หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

อ่านแบบ ตรวจสอบความถูกต้อง ความมั่นคงแข็งแรง และความปลอดภัย

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมก่อสร้างและการผังเมือง


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ CIP-CFB-3-050ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ อ่านแบบ ตรวจสอบความถูกต้อง ความมั่นคงแข็งแรง และความปลอดภัย

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ช่างแบบหล่อคอนกรีต (Formwork Worker)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะต้องสามารถอ่านแบบ ตรวจสอบความถูกต้อง ความมั่นคงแข็งแรง และความปลอดภัยของแบบหล่อคอนกรีตและค้ำยันได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมก่อสร้าง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่มี

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
มาตรฐาน ว.ส.ท. 3300 แบบหล่อ ท่อที่ฝัง และรอยต่อในคอนกรีต               ข้อ 3301 การออกแบบ แบบหล่อคอนกรีต               ข้อ 3302 การถอดแบบ

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
20531 อ่านแบบและบอกข้อกำหนดในรายการประกอบแบบหรือตามมาตรฐาน ว.ส.ท. ได้ 1.1 บอกรายละเอียดแบบแปลน รูปด้าน รูปตัดของชิ้นส่วนโครงสร้างได้ถูกต้อง 20531.01 142895
20531 อ่านแบบและบอกข้อกำหนดในรายการประกอบแบบหรือตามมาตรฐาน ว.ส.ท. ได้ 1.2 บอกข้อกำหนดในรายการประกอบแบบหรือตามมาตรฐานว.ส.ท. ได้ 20531.02 142896
20532 ตรวจสอบความถูกต้อง ความมั่นคงแข็งแรง และความปลอดภัยของแบบหล่อและค้ำยันได้ 2.1 ตรวจสอบขนาดและระยะต่างๆ ของแบบหล่อได้ 20532.01 142897
20532 ตรวจสอบความถูกต้อง ความมั่นคงแข็งแรง และความปลอดภัยของแบบหล่อและค้ำยันได้ 2.2 ตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงและความปลอดภัยของแบบหล่อและค้ำยันได้ 20532.02 142898

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. อ่านแบบได้เบื้องต้น



2. รู้ขนาดของแบบหล่อต่าง ๆ



          3. ตัดไม้ ตอกตะปู ตั้งนั่งร้าน ประกอบแบบหล่อ ติดตั้งค้ำยันได้มั่นคงแข็งแรง พร้อมรื้อถอนได้ถูกวิธีและปลอดภัย


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. การอ่านแบบ



2. การตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรง และความปลอดภัยของแบบหล่อและค้ำยัน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ข้อกำหนดตามมาตรฐาน ว.ส.ท. 3300 ข้อ 3301-3302


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)



2. แบบทดสอบข้อเขียนจากแบบ ทดสอบความรู้



          (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



1. ใบรับรองความรู้จากสถานประกอบการ (ถ้ามี)



2. ผลการสอบข้อเขียน จากแบบทดสอบความรู้



 (ค) คำแนะนำในการประเมิน



ผู้ประเมินตรวจประเมินในด้านความรู้เกี่ยวกับการตรวจสอบความถูกต้องและความมั่นคงแข็งแรงของแบบหล่อคอนกรีต และการมีทักษะในการอ่านแบบ



 (ง) วิธีการประเมิน



- ใบรับรองความรู้จากสถานประกอบการ (ถ้ามี)



- ทดสอบข้อเขียนจากแบบ ทดสอบความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

อ่านแบบ บอกข้อกำหนดในรายการประกอบแบบ ข้อกำหนดตามมาตรฐาน ว.ส.ท. ตรวจสอบความถูกต้อง ความมั่นคงแข็งแรง ความปลอดภัยของแบบหล่อและค้ำยัน



          (ก) คำแนะนำ



- ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้เกี่ยวกับการอ่านแบบ และการตรวจสอบความถูกต้องและความมั่นคงแข็งแรงของแบบหล่อคอนกรีต



          (ข) คำอธิบายรายละเอียด



         - 1. อ่านแบบและเข้าใจข้อกำหนดในรายการประกอบแบบ ข้อกำหนดตามมาตรฐาน ว.ส.ท.ได้



         - 2. ตรวจสอบความถูกต้องและความมั่นคงแข็งแรงของแบบหล่อได้


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. เครื่องมือประเมินความสามารถอ่านแบบและบอกข้อกำหนดในรายการประกอบแบบหรือตามมาตรฐาน ว.ส.ท.



               1. ทดสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้



               (ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน)



          2. เครื่องมือประเมินความสามารถตรวจสอบความถูกต้อง ความมั่นคงแข็งแรง และความปลอดภัยของแบบหล่อและค้ำยัน



               1. ทดสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้



               (ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน)



 



ยินดีต้อนรับ