หน่วยสมรรถนะ
คำนวณปริมาณการใช้วัสดุ และแก้ไขปัญหาหน้างานได้
สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมก่อสร้างและการผังเมือง
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | CIP-CFB-4-055ZB |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | คำนวณปริมาณการใช้วัสดุ และแก้ไขปัญหาหน้างานได้ |
3. ทบทวนครั้งที่ | - / - |
4. สร้างใหม่ |
![]() |
ปรับปรุง |
![]() |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
ช่างแบบหล่อคอนกรีต (Formwork Worker) |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะต้องสามารถคำนวณปริมาณการใช้วัสดุได้ สามารถแก้ไขปัญหาหน้างานและตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
อุตสาหกรรมก่อสร้าง |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
ไม่มี |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
ไม่มี |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) | รหัส PC (ตามเล่มมาตรฐาน) |
รหัส PC (จากระบบ) |
---|---|---|---|
20541 คำนวณปริมาณการใช้วัสดุได้ | 1.1 คำนวณหาขนาด ความกว้าง ความยาวของแบบหล่อได้ | 20541.01 | 142899 |
20541 คำนวณปริมาณการใช้วัสดุได้ | 1.2คำนวณปริมาณการใช้ไม้สำหรับสร้างแบบหล่อคอนกรีตได้ | 20541.02 | 142900 |
20541 คำนวณปริมาณการใช้วัสดุได้ | 1.3 จัดทำบัญชีรายการวัสดุและวางแผนการใช้วัสดุได้ | 20541.03 | 142901 |
20542 เข้าใจลักษณะพฤติกรรมการรับน้ำหนักของแบบหล่อคอนกรีต แก้ไขปัญหาหน้างาน และตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ | 2.1 บอกลักษณะพฤติกรรมการรับน้ำหนักของแบบหล่อคอนกรีตได้ถูกต้อง | 20542.01 | 142902 |
20542 เข้าใจลักษณะพฤติกรรมการรับน้ำหนักของแบบหล่อคอนกรีต แก้ไขปัญหาหน้างาน และตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ | 2.2 สามารถรู้และเห็นปัญหาข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นหน้างานได้ | 20542.02 | 142903 |
20542 เข้าใจลักษณะพฤติกรรมการรับน้ำหนักของแบบหล่อคอนกรีต แก้ไขปัญหาหน้างาน และตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ | 2.3 อธิบายวิธีการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นหน้างานและตัดสินใจแก้ไขปัญหานั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ | 20542.03 | 142904 |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
1. เข้าใจรายละเอียดแบบแปลน รูปด้าน รูปตัด ของชิ้นส่วนโครงสร้าง 2. อธิบายข้อกำหนดในรายการประกอบแบบได้ 3. ตรวจสอบความถูกต้องและความมั่นคงแข็งแรงของแบบหล่อได้ |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ 1. การคำนวณหาขนาด ความกว้าง ความยาวของแบบหล่อ 2. การคำนวณปริมาณการใช้วัสดุ 3. การจัดทำบัญชีรายการวัสดุและการวางแผนการใช้วัสดุ (ข) ความต้องการด้านความรู้ 1. ลักษณะพฤติกรรมการรับน้ำหนักของแบบหล่อคอนกรีต 2. การมีประสบการณ์ในการแก้ไขปัญหาหน้างาน 3. การใช้ความรู้ที่มีในการตัดสินใจแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) 1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี) 2. ทดสอบข้อเขียนจากแบบ ทดสอบความรู้ (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) 1. ใบรับรองความรู้จากสถานประกอบการ (ถ้ามี) 2. ผลการสอบข้อเขียน จากแบบทดสอบความรู้ (ค) คำแนะนำในการประเมิน ผู้ประเมินตรวจประเมินในด้านความรู้เกี่ยวกับลักษณะพฤติกรรมการรับน้ำหนักของแบบหล่อคอนกรีต วิธีการแก้ไขปัญหาหน้างาน และการมีทักษะในการคำนวณหาขนาด ความกว้าง ความยาวของแบบหล่อ ปริมาณวัสดุที่ใช้ การจัดทำบัญชีรายการวัสดุและการวางแผนการใช้วัสดุ (ง) วิธีการประเมิน - ทดสอบข้อเขียนจากแบบ ทดสอบความรู้ |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
คำนวณปริมาณการใช้วัสดุ จัดทำบัญชีรายการวัสดุ วางแผนการใช้วัสดุ เข้าใจพฤติกรรมการรับน้ำหนักของแบบหล่อคอนกรีต แก้ไขปัญหาและตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ก) คำแนะนำ ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้เกี่ยวกับลักษณะพฤติกรรมการรับน้ำหนักของแบบหล่อคอนกรีต การคำนวณหาขนาด ความกว้าง ความยาวของแบบหล่อ ปริมาณวัสดุที่ใช้ การจัดทำบัญชีรายการวัสดุการวางแผนการใช้วัสดุ และมีประสบการณ์ในการทำงาน การแก้ไขปัญหาหน้างาน (ข) คำอธิบายรายละเอียด 1. คำนวณปริมาณการใช้ไม้สำหรับสร้างแบบหล่อคอนกรีตได้ 2. สามารถจัดทำบัญชีรายการวัสดุ เช่น ใช้ไม้ ตะปู ขนาดเท่าไร ปริมาณเท่าไร และวางแผนการใช้วัสดุได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3. เข้าใจลักษณะพฤติกรรมการรับแรงดัด แรงเฉือน และขนาดของการแอ่นตัว (Deflection) ที่ยอมรับได้ของแบบหล่อคอนกรีต การเสริมความแข็งแรงแบบหล่อคอนกรีตบริเวณที่เป็นจุดอ่อนของแบบหล่อแต่ละชนิด เช่น แบบหล่อผนังคอนกรีตขนาดใหญ่ แบบหล่อพื้น แบบหล่อคาน แบบหล่อเสา 4. สามารถแก้ไขปัญหาหน้างาน และตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
ไม่มี |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
ไม่มี |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
1. เครื่องมือประเมินความสามารถคำนวณปริมาณการใช้วัสดุได้ 1. แบบทดสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ (ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน) 2. เครื่องมือประเมินความเข้าใจลักษณะพฤติกรรมการรับน้ำหนักของแบบหล่อคอนกรีต ความสามารถแก้ไขปัญหาหน้างาน และตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ 1. แบบทดสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ (ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน) |