หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดทำรายการปริมาณการใช้เหล็กเสริมคอนกรีต วางแผนการทำงาน และแก้ไขปัญหาหน้างาน

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมก่อสร้างและการผังเมือง


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ CIP-CFB-4-069ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดทำรายการปริมาณการใช้เหล็กเสริมคอนกรีต วางแผนการทำงาน และแก้ไขปัญหาหน้างาน

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ช่างเหล็กเสริมคอนกรีต (Reinforcing Steel Bar Worker)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะต้องสามารถจัดทำบัญชีปริมาณการใช้เหล็กเสริมคอนกรีต วางแผนการทำงาน และแก้ไขปัญหาหน้างานได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมก่อสร้าง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่มี

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่มี

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
20641 จัดทำบัญชีปริมาณการใช้เหล็กเสริมคอนกรีตได้วางแผนการตัดเหล็กเสริมคอนกรีตได้อย่างมีประสิทธิภาพ 1.1 แจกแจงรายการวัสดุตามแบบรูปได้ 20641.01 142930
20641 จัดทำบัญชีปริมาณการใช้เหล็กเสริมคอนกรีตได้วางแผนการตัดเหล็กเสริมคอนกรีตได้อย่างมีประสิทธิภาพ 1.2 วางแผนการตัดเหล็กเสริมคอนกรีตได้อย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ 20641.02 142931
20641 จัดทำบัญชีปริมาณการใช้เหล็กเสริมคอนกรีตได้วางแผนการตัดเหล็กเสริมคอนกรีตได้อย่างมีประสิทธิภาพ 1.3 จัดทำบัญชีปริมาณการใช้เหล็กเสริมคอนกรีตได้ 20641.03 142932
20642 เข้าใจลักษณะพฤติกรรมการรับน้ำหนักของโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก แก้ไขปัญหาหน้างาน และตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2.1 บอกลักษณะพฤติกรรมการรับน้ำหนักของโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กได้ถูกต้อง 20642.01 142933
20642 เข้าใจลักษณะพฤติกรรมการรับน้ำหนักของโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก แก้ไขปัญหาหน้างาน และตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2.2 สามารถรู้และเห็นปัญหาข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นหน้างานได้ 20642.02 142934
20642 เข้าใจลักษณะพฤติกรรมการรับน้ำหนักของโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก แก้ไขปัญหาหน้างาน และตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2.3 อธิบายวิธีการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นหน้างานและตัดสินใจแก้ไขปัญหานั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ 20642.03 142935

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

 1. การอ่านแบบและรายการประกอบแบบ



          2. การตรวจสอบการจัดวาง การต่อ และการทาบเหล็กเสริมคอนกรีต


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. การจัดทำบัญชีปริมาณการใช้เหล็กเสริมคอนกรีต



2. การวางแผนการตัดเหล็กเสริมคอนกรีตได้อย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. การมีประสบการณ์ในการแก้ไขปัญหาหน้างาน



2. การใช้ความรู้ที่มีในการตัดสินใจแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ



3. เข้าใจลักษณะพฤติกรรมการรับน้ำหนัก


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)



2. ทดสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



1. ใบรับรองความรู้จากสถานประกอบการ (ถ้ามี)



2. ผลการสอบข้อเขียน จากแบบทดสอบความรู้



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



     ผู้ประเมินตรวจประเมินในด้านความรู้เกี่ยวกับลักษณะพฤติกรรมการรับน้ำหนักของโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก วิธีการแก้ไขปัญหาหน้างาน และการมีทักษะในการคำนวณหา ปริมาณเหล็กเสริมคอนกรีต การจัดทำบัญชีปริมาณการใช้เหล็กเสริมคอนกรีต และการวางแผนการตัดเหล็กเสริมคอนกรีต



         (ง) วิธีการประเมิน



- ทดสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

จัดทำบัญชีปริมาณการใช้เหล็กเสริมคอนกรีต วางแผนการตัดเหล็กเสริมคอนกรีต เข้าใจลักษณะพฤติกรรมการรับน้ำหนักของโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก แก้ไขปัญหาและตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ



          (ก) คำแนะนำ



             ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้เกี่ยวกับลักษณะพฤติกรรมการรับน้ำหนักของโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก การถอดรายการวัสดุตามแบบรูป การจัดทำบัญชีปริมาณการใช้เหล็กเสริมคอนกรีต มีประสบการณ์การวางแผนการตัดเหล็กเสริมคอนกรีตและการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นหน้างาน



          (ข) คำอธิบายรายละเอียด



1. จัดทำบัญชีปริมาณการใช้เหล็กเสริมคอนกรีตได้



2. วางแผนการตัดเหล็กเสริมคอนกรีตได้อย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ



3. เข้าใจลักษณะพฤติกรรมการรับน้ำหนักของโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก เช่น เหล็กเสริมคอนกรีตรับแรงดึง เหล็กเสริมคอนกรีตรับแรงอัด เหล็กเสริมคอนกรีตรับแรงเฉือน



4. แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นหน้างานและตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  1. เครื่องมือประเมินการจัดทำบัญชีปริมาณการใช้เหล็กเสริมคอนกรีตได้



               1. ทดสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้



               (ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน)



  2. เครื่องมือประเมินการวางแผนการตัดเหล็กเสริมคอนกรีตได้อย่างมีประสิทธิภาพ



               1. ทดสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้



               (ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน)



  3. เครื่องมือประเมินความเข้าใจลักษณะพฤติกรรมการรับน้ำหนักของโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก การแก้ไขปัญหาหน้างาน และการตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ



               1. ทดสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้



               (ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน)



ยินดีต้อนรับ