หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เขียนแบบและอ่านแบบงานเครื่องกลในระดับปฏิบัติการ

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมก่อสร้างและการผังเมือง


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ CIP-WDP-3-011ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เขียนแบบและอ่านแบบงานเครื่องกลในระดับปฏิบัติการ

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ช่างเขียนแบบงานเครื่องกล (Mechanical draftsman)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
        ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถ เขียนแบบรายละเอียดและรูปแบบทางด้านเทคนิคงานงานเครื่องกลจากแบบร่างหรือแบบรายละเอียดอื่นๆ  วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในงานงานเครื่องกล ตรวจสอบความขัดแย้งของแบบงานเครื่องกลและงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องรวมถึงอ่านสัญลักษณ์ในงานเขียนแบบงานเครื่องกลในระดับปฏิบัติการ ส่วนประกอบ ศัพท์เทคนิคของแบบงานเครื่องกล และถอดปริมาณงานงานเครื่องกล

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมก่อสร้าง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1. พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ ศ 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม2. พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10431 เขียนแบบรายละเอียดและรูปแบบทางด้านเทคนิคงานเครื่องกลจากแบบร่างหรือแบบรายละเอียดอื่น ๆ 1.1 เลือกและใช้วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในงานเครื่องกลได้อย่างเหมาะสม 10431.01 142811
10431 เขียนแบบรายละเอียดและรูปแบบทางด้านเทคนิคงานเครื่องกลจากแบบร่างหรือแบบรายละเอียดอื่น ๆ 1.2 ตรวจแก้ไขความขัดแย้งของแบบงานเครื่องกลและงานอื่นๆที่เกี่ยวข้องได้ 10431.02 142812
10432 อ่านสัญลักษณ์ในงานเขียนแบบงานเครื่องกลในระดับปฏิบัติการ 2.1 อ่านสัญลักษณ์พื้นฐานส่วนประกอบ และศัพท์เทคนิคของแบบงานเครื่องกลได้ 10432.01 142813
10432 อ่านสัญลักษณ์ในงานเขียนแบบงานเครื่องกลในระดับปฏิบัติการ 2.2 อ่านแบบและถอดปริมาณงานเครื่องกลได้อย่างถูกต้อง 10432.02 142814

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. เขียนแบบ และร่างแบบงานเครื่องกลเบื้องต้นด้วยคอมพิวเตอร์



2. อ่านสัญลักษณ์ในงานเขียนแบบงานเครื่องกลเบื้องต้น


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. การเขียนแบบรายละเอียดและรูปแบบทางด้านเทคนิคงานเครื่องกล



2. การเลือกวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในงานเครื่องกล



3. การอ่านแบบงานเครื่องกลในระดับปฏิบัติการ



4. การอ่านรายละเอียดส่วนประกอบแบบที่ใช้ในงานเครื่องกล

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ชนิด ลักษณะ ขนาดและคุณสมบัติวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในงานเครื่องกล



2. วิธีการและขั้นตอนการจัดทำแบบรายละเอียดและรูปแบบทางด้านเทคนิคงานเครื่องกล



3. ชนิดและสัญลักษณ์งานเขียนแบบงานเครื่องกล



4. ศัพท์เทคนิคของแบบงานเครื่องกล



5. วิธีการและขั้นตอนในการถอดปริมาณงานเครื่องกล


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)  หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



-   แบบสังเกตการปฏิบัติงาน/สาธิตการทำงาน



(ข)  หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



-   ผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้



(ค)  คำแนะนำในการประเมิน



ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการเขียนแบบและอ่านแบบงานเครื่องกลในระดับปฏิบัติการ โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้



(ง) วิธีการประเมิน



1. ทดสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ และ



2. แบบสังเกตการปฏิบัติงาน/สาธิตการทำงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

การเขียนแบบและอ่านแบบงานเครื่องกลในระดับปฏิบัติการ  การอ่านสัญลักษณ์ในงานเขียนแบบงานเครื่องกลในระดับปฏิบัติการ ส่วนประกอบ  ศัพท์เทคนิคของแบบงานเครื่องกล และถอดปริมาณงานเครื่องกล



คำแนะนำ



ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้ความเข้าใจถึงการเขียนแบบและอ่านแบบงานเครื่องกลในระดับปฏิบัติการ  การอ่านสัญลักษณ์ในงานเขียนแบบงานเครื่องกลในระดับปฏิบัติการ ส่วนประกอบ ศัพท์เทคนิคของแบบงานเครื่องกล และถอดปริมาณงานเครื่องกล



คำอธิบายรายละเอียด



1. โปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้ในการเขียนแบบคือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สามารถนำมาใช้ในการเขียนแบบ 2 มิติ หรือ 3 มิติ เช่น AutoCAD, GstarCAD, ArchiCAD, Revit เป็นต้น



2. เขียนแบบรายละเอียด (Shop drawing) ได้แก่ การเขียนแบบแสดงรายละเอียดที่จำเป็นในการติดตั้ง



3. วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในงานติดตั้ง ได้แก่ ท่อ ฉนวน เป็นต้น



4. ศัพท์เทคนิคของแบบงานเครื่องกล ได้แก่ แบบแปลน รูปด้านต่างๆ รูปตัด แบบขยาย



5. การถอดปริมาณงานเครื่องกล ได้แก่ การคำนวณหาปริมาณงานและวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในงานเครื่องกล เช่น งานท่อ วัสดุและอุปกรณ์งานติดตั้ง เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. เครื่องมือประเมิน การเขียนแบบรายละเอียดและรูปแบบทางด้านเทคนิคงานเครื่องกลจากแบบร่างหรือแบบรายละเอียดอื่นๆ



1. ทดสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ และ



2. แบบสังเกตการปฏิบัติงาน/สาธิตการทำงาน



   (ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน)



2. เครื่องมือประเมิน การอ่านสัญลักษณ์ในงานเขียนแบบงานเครื่องกลในระดับปฏิบัติการ



1. ทดสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ และ



2. แบบสังเกตการปฏิบัติงาน/สาธิตการทำงาน



   (ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน)



ยินดีต้อนรับ