หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

สอบเทียบเครื่องมือสอบเทียบประแจวัดแรงบิด (Torque Wrench Calibrator)

สาขาวิชาชีพบริการอุตสาหกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ TAA-AQTK-216B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ สอบเทียบเครื่องมือสอบเทียบประแจวัดแรงบิด (Torque Wrench Calibrator)

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

01TQ3 ผู้สอบเทียบเครื่องมือวัดด้านแรงบิด ระดับ 3



3115 Mechanical engineering technicians


1 3115 ช่างเทคนิคด้านวิศวกรรมเครื่องกล

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถสอบเทียบเครื่องมือสอบเทียบประแจวัดแรงบิด (Torque wrench calibrator) โดยใช้ เครื่องมือมาตรฐานด้านแรงบิดประเภท Torque transfer wrench เป็นเครื่องมือมาตรฐาน ตามขั้นตอนการปฏิบัติงานของห้องปฏิบัติการ สามารถทวนสอบใบรับรองผลการสอบเทียบ สามารถตรวจสอบเกณฑ์ของเครื่องวัดสภาวะแวดล้อม รู้ถึงการเตรียมความพร้อมเลือกใช้เครื่องมือมาตรฐานด้านแรงบิดได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
3115 ช่างเทคนิคด้านวิศวกรรมเครื่องกล

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01TQ3101 เตรียมความพร้อมก่อนการสอบเทียบเครื่องมือสอบเทียบประแจวัดแรงบิด (Torque Wrench Calibrator) 1. เลือกใช้เครื่องมือมาตรฐานด้านแรงบิดประเภท Torque transfer wrench ให้เหมาะสมกับเครื่องมือสอบเทียบประแจวัดแรงบิด (Torque wrenchcalibrator) ที่ต้องการสอบเทียบ 01TQ3101.01 142672
01TQ3101 เตรียมความพร้อมก่อนการสอบเทียบเครื่องมือสอบเทียบประแจวัดแรงบิด (Torque Wrench Calibrator) 2. เตรียมความพร้อมของ เครื่องมือมาตรฐานด้านแรงบิดประเภท Torquetransfer wrench ให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมก่อนทำการสอบเทียบ 01TQ3101.02 142673
01TQ3101 เตรียมความพร้อมก่อนการสอบเทียบเครื่องมือสอบเทียบประแจวัดแรงบิด (Torque Wrench Calibrator) 3. เตรียมความพร้อมเครื่องมือสอบเทียบประแจวัดแรงบิด (Torquewrench calibrator) ให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมก่อนทำการสอบเทียบ 01TQ3101.03 142674
01TQ3101 เตรียมความพร้อมก่อนการสอบเทียบเครื่องมือสอบเทียบประแจวัดแรงบิด (Torque Wrench Calibrator) 4. บันทึกรายละเอียดของเครื่องมือสอบเทียบประแจวัดแรงบิด (Torquewrench calibrator) ที่จะทำการสอบเทียบและเครื่องมือมาตรฐานด้านแรงบิดประเภท Torque transfer wrench ได้อย่างถูกต้อง 01TQ3101.04 142675
01TQ3102 สอบเทียบเครื่องมือสอบเทียบประแจวัดแรงบิด (Torque Wrench Calibrator) 1. ควบคุมสภาวะแวดล้อมห้องปฏิบัติการสอบเทียบตามคู่มือการปฏิบัติงาน 01TQ3102.01 142676
01TQ3102 สอบเทียบเครื่องมือสอบเทียบประแจวัดแรงบิด (Torque Wrench Calibrator) 2. สอบเทียบเครื่องมือสอบเทียบประแจวัดแรงบิด (Torquewrench calibrator) ตามคู่มือการปฏิบัติงาน 01TQ3102.02 142677
01TQ3102 สอบเทียบเครื่องมือสอบเทียบประแจวัดแรงบิด (Torque Wrench Calibrator) 3. อ่านค่าเครื่องมือสอบเทียบประแจวัดแรงบิด (Torquewrench calibrator) ได้อย่างถูกต้อง 01TQ3102.03 142678
01TQ3103 บันทึกและคำนวณผลการสอบเทียบเครื่องมือสอบเทียบประแจวัดแรงบิด (Torque Wrench Calibrator) 1. บันทึกข้อมูลสอบเทียบเครื่องมือสอบเทียบประแจวัดแรงบิด(Torque wrench calibrator) ตามคู่มือการปฏิบัติงาน 01TQ3103.01 142679
01TQ3103 บันทึกและคำนวณผลการสอบเทียบเครื่องมือสอบเทียบประแจวัดแรงบิด (Torque Wrench Calibrator) 2. คำนวณผลการสอบเทียบเครื่องมือสอบเทียบประแจวัดแรงบิด (Torquewrench calibrator) ตามคู่มือการปฏิบัติงาน 01TQ3103.02 142680

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. สามารถเลือกใช้ เครื่องมือมาตรฐานด้านแรงบิดประเภท Torque transfer wrench ได้อย่างเหมาะสมกับเครื่องมือสอบเทียบประแจวัดแรงบิด (Torque wrench calibrator) รวมทั้งเตรียมความพร้อมก่อนและหลังการใช้งาน



2. สามารถเตรียมความพร้อมเครื่องมือสอบเทียบประแจวัดแรงบิด (Torque wrench calibrator) ก่อนทำการสอบเทียบ



3. สามารถอ่านค่าเครื่องมือสอบเทียบประแจวัดแรงบิด (Torque wrench calibrator)



4. สามารถเลือกใช้อุปกรณ์เกี่ยวกับการปฏิบัติงานด้านการสอบเทียบ



5. สามารถใช้เครื่องมือหรือโปรแกรมสำหรับคำนวณผลการสอบเทียบ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. การสอบเทียบเครื่องมือสอบเทียบประแจวัดแรงบิด (Torque wrench calibrator) 



2. วิธีการใช้งานและการอ่านค่าของเครื่องมือสอบเทียบประแจวัดแรงบิด (Torque wrench calibrator) และ เครื่องมือมาตรฐานด้านแรงบิดประเภท Torque transfer wrench รวมถึงการทำความสะอาด การจัดเก็บ และการเคลื่อนย้าย



3. วิธีการประยุกต์ใช้ เครื่องมือมาตรฐานด้านแรงบิดประเภท Torque transfer wrench



4. การบันทึก การใช้เครื่องมือคำนวณผล หรือโปรแกรมคำนวณผล



5. การสอบกลับได้ (Traceability) ของการวัด



6. ความรู้สถิติและคณิตศาสตร์เบื้องต้น


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



          1. บันทึกประวัติการทำงาน



          2. บันทึกการมอบหมายงาน



          3. บันทึกผลการสอบเทียบ หรือใบรายงานผลการสอบเทียบ



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



          1. ใบรับรองการฝึกอบรม หรือ บันทึกการฝึกปฏิบัติงาน (On the job training) โดยมีผู้ลงนามรับรอง



          2. บันทึกการสาธิตการปฏิบัติงาน



          3. บันทึกผลข้อสอบข้อเขียน



          4. บันทึกการสัมภาษณ์



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



          ประเมินเกี่ยวกับการสอบเทียบเครื่องมือสอบเทียบประแจวัดแรงบิด (Torque wrench calibrator) โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้



วิธีการประเมิน



          1. พิจารณาจากผลการสอบข้อเขียน



          2. พิจารณาจากบันทึกการสาธิตการปฏิบัติงาน



          3. พิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน



          4. พิจารณาจากผลการสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

          1. คู่มือการปฏิบัติงานการสอบเทียบเครื่องมือสอบเทียบประแจวัดแรงบิด (Torque wrench calibrator) ที่ห้องปฏิบัติการจัดทำขึ้นโดยอ้างอิงมาตรฐานแห่งชาติหรือมาตรฐานระหว่างประเทศ หรือวิธีการที่ห้องปฏิบัติการพัฒนาขึ้นซึ่งได้มีการตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีแล้วสามารถใช้งานได้



          2. เครื่องมือมาตรฐานด้านแรงบิด ได้แก่ เครื่องมือมาตรฐานด้านแรงบิดประเภท Torque transfer wrench เป็นต้น



          3. เครื่องมือสอบเทียบประแจวัดแรงบิด (Torque wrench calibrator) หมายถึง เครื่องมือวัดแรงบิดแบบสถิตที่ได้รับการสอบเทียบด้วยเครื่องมือมาตรฐานด้านแรงบิดประเภท Torque transfer wrench และใช้สอบเทียบประแจวัดแรงบิด มีส่วนประกอบหลักได้แก่ แทรนส์ดิวเซอร์และอุปกรณ์แสดงผล ซึ่งติดตั้งเป็นชุดตายตัวหรือแยกออกจากกันได้ ใช้หลักการวัดการเปลี่ยนรูปไปของวัสดุยืดหยุ่น แล้วแปลงจากพลังงานกลให้เป็นปริมาณทางไฟฟ้า หรือบางประเภทใช้กลไกทางกลแปลงให้เป็นค่าแรงบิด



          เอกสารอ้างอิง



          1. DAkkS-DKD-R 3-8 Static calibration of torque wrench calibrator



          2. มวช. 1-2560 หลักเกณฑ์มาตรฐานสำหรับการสอบเทียบเครื่องมือสอบเทียบประแจวัดแรงบิดแบบสถิต (ฉบับร่าง)


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. ข้อสอบข้อเขียน



2. สาธิตการปฏิบัติงาน



3. แฟ้มสะสมผลงาน



4. สัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ