หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

บริหารจัดการงานเขียนแบบงานเครื่องกล

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมก่อสร้างและการผังเมือง


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ CIP-WDP-5-013ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ บริหารจัดการงานเขียนแบบงานเครื่องกล

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ช่างเขียนแบบงานเครื่องกล (Mechanical draftsman)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
        ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถ  ประเมินแบบงานเครื่องกลและระบบการปฏิบัติงานที่ซับซ้อนตรวจสอบความสอดคล้องของแบบงานเครื่องกลและงานอื่นๆ ที่ซับซ้อน สอนเขียนแบบ กำกับดูแลงานเขียนแบบงานเครื่องกลให้เป็นไปตามขั้นตอนและวิธีการก่อสร้าง และปฏิบัติงานในระดับสากลได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมก่อสร้าง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1. พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ ศ 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม2. พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 25183. พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 25354. พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 25355. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยเกี่ยวกับไฟฟ้า

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10451 ประเมินแบบงานเครื่องกลและระบบการปฏิบัติงานที่ซับซ้อน 1.1 ตรวจสอบความสอดคล้องของแบบงานเครื่องกลและงานอื่นๆที่ซับซ้อนได้ 10451.01 142820
10451 ประเมินแบบงานเครื่องกลและระบบการปฏิบัติงานที่ซับซ้อน 1.2 สอนการเขียนแบบได้ 10451.02 142821
10452 กำกับดูแลงานเขียนแบบงานเครื่องกลให้เป็นไปตามขั้นตอนและวิธีการก่อสร้าง 2.1 จัดการงานเขียนแบบงานเครื่องกลและกำหนดขั้นตอนให้สอดคล้องกับงานก่อสร้าง 10452.01 142822
10452 กำกับดูแลงานเขียนแบบงานเครื่องกลให้เป็นไปตามขั้นตอนและวิธีการก่อสร้าง 2.2 ตรวจสอบรายการคำนวณปริมาณงานเครื่องกลได้ 10452.02 142823
10453 ปฏิบัติงานในระดับสากลได้ 3.1 บอกคำศัพท์เทคนิคที่ใช้ในการเขียนแบบเครื่องกลได้ 10453.01 142824
10453 ปฏิบัติงานในระดับสากลได้ 3.2สื่อสารด้วยภาษาอังกฤษได้ 10453.02 142825

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. เขียนแบบรายละเอียดและรูปแบบทางด้านเทคนิคงานเครื่องกลขั้นสูงและงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง 



2. ประเมินรายละเอียดและรูปแบบทางด้านเทคนิคงานเครื่องกลและงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. การตรวจสอบความสอดคล้องของแบบงานเครื่องกลที่ซับซ้อน และแบบอื่นๆที่เกี่ยวข้อง



2. การสอนการเขียนแบบงานเครื่องกล



3. การตรวจสอบรายการคำนวณปริมาณงานเครื่องกล



4. ทักษะในการสื่อสารภาษาอังกฤษ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. รายละเอียดของแบบงานเครื่องกล



2. วิธีการและขั้นตอนการคำนวณปริมาณงานเครื่องกล



3. วิธีการและขั้นตอนการก่อสร้าง



4. การใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



-   แบบสังเกตการณ์ปฏิบัติงาน/สาธิตการทำงาน



(ข)  หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



-   ผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้



(ค)  คำแนะนำในการประเมิน



ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการบริหารจัดการงานเขียนแบบงานเครื่องกล โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้



(ง) วิธีการประเมิน



1. ทดสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้



2. แบบสังเกตการปฏิบัติงาน/สาธิตการทำงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

การบริหารจัดการงานเขียนแบบงานเครื่องกล การประเมินแบบงานเครื่องกลและระบบการปฏิบัติงานที่ซับซ้อน การตรวจสอบความสอดคล้องของแบบงานเครื่องกล การสอนการเขียนแบบ การกำกับดูแลงานเขียนแบบงานเครื่องกลให้เป็นไปตามขั้นตอนและวิธีการก่อสร้าง การปฏิบัติงานในระดับสากล



คำแนะนำ



ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้ความเข้าใจถึงการบริหารจัดการงานเขียนแบบงานเครื่องกล การประเมินแบบงานเครื่องกลและระบบการปฏิบัติงานที่ซับซ้อน การตรวจสอบความสอดคล้องของแบบงานเครื่องกล และแบบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง การสอนการเขียนแบบ การกำกับดูแลงานเขียนแบบงานเครื่องกลให้เป็นไปตามขั้นตอนและวิธีการก่อสร้าง การปฏิบัติงานในระดับสากล



คำอธิบายรายละเอียด



1. โปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้ในการเขียนแบบคือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สามารถนำมาใช้ในการเขียนแบบ 2 มิติ หรือ 3 มิติ เช่น AutoCAD, GstarCAD, ArchiCAD, Revit เป็นต้น



2. แบบงานเครื่องกล ได้แก่ แบบแปลน รูปด้าน รูปตัด รูปขยาย 



3. การคำนวณปริมาณงานเครื่องกล ได้แก่ การคำนวณหาปริมาณงานและหรือวัสดุของแต่ละรายการงานเครื่องกล และการคิดคำนวณเผื่อปริมาณงานและหรือวัสดุ



4. การประสานงานและสื่อสารด้วยภาษาต่างประเทศ ได้แก่ การใช้ภาษาอังกฤษในการปฏิบัติงาน ติดต่อสื่อสารและประสานงานกับหน่วยงานต่างประเทศ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. เครื่องมือประเมิน การประเมินแบบงานเครื่องกลและระบบการปฏิบัติงานที่ซับซ้อน



1. ทดสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ และ



2. แบบสังเกตการปฏิบัติงาน/สาธิตการทำงาน



   (ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน)



2. เครื่องมือประเมิน การกำกับดูแลงานเขียนแบบงานเครื่องกลให้เป็นไปตามขั้นตอนและวิธีการก่อสร้าง



1. ทดสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ และ



2. แบบสังเกตการปฏิบัติงาน/สาธิตการทำงาน



   (ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน)



3. เครื่องมือประเมิน การปฏิบัติงานในระดับสากลได้



1. ทดสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ และ



2. แบบสังเกตการปฏิบัติงาน/สาธิตการทำงาน



   (ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน)



ยินดีต้อนรับ