หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

การใช้งานไม้บรรทัดและเครื่องมือมาตรฐาน

สาขาวิชาชีพบริการอุตสาหกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ TAA-XKRQ-183B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ การใช้งานไม้บรรทัดและเครื่องมือมาตรฐาน

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

01DM1 ผู้สอบเทียบเครื่องมือวัดด้านความยาวและมิติ ระดับ 1 


1 7311 ช่างทำและซ่อมเครื่องมือที่มีความเที่ยงตรงแม่นยำ

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้สามารถใช้งานไม้บรรทัดและเครื่องมือมาตรฐานได้อย่างถูกต้อง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
7311 ช่างทำและซ่อมเครื่องมือที่มีความเที่ยงตรงแม่นยำ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01DM1101 การใช้งานไม้บรรทัด 1. การแบ่งแยกประเภทและชนิดของไม้บรรทัด 01DM1101.01 142465
01DM1101 การใช้งานไม้บรรทัด 2. การอ่านค่าจากไม้บรรทัด 01DM1101.02 142466
01DM1102 การใช้งานเครื่องมือมาตรฐานสำหรับการสอบเทียบไม้บรรทัด 1. การแบ่งแยกประเภทและชนิดของเครื่องมือมาตรฐาน 01DM1102.01 142467
01DM1102 การใช้งานเครื่องมือมาตรฐานสำหรับการสอบเทียบไม้บรรทัด 2. การอ่านค่าจากเครื่องมือมาตรฐาน 01DM1102.02 142468

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. มีทักษะในการใช้งานไม้บรรทัด



2. สามารถอ่านค่าจากไม้บรรทัดได้อย่างถูกต้อง



3. มีทักษะในการใช้งานเครื่องมือมาตรฐาน



4. สามารถอ่านค่าจากเครื่องมือมาตรฐานได้อย่างถูกต้อง

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. รู้จักประเภทของไม้บรรทัด



2. มีความรู้ในการอ่านค่าจากไม้บรรทัด



3. รู้จักประเภทของเครื่องมือมาตรฐาน



4. มีความรู้ในการอ่านค่าจากเครื่องมือมาตรฐาน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



          1. การสังเกตการณ์ใช้งานไม้บรรทัด



          2. การสังเกตการณ์ใช้งานเครื่องมือมาตรฐาน



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



          1. ผลการทดสอบข้อสอบข้อเขียน



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



          ตรวจประเมินการใช้งานไม้บรรทัดที่จะทำการสอบเทียบ โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐาน ความรู้



วิธีการประเมิน



          1. พิจารณาจากข้อสอบข้อเขียน



          2. พิจารณาจากบันทึกการสาธิตการปฏิบัติงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

          ไม้บรรทัด หมายถึง อุปกรณ์ทางเรขาคณิต อาจทำจากพลาสติก ไม้ อลูมิเนียม หรือ เหล็ก ซึ่งในเอกสารฉบับนี้จะกล่าวถึงไม้บรรทัดที่ทำจากโลหะเท่านั้น โดยปกติจะใช้การวัดขนาดหรือการเปรียบเทียบขนาดทางกายภาพ เช่น ความยาว ความกว้าง ความสูง ส่วนใหญ่จะมี 2 สเกล คือ นิ้ว และ เซนติเมตร พบได้หลายหลายขนาด ตั้งแต่ 150 มิลลิเมตร ถึง 2 เมตร


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. ข้อสอบข้อเขียน



2. สาธิตวิธีปฎิบัติงาน



ยินดีต้อนรับ