หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบ

สาขาวิชาชีพธุรกิจสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PUM-SYDW-023A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบ

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

3122  หัวหน้าคุมงานด้านการผลิต



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้จะสามารถปรับปรุงคุณภาพน้ำ จากการวิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพน้ำดิบ เพื่อปรับปรุงคุณภาพน้ำให้ได้ตามมาตรฐานและวิธีการที่กำหนด

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
เจ้าหน้าที่ควบคุมคุณภาพน้ำ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
02306.01 จัดทำแผนการปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบ 1. รวบรวมข้อมูลคุณภาพน้ำดิบได้อย่างครบถ้วนถูกต้อง 02306.01.01 152424
02306.01 จัดทำแผนการปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบ 2. วิเคราะห์และคำนวณหาปริมาณสารเคมีที่เหมาะสมที่จะใช้ในการปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบได้อย่างถูกต้องตามคู่มือการปฏิบัติงาน 02306.01.02 152425
02306.01 จัดทำแผนการปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบ 3. เขียนแผนการปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบได้อย่างละเอียดถูกต้อง 02306.01.03 152426
02306.02 ดำเนินการปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบ 1. มอบหมายงานให้กับผู้ปฏิบัติงานได้ได้อย่างละเอียดถูกต้อง 02306.02.01 152427
02306.02 ดำเนินการปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบ 2. ติดตามผลการปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบได้ตามแผนงานที่กำหนดได้อย่างมีประสิทธิภาพ 02306.02.02 152428
02306.02 ดำเนินการปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบ 3. ตรวจผลการปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบได้อย่างถูกต้อง 02306.02.03 152429
02306.03 เขียนรายงานผลการปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบ 1. บันทึกผลการปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบได้อย่างละเอียดถูกต้อง 02306.03.01 152430
02306.03 เขียนรายงานผลการปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบ 2. บันทึกแนวทางในการแก้ไขปัญหา โดยใช้ข้อมูลจากรายงานผลการปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบได้อย่างละเอียดถูกต้อง 02306.03.02 152431
02306.03 เขียนรายงานผลการปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบ 3. ตรวจทานการเขียนรายงานผลการปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบได้อย่างถูกต้อง 02306.03.03 152432

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.  ทักษะการวางแผนและทำการปรับปรุงคุณภาพน้ำ ได้ตามหลักการที่กำหนด

2.  ทักษะการบันทึก/สรุปผลการปรับปรุงคุณภาพน้ำ

3.  ทักษะการคำนวณ/คาดการณ์

5.  ทักษะการวิเคราะห์ การวางแผน และการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับหลักการทำงานแต่ละขั้นตอนการวิเคราะห์คุณภาพน้ำประปา

2. ความรู้เกี่ยวกับหลักการทำงานแต่ละขั้นตอนของระบบผลิตน้ำประปา

3. ความรู้ หลักการในการปรับปรุงคุณภาพน้ำ

4. ความรู้เกี่ยวกับระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำ (Water Treatment)


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) อาทิ

    1) ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

    2) แบบบันทึกรายการจากการสังเกต

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) อาทิ

    1) ใบรับรองการเข้ารับการฝึกอบรม

    2) ใบรับรองการผ่านการประเมิน

    3) ใบประกาศนียบัตรวุฒิการศึกษา

(ค)  คำแนะนำในการประเมิน

    1) ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการปรับปรุงคุณภาพน้ำ โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

    1) พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน 

    2) พิจารณาตามหลักฐานความรู้ 

    3) พิจารณาจากการข้อสอบข้อเขียน

    4) พิจารณาจากการสอบปฏิบัติ


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำอธิบายรายละเอียด

    1) การปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบ หมายถึง การนำผลการตรวจสอบคุณภาพน้ำดิบ รวมทั้งปัญหาคุณภาพน้ำดิบที่เกิดขึ้น มาคิดวิเคราะห์ เพื่อกำหนดแนวทางในการปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบ โดยการคำนวณอัตราการจ่ายสารเคมีที่เหมาะสม ที่จะใช้ในการปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบให้มีคุณภาพตามที่กำหนด โดยใช้ระบบ หรือกระบวนการที่เหมาะสมในการปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบ เพื่อให้น้ำดิบให้มีคุณภาพได้ตามมาตรฐานที่กำหนด และสามารถนำไปผลิตเป็นน้ำประปาได้อย่างมีคุณภาพตรงตามมาตรฐานและข้อกำหนด ซึ่งต้องมีการวางแผนการปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบ และมอบหมายงานให้กับผู้ปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม โดยต้องมีการติดตามและตรวจสอบความคืบหน้าในการปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบ รวมทั้งจัดทำรายงานผลการปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบด้วย เพื่อใช้ข้อมูลเป็นแนวทางในการปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบต่อไป

    2) แนวทางการปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบ หมายถึง แนวทางในการใช้ระบบ หรือกระบวนการที่เหมาะสมในการปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบ เพื่อให้น้ำดิบมีคุณภาพได้ตามมาตรฐานที่กำหนด และสามารถนำไปผลิตเป็นน้ำประปาน้ำได้อย่างมีคุณภาพตรงตามมาตรฐานและข้อกำหนด โดยถ้าแหล่งน้ำดิบนั้น ไม่ได้มาตรฐาน จะต้องมีการปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบเบื้องต้นก่อน โดยพิจารณาจากพารามิเตอร์ที่มีปัญหา เช่น

        2.1) แบคทีเรีย มีแนวทางในการปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบด้วยการเติมคลอรีนในช่วงต้น (Prechlorination) เพื่อฆ่าเชื้อโรค แบคทีเรียต่างๆ

        2.2) สาหร่าย มีแนวทางในการปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบด้วยการเติมคลอรีนในช่วงต้น (Prechlorination) เพื่อฆ่าสาหร่ายในเบื้องต้น

        2.3) ความขุ่นสูง มีแนวทางในการปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบด้วยการเติมสารสร้างตะกอนในช่วงต้น (Pre-treatment) เช่น สารส้มหรือโพลีอะลูมิเนียมคลอไรด์เพื่อลดความขุ่นของน้ำดิบในเบื้องต้นได้

        2.4) ออกซิเจนละลายน้ำต่ำ มีแนวทางในการปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบด้วยการเติมอากาศลงในน้ำดิบเพื่อยกระดับออกซิเจนละลายน้ำให้สูงขึ้นและยังสามารถให้แบคทีเรียใช้อากาศในการสร้างเมตาบอลิซึมเพื่อย่อยสลายสิ่งสกปรกในน้ำทำให้น้ำดิบสะอาดขึ้น

    3) คู่มือการปฏิบัติงาน หมายถึง คู่มือที่ใช้ประกอบในการปฏิบัติงานในสถานประกอบการนั้นๆ โดยการปฏิบัติงานในที่นี้หมายถึงการปฏิบัติงานปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบ ซึ่งคู่มือการปฏิบัติงาน ได้แก่ การติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำ กรมควบคุมมลพิษ หรือการตรวจวัดคุณภาพน้ำในระบบผลิตและระบบจำหน่าย หรือการประปาส่วนภูมิภาคคู่มือการควบคุมการผลิตน้ำประปาผิวดิน สำนักบริหารจัดการน้ำ กรมทรัพยากรน้ำ เป็นต้น

    4) ปฏิบัติตามข้อกำหนดมาตรฐานตามหน่วยงาน เช่น มาตรฐาน มาตรฐานคุณภาพน้ำประปาของการประปานครหลวงและการประปาส่วนภูมิภาคตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก WHO หรือมาตรฐานผู้ผลิต เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

(ก) เครื่องมือประเมินการจัดทำแผนการปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบ

    1) แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

    2) แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

    3) แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

    4) ผลข้อสอบข้อเขียน

(ข) เครื่องมือประเมินการดำเนินการปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบ

    1) แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

    2) แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

    3) แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

    4) ผลข้อสอบข้อเขียน

(ค) เครื่องมือประเมินการเขียนรายงานผลการปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบ

    1) แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

    2) แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

    3) แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

    4) ผลข้อสอบข้อเขียน

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ