หน่วยสมรรถนะ
วิเคราะห์ทวนสอบและรับรองผลการสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านแรงบิด ประเภท Static Torque Transducerโดยใช้ระบบคานและตุ้มน้ำหนัก (Lever mass system)
สาขาวิชาชีพบริการอุตสาหกรรม
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | TAA-XETD-229B |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | วิเคราะห์ทวนสอบและรับรองผลการสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านแรงบิด ประเภท Static Torque Transducerโดยใช้ระบบคานและตุ้มน้ำหนัก (Lever mass system) |
3. ทบทวนครั้งที่ | - / - |
4. สร้างใหม่ | ปรับปรุง |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
01TQ4 ผู้สอบเทียบเครื่องมือวัดด้านแรงบิด ระดับ 4 3115 Mechanical engineering technicians 1 3115 ช่างเทคนิคด้านวิศวกรรมเครื่องกล |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้มีความรู้ ความเข้าใจและสามารถทวนสอบและสามารถกำหนดเกณฑ์การยอมรับสำหรับใช้ในการวิเคราะห์ทวนสอบผลความถูกต้องของผลการวัดด้านแรงบิดหลังการสอบเทียบ และสามารถออกใบรับรองผลการสอบเทียบได้อย่างถูกต้องตามข้อกำหนด |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
3115 ช่างเทคนิคด้านวิศวกรรมเครื่องกล |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
N/A |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
N/A |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) | รหัส PC (ตามเล่มมาตรฐาน) |
รหัส PC (จากระบบ) |
---|---|---|---|
01TQ4601 ทวนสอบความถูกต้องของผลการสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านแรงบิดประเภท Static Torque Transducer โดยใช้ระบบคานและตุ้มน้ำหนัก (Lever mass system) | 1. ใช้ความรู้ทางสถิติและคณิตศาสตร์สำหรับการทวนสอบผลการสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านแรงบิดประเภทStatic Torque Transducerโดยใช้ระบบคานและตุ้มน้ำหนัก (Levermass system) ได้อย่างถูกต้อง | 01TQ4601.01 | 142754 |
01TQ4601 ทวนสอบความถูกต้องของผลการสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านแรงบิดประเภท Static Torque Transducer โดยใช้ระบบคานและตุ้มน้ำหนัก (Lever mass system) | 2. เลือกใช้เกณฑ์การทวนสอบผลการสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านแรงบิดประเภทStatic Torque Transducerโดยใช้ระบบคานและตุ้มน้ำหนัก (Levermass system) ให้เหมาะสมกับการใช้งาน | 01TQ4601.02 | 142755 |
01TQ4601 ทวนสอบความถูกต้องของผลการสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านแรงบิดประเภท Static Torque Transducer โดยใช้ระบบคานและตุ้มน้ำหนัก (Lever mass system) | 3. ตรวจสอบความถูกต้องของผลการสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านแรงบิดประเภทStatic Torque Transducer ตามเกณฑ์ที่กำหนด | 01TQ4601.03 | 142756 |
01TQ4602 จัดทำใบรับรองผลการสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านแรงบิดประเภท Static Torque Transducerโดยใช้ระบบคานและตุ้มน้ำหนัก (Lever mass system) | 1. คำนวณผลการสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านแรงบิดประเภทStatic Torque Transducerโดยใช้ระบบคานและตุ้มน้ำหนัก (Levermass system) | 01TQ4602.01 | 142757 |
01TQ4602 จัดทำใบรับรองผลการสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านแรงบิดประเภท Static Torque Transducerโดยใช้ระบบคานและตุ้มน้ำหนัก (Lever mass system) | 2. ประเมินผลการสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านแรงบิดประเภท StaticTorque Transducer โดยใช้ระบบคานและตุ้มน้ำหนัก (Levermass system)ตามเกณฑ์ที่กำหนด | 01TQ4602.02 | 142758 |
01TQ4602 จัดทำใบรับรองผลการสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านแรงบิดประเภท Static Torque Transducerโดยใช้ระบบคานและตุ้มน้ำหนัก (Lever mass system) | 3. ออกใบรับรองผลการสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านแรงบิดประเภท StaticTorque Transducerโดยใช้ระบบคานและตุ้มน้ำหนัก (Lever masssystem)ตามมาตรฐาน ISO/IEC17025 | 01TQ4602.03 | 142759 |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
N/A |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ 1. กำหนดเกณฑ์ยอมรับการผลการสอบเทียบเครื่องมือมาตรฐานด้านแรงบิด 2. กำหนดเกณฑ์การยอมรับการทวนสอบเครื่องมือวัดด้านแรงบิด 3. กำหนดเกณฑ์การยอมรับการทวนสอบเครื่องวัดสภาวะแวดล้อม 4. กำหนดเกณฑ์การยอมรับการตรวจสอบระหว่างใช้งานเครื่องมือ (ข) ความต้องการด้านความรู้ 1. การทวนสอบเครื่องมือวัดด้านแรงบิด 2. การตรวจสอบเครื่องมือวัดด้านแรงบิดระหว่างใช้งาน 3. เกณฑ์ยอมรับในการใช้งานเครื่องมือวัดด้านแรงบิด 4. เอกสารอ้างอิง |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) 1. บันทึกผลการทวนสอบเครื่องมือวัดด้านแรงบิด 2. บันทึกการตรวจสอบเครื่องมือวัดด้านแรงบิดระหว่างใช้งาน 3. รายงานการเปรียบเทียบผลการวัด 4. รายงานการเปรียบเทียบผลการวัดระหว่างบุคลากร 5. สรุปการตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีการวัดด้านแรงบิด (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) 1. บันทึกผลการทดสอบข้อเขียน (ค) คำแนะนำในการประเมิน ประเมินเกี่ยวกับวิธีการทวนสอบและวิเคราะห์ความถูกต้องของผลการวัดด้านแรงบิด โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ วิธีการประเมิน 1. พิจารณาจากผลการสอบข้อเขียน 2. พิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
ระบบคานและตุ้มน้ำหนัก (Lever mass system) หมายถึง ระบบคานและตุ้มน้ำหนักเฉพาะแบบไม่มี อุปกรณ์รองรับแรงตามขวาง (unsupported beam) แต่ไม่รวมถึงระบบที่มีอุปกรณ์เปลี่ยนแนวแรง มีส่วนประกอบหลัก ได้แก่คาน ตุ้มน้ำหนัก ถาดรองรับตุ้มน้ำหนัก และวัสดุที่ดัดงอได้สูงสําหรับแขวนถาดที่คาน โดยคานเป็นคานคู่หรือคานเดี่ยว แรงบิดได้จากการคูณแบบเวกเตอร์ (vector) ระหว่างแรงกับระยะที่ตั้งฉาก กับแนวแรง เอกสารอ้างอิง 1. ISO/IEC 17025 General Requirements for Competence of Testing and Calibration laboratories 2. DAkkS-DKD-R 3-8 Static calibration of torque wrench calibrator 3. BS7882 Method for calibration and classification of torque measuring devices 4. มวช. 1-2560 หลักเกณฑ์มาตรฐานสำหรับการสอบเทียบเครื่องมือสอบเทียบประแจวัดแรงบิดแบบสถิต (ฉบับร่าง) |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
1. ข้อสอบข้อเขียน 2. แฟ้มสะสมผลงาน |