หน่วยสมรรถนะ
กำหนดขั้นตอนการสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านแรงบิดประเภท Static Torque Transducer โดยใช้ระบบคานและตุ้มน้ำหนัก (Lever mass system)
สาขาวิชาชีพบริการอุตสาหกรรม
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | TAA-NKWF-230B |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | กำหนดขั้นตอนการสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านแรงบิดประเภท Static Torque Transducer โดยใช้ระบบคานและตุ้มน้ำหนัก (Lever mass system) |
3. ทบทวนครั้งที่ | - / - |
4. สร้างใหม่ | ปรับปรุง |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
01TQ4 ผู้สอบเทียบเครื่องมือวัดด้านแรงบิด ระดับ 4 3115 Mechanical engineering technicians 1 3115 ช่างเทคนิคด้านวิศวกรรมเครื่องกล |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้มีความรู้ ความเข้าใจระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการด้านแรงบิด มีความเชี่ยวชาญและความสามารถจัดทำเอกสารวิธีปฏิบัติงานต่างๆที่ใช้ในห้องปฏิบัติการ แบบบันทึกที่เกี่ยวข้องกำหนดแผนงานการปฏิบัติงาน รวมถึงมีความเข้าใจสามารถประเมินค่าความไม่แน่นอนของการวัดได้ |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
3115 ช่างเทคนิคด้านวิศวกรรมเครื่องกล |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
N/A |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
N/A |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) | รหัส PC (ตามเล่มมาตรฐาน) |
รหัส PC (จากระบบ) |
---|---|---|---|
01TQ4701 ประเมินความไม่แน่นอนของผลการสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านแรงบิดประเภท Static Torque Transducer โดยใช้ระบบคานและตุ้มน้ำหนัก (Lever mass system) | 1. จัดทำเอกสารวิธีการสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านแรงบิดประเภทStatic Torque Transducer โดยใช้ระบบคานและตุ้มน้ำหนัก (Levermass system) ตามเอกสารอ้างอิง | 01TQ4701.01 | 142760 |
01TQ4701 ประเมินความไม่แน่นอนของผลการสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านแรงบิดประเภท Static Torque Transducer โดยใช้ระบบคานและตุ้มน้ำหนัก (Lever mass system) | 2. จัดทำเอกสารวิธีการสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านแรงบิดประเภท StaticTorque Transducer โดยใช้ระบบคานและตุ้มน้ำหนัก (Levermass system)ตามระบบคุณภาพของห้องปฏิบัติการ | 01TQ4701.02 | 142761 |
01TQ4701 ประเมินความไม่แน่นอนของผลการสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านแรงบิดประเภท Static Torque Transducer โดยใช้ระบบคานและตุ้มน้ำหนัก (Lever mass system) | 3. จัดทำแบบบันทึกที่ใช้ในงานสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านแรงบิดประเภทStatic Torque Transducer โดยใช้ระบบคานและตุ้มน้ำหนัก (Levermass system)ตามคู่มือการปฏิบัติงาน | 01TQ4701.03 | 142762 |
01TQ4702 ประเมินความไม่แน่นอนของผลการสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านแรงบิดประเภท Static Torque Transducer โดยใช้ระบบคานและตุ้มน้ำหนัก (Lever mass system) | 1. จัดทำเอกสารการประเมินค่าความไม่แน่นอนของการสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านแรงบิดประเภทStatic Torque Transducer โดยใช้ระบบคานและตุ้มน้ำหนัก (Levermass system) ได้อย่างถูกต้อง | 01TQ4702.01 | 142763 |
01TQ4702 ประเมินความไม่แน่นอนของผลการสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านแรงบิดประเภท Static Torque Transducer โดยใช้ระบบคานและตุ้มน้ำหนัก (Lever mass system) | 2. ประเมินค่าความไม่แน่นอนของการสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านแรงบิดประเภทStatic Torque Transducer โดยใช้ระบบคานและตุ้มน้ำหนัก (Levermass system)ได้อย่างถูกต้อง | 01TQ4702.02 | 142764 |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
N/A |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ 1. ระบุถึงเอกสารระดับต่างๆ ในระบบคุณภาพและความเชื่อมโยงเอกสาร 2. จัดทำเอกสารวิธีปฏิบัติงาน ขั้นตอนการทำงานและแบบบันทึกตามที่กำหนดในระบบคุณภาพ 3. ประเมินปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการวัดในการสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านแรงบิด 4. ประเมินปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการวัดในการสอบเทียบเครื่องมือมาตรฐานด้านแรงบิด (ข) ความต้องการด้านความรู้ 1. การจัดทำเอกสารระดับต่างๆ ให้สอดคล้องกับข้อกำหนดตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 2. วิธีประเมินค่าความไม่แน่นอนของการวัด ระบุถึงปัจจัยต่างๆ ที่มีผลกระทบได้ 3. ขั้นตอนการขอจัดทำเอกสาร การอนุมัติ การประกาศใช้ |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) 1. บันทึกการขอจัดทำเอกสาร 2. เอกสารขั้นตอนการปฏิบัติงาน 3. แผนการปฏิบัติงาน (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) 1. บันทึกผลการทดสอบข้อเขียน 2. แฟ้มสะสมผลงาน (ค) คำแนะนำในการประเมิน ประเมินเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจในการจัดทำเอกสารขั้นตอนการสอบเทียบและการประมาณค่าความไม่แน่นอนของการสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านแรงบิด โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ วิธีการประเมิน 1. พิจารณาจากผลการสอบข้อเขียน 2. พิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
1. เครื่องมือวัดด้านแรงบิดในหน่วยสมรรถนะนี้ หมายถึง เครื่องมือวัดด้านแรงบิดประเภท Static Torque Transducer โดยใช้ระบบคานและตุ้มน้ำหนัก (Lever mass system) 2. ระบบคานและตุ้มน้ำหนัก (Lever mass system) หมายถึง ระบบคานและตุ้มน้ำหนักเฉพาะแบบไม่มี อุปกรณ์รองรับแรงตามขวาง (unsupported beam) แต่ไม่รวมถึงระบบที่มีอุปกรณ์เปลี่ยนแนวแรง มีส่วนประกอบหลัก ได้แก่คาน ตุ้มน้ำหนัก ถาดรองรับตุ้มน้ำหนัก และวัสดุที่ดัดงอได้สูงสําหรับแขวนถาดที่คาน โดยคานเป็นคานคู่หรือคานเดี่ยว แรงบิดได้จากการคูณแบบเวกเตอร์ (vector) ระหว่างแรงกับระยะที่ตั้งฉาก กับแนวแรง เอกสารอ้างอิง 1. ISO/IEC 17025 General Requirements for Competence of Testing and Calibration laboratories 2. DAkkS-DKD-R 3-8 Static calibration of torque wrench calibrator 3. BS7882 Method for calibration and classification of torque measuring devices 4. มวช. 1-2560 หลักเกณฑ์มาตรฐานสำหรับการสอบเทียบเครื่องมือสอบเทียบประแจวัดแรงบิดแบบสถิต (ฉบับร่าง) |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
1. ข้อสอบข้อเขียน 2. แฟ้มสะสมผลงาน |