทำการแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำ ได้ตามหลักการที่กำหนด

2) ทักษะการแนะนำ บันทึก/สรุปผลการแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำให้กับผู้ปฏิบัติงาน

3) ทักษะการคำนวณ/คาดการณ์

4) ทักษะการวิเคราะห์ การวางแผน และการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1) ความรู้เกี่ยวกับหลักการทำงานแต่ละขั้นตอนการวิเคราะห์คุณภาพน้ำประปา

2) ความรู้เกี่ยวกับหลักการทำงานแต่ละขั้นตอนของระบบผลิตน้ำประปา

3) ความรู้ หลักการในการแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำ

4) ความรู้เกี่ยวกับระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำ (Water Treatment)


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) อาทิ

    1) ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

    2) แบบบันทึกรายการจากการสังเกต

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) อาทิ

    1) ใบรับรองการเข้ารับการฝึกอบรม

    2) ใบรับรองการผ่านการประเมิน

    3) ใบประกาศนียบัตรวุฒิการศึกษา

(ค)  คำแนะนำในการประเมิน

    1) ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการแก้ปัญหาคุณภาพน้ำในระบบผลิต โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

        1) พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน 

    2) พิจารณาตามหลักฐานความรู้ 

    3) พิจารณาจากการข้อสอบข้อเขียน

    4) พิจารณาจากการสอบปฏิบัติ


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำอธิบายรายละเอียด

    1) การแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำในระบบผลิต หมายถึง การนำผลการตรวจสอบคุณภาพน้ำในระบบผลิต รวมทั้งปัญหาคุณภาพน้ำที่เกิดขึ้นในระบบผลิต มาคิดวิเคราะห์ เพื่อกำหนดแนวทางในการแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำในระบบผลิต โดยการคำนวณอัตราการจ่ายสารเคมีที่เหมาะสม ที่จะใช้ในการแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำในระบบผลิตให้มีคุณภาพตามที่กำหนด โดยใช้ระบบ หรือกระบวนการที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำ เป็นต้น เพื่อให้สามารถผลิตน้ำประปาที่มีคุณภาพตรงตามมาตรฐานและข้อกำหนด ซึ่งต้องมีการวางแผนการแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำในระบบผลิตและมอบหมายงานให้กับผู้ปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม โดยต้องมีการติดตามและตรวจสอบความคืบหน้าในการการแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำในระบบผลิต รวมทั้งจัดทำรายงานผลการการแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำในระบบผลิตด้วย เพื่อใช้ข้อมูลเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำในระบบผลิตต่อไป

    2) แนวทางในการแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำในระบบผลิต หมายถึง แนวทางในการใช้ระบบ หรือกระบวนการที่เหมาะสมในแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำในระบบผลิต เพื่อให้สามารถผลิตน้ำประปาที่มีคุณภาพตรงตามมาตรฐานและข้อกำหนด โดยถ้าน้ำในระบบผลิตนั้นมีคุณภาพไม่ได้มาตรฐาน จะต้องมีการแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำในระบบผลิต โดยพิจารณาจากปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบผลิต เช่น

        2.1)    สารสร้างตะกอนจ่ายไม่เพียงพอ โดยไม่สามารถทำปฏิกิริยากับน้ำดิบแยกสารแขวนลอยออกได้หมด ทำให้ขนาดของ Floc มีขนาดเล็ก แก้ไขโดยการปรับอัตราจ่ายสารสร้างตะกอนให้ได้ค่าที่เหมาะสมตามประมาณการจาก Jar Test

        2.2) คุณภาพน้ำดิบมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยมีความขุ่นสูงขึ้น ในขณะที่จ่ายสารสร้างตะกอนปริมาณปกติ ตามผลการทดลอง Jar Test แก้ไขโดยการเพิ่มอัตราการจ่ายสารสร้างตะกอนให้มากขึ้น

        2.3) ระดับของ Sludge สูงเกินไปซึ่งสามารถวัดได้ที่จุด Middle ทำให้ Sludge ลอยตัวขึ้นสู่ผิวน้ำได้ง่าย

เนื่องจากอัตราการ Drain ไม่เหมาะสม แก้ไขโดยการตั้งอัตราการ Drain ตะกอนให้เหมาะสมและ Drain ด้วยระบบ manual เพื่อให้ระดับชั้นของ Sludge ลดลงโดยเร็วจนระดับตะกอนถึงระดับ Bottom แล้วหยุด

    3) คู่มือการปฏิบัติงาน หมายถึง คู่มือที่ใช้ประกอบในการปฏิบัติงานในสถานประกอบการนั้นๆ โดยการปฏิบัติงานในที่นี้หมายถึงการปฏิบัติแก้ปัญหาคุณภาพน้ำในระบบผลิต ซึ่งคู่มือการปฏิบัติงาน ได้แก่ คู่มือกระบวนการหลักด้านกระบวนการผลิตน้ำประปา การประปาส่วนภูมิภาค ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2558 และคู่มือการควบคุมการผลิตน้ำประปาผิวดิน สำนักบริหารจัดการน้ำ กรมทรัพยากรน้ำ เป็นต้น

  4) ปฏิบัติตามข้อกำหนดมาตรฐานตามหน่วยงาน เช่น มาตรฐาน ISO 9001:2000 ด้านการผลิตน้ำประปาจาก สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ (สรอ.) มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมน้ำบริโภค มอก. 257-2549 มาตรฐานคุณภาพน้ำประปาของการประปานครหลวงและการประปาส่วนภูมิภาคตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก WHO หรือมาตรฐานผู้ผลิต เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

(ก) เครื่องมือประเมินการหาสาเหตุของปัญหาคุณภาพน้ำในระบบผลิต

    1) แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

    2) แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

    3) แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

    4) ผลข้อสอบข้อเขียน

(ข) เครื่องมือประเมินการกำหนดวิธีการแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำในระบบผลิต

    1) แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

    2) แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

    3) แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

    4) ผลข้อสอบข้อเขียน

(ค) เครื่องมือประเมินการเขียนรายงานผลการแก้ไขคุณภาพน้ำในระบบผลิต

    1) แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

    2) แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

    3) แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

    4) ผลข้อสอบข้อเขียน

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ