หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เขียนแบบและอ่านแบบงานเครื่องกลเบื้องต้น

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมก่อสร้างและการผังเมือง


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ CIP-SXOB-104B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เขียนแบบและอ่านแบบงานเครื่องกลเบื้องต้น

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ช่างเขียนแบบงานเครื่องกล (Mechanical draftsman)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
         ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถเขียนแบบและร่างแบบงานเครื่องกลเบื้องต้นด้วยคอมพิวเตอร์  เขียนแบบรายละเอียด แบบขยายงานเครื่องกล และรายการประกอบแบบงานเครื่องกล รวมถึงอ่านแบบงานเครื่องกล อ่านสัญลักษณ์ในงานเขียนแบบงานเครื่องกล บอกมาตรฐานการเขียนแบบงานเครื่องกลเบื้องต้น

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมก่อสร้าง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1. มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สำหรับงานเขียนแบบ2. คู่มือปฏิบัติวิชาชีพ มาตรฐานการเขียนแบบก่อสร้าง ฉบับปี พ.ศ. 2554 สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10421 เขียนแบบ และร่างแบบงานเครื่องกลเบื้องต้นด้วยคอมพิวเตอร์ 1.1 เขียนแบบรายละเอียดแบบขยายงานเครื่องกลเบื้องต้นได้อย่างถูกต้อง 10421.01 142807
10421 เขียนแบบ และร่างแบบงานเครื่องกลเบื้องต้นด้วยคอมพิวเตอร์ 1.2 อธิบายรายการประกอบแบบงานเครื่องกลเบื้องต้นได้อย่างถูกต้อง 10421.02 142808
10422 อ่านสัญลักษณ์ในงานเขียนแบบงานเครื่องกลเบื้องต้น 2.1 อธิบายข้อมูลของงานเขียนแบบงานเครื่องกลเบื้องต้นได้ จากการได้รับคำแนะนำ 10422.01 142809
10422 อ่านสัญลักษณ์ในงานเขียนแบบงานเครื่องกลเบื้องต้น 2.2 บอกมาตรฐานการเขียนแบบงานเครื่องกลเบื้องต้นได้ 10422.02 142810

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. ใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ในการเขียนแบบและร่างแบบงานเครื่องกลพื้นฐานด้วยคอมพิวเตอร์



2. อ่านสัญลักษณ์ในงานเขียนแบบงานเครื่องกลพื้นฐาน


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. การเขียนแบบรายละเอียดและแบบขยายงานเครื่องกลเบื้องต้น



2. การจัดทำรายการประกอบแบบงานเครื่องกลเบื้องต้น



3. การอ่านแบบงานเครื่องกลเบื้องต้น



4. การใช้สัญลักษณ์ในงานเขียนแบบงานเครื่องกลเบื้องต้น

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. วิธีการและขั้นตอนการเขียนแบบรายละเอียด และแบบขยายงานเครื่องกลเบื้องต้น



2. วิธีการและขั้นตอนการจัดทำรายการประกอบแบบงานเครื่องกลเบื้องต้น



3. ชนิดและสัญลักษณ์ในงานเขียนแบบงานเครื่องกล



4. ลักษณะของมาตรฐานการเขียนแบบ



5. การใช้มาตราส่วน



6. การบอกขนาดมิติ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



-   แบบสังเกตการปฏิบัติงาน/สาธิตการทำงาน



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



-   ผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้



(ค)  คำแนะนำในการประเมิน



ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการเขียนแบบและร่างแบบงานเครื่องกลเบื้องต้นด้วยคอมพิวเตอร์ และการอ่านแบบงานเครื่องกลเบื้องต้น โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้



(ง) วิธีการประเมิน



1. ทดสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ และ



2. แบบสังเกตการปฏิบัติงาน/สาธิตการทำงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

การเขียนแบบงานเครื่องกลเบื้องต้น การเขียนแบบและร่างแบบงานเครื่องกลเบื้องต้นด้วยคอมพิวเตอร์ การเขียนแบบรายละเอียด แบบขยายงานงานเครื่องกลเบื้องต้น การอธิบายรายการประกอบแบบงานเครื่องกลเบื้องต้น



การอ่านแบบงานเครื่องกลเบื้องต้น การอ่านสัญลักษณ์ในงานเขียนแบบงานเครื่องกลเบื้องต้น ข้อมูลของงานเขียนแบบงานเครื่องกลเบื้องต้น การบอกมาตรฐานการเขียนแบบงานเครื่องกลเบื้องต้น



คำแนะนำ



ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้ความเข้าใจถึงการเขียนแบบงานเครื่องกลเบื้องต้น  การเขียนแบบและร่างแบบงานเครื่องกลเบื้องต้นด้วยคอมพิวเตอร์ การเขียนแบบรายละเอียด แบบขยายงานเครื่องกลเบื้องต้น การอธิบายรายการประกอบแบบงานเครื่องกลเบื้องต้น การอ่านแบบ การอ่านสัญลักษณ์และข้อมูลของงานเขียนแบบงานเครื่องกลเบื้องต้น และการบอกมาตรฐานการเขียนแบบงานเครื่องกลเบื้องต้น



คำอธิบายรายละเอียด



1. โปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้ในการเขียนแบบคือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สามารถนำมาใช้ในการเขียนแบบ 2 มิติ หรือ 3 มิติ เช่น AutoCAD, GstarCAD, ArchiCAD, Revit เป็นต้น



2. เขียนแบบรายละเอียด (Shop drawing) ได้แก่ การเขียนแบบแสดงรายละเอียดที่จำเป็นเพื่อใช้ในงานติดตั้ง



3. มาตรฐานการเขียนแบบ ได้แก่ ขนาดและรูปแบบกระดาษเขียนแบบ มาตรฐานรูปลักษณ์การเขียนแบบ ระบบอ้างอิง พิกัด มาตราส่วน การวาดเส้นต่างๆ เป็นต้น



4. สัญลักษณ์ในงานเขียนแบบงานเครื่องกล ได้แก่ สัญลักษณ์ที่ใช้ประกอบแบบก่อสร้าง เช่น สัญลักษณ์เส้นชนิดต่าง ๆสัญลักษณ์ท่อชนิดต่าง ๆ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. เครื่องมือประเมิน การเขียนแบบและร่างแบบงานเครื่องกลเบื้องต้นด้วยคอมพิวเตอร์



1. ทดสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ และ



2. แบบสังเกตการปฏิบัติงาน/สาธิตการทำงาน



   (ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน)



2. เครื่องมือประเมิน การอ่านสัญลักษณ์ในงานเขียนแบบงานเครื่องกลเบื้องต้น



1. ทดสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ และ



2. แบบสังเกตการปฏิบัติงาน/สาธิตการทำงาน



   (ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน)



ยินดีต้อนรับ