หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

การถ่ายทอดองค์ความรู้และประสบการณ์การ ปฏิบัติงานด้านปริมาตร

สาขาวิชาชีพบริการอุตสาหกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ TAA-AJNR-163B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ การถ่ายทอดองค์ความรู้และประสบการณ์การ ปฏิบัติงานด้านปริมาตร

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

01VO5 ผู้สอบเทียบเครื่องมือวัดด้านปริมาตร ระดับ 5


1 7311 ช่างทำและซ่อมเครื่องมือที่มีความเที่ยงตรงแม่นยำ

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ มีความรู้ความเข้าใจมาตรวิทยาและทักษะการปฏิบัติงานด้านปริมาตร สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้จากประสบการณ์การปฏิบัติงาน โดยสามารถออกแบบและกำหนดรายละเอียดการอบรม ดำเนินการอบรมด้วยการถ่ายทอดได้ครอบคลุมสาระสำคัญของหัวข้อการอบรม สามารถถ่ายถอดความรู้ได้อย่างถูกต้องเข้าใจชัดเจน ตอบคำถามได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
7311 ช่างทำและซ่อมเครื่องมือที่มีความเที่ยงตรงแม่นยำสาขาวิชาชีพมาตรวิทยา อาชีพผู้สอบเทียบเครื่องมือวัดด้านปริมาตร

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01VO5301 ออกแบบและกำหนดรายละเอียดการอบรมด้านปริมาตร 1. สามารถกำหนดรายละเอียดการฝึกอบรมให้ครอบคลุมการปฏิบัติงาน 01VO5301.01 142363
01VO5302 วิทยากรอบรมด้านปริมาตร 1. สามารถถ่ายทอดความรู้ได้ครอบคลุมสาระสำคัญถูกต้องเข้าใจชัดเจน รักษาเวลาและมีเทคนิคการจูงใจให้ผู้ฟังมีส่วนร่วม 01VO5302.01 142364
01VO5303 ออกแบบการประเมินก่อนและหลัง การอบรมด้านปริมาตร 1. สามารถจัดทำแบบประเมินผลการอบรมทั้งก่อนและหลังการอบรม 01VO5303.01 142365

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ใช้งานเครื่องมือมาตรฐาน เครื่องมือวัด และการสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านปริมาตร



2. ถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคนิคการสื่อสาร รูปแบบการนำเสนอได้อย่างดี และจูงใจให้เหมาะสมกับผู้ฟังแต่ละกลุ่ม หรือแต่ละราย

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องที่จัดอบรม การกำหนดหัวข้อ และรายละเอียดเนื้อหา



2. มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการบรรยาย การฝึกปฏิบัติ การยกตัวอย่าง 3. มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับการออกแบบการประเมินก่อนและหลังการอบรม


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



          1. โบรชัวร์การจัดฝึกอบรม หรือ



          2. หลักฐานการลงทะเบียนการอบรม หรือ



          3. แบบประเมินก่อนและหลังการอบรม หรือ



          4. แบบสรุปความพึงพอใจการอบรม



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



          1. เอกสารอบรม



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



          ผู้ประเมินตรวจประเมินสมรรถนะเกี่ยวกับการ การถ่ายทอดองค์ความรู้และประสบการณ์การปฏิบัติงานด้านปริมาตร โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้



(ง) วิธีการประเมิน



          1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน



          2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

          1. การประเมินความสามารถวิทยาการ เป็นการวัดความพึงพอใจผู้อบรม



          2. สามารถออกแบบจัดสร้างหลักสูตรการอบรมการสอบเทียบด้านปริมาตร การดำเนินการอบรมและวิธีการประเมินผลสัมฤทธิ์ของการอบรมทั้งก่อนและหลังการอบรม


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. แฟ้มสะสมผลงาน



ยินดีต้อนรับ