หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ประยุกต์ใช้ทฤษฎีและเทคนิคในการแก้ปัญหางานด้านปริมาตร

สาขาวิชาชีพบริการอุตสาหกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ TAA-DAFZ-162B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ประยุกต์ใช้ทฤษฎีและเทคนิคในการแก้ปัญหางานด้านปริมาตร

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

01VO5 ผู้สอบเทียบเครื่องมือวัดด้านปริมาตร ระดับ 5


1 7311 ช่างทำและซ่อมเครื่องมือที่มีความเที่ยงตรงแม่นยำ

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ มีความรู้ความเข้าใจและทักษะการปฏิบัติงานด้านปริมาตร การถ่ายทอดองค์ความรู้จากประสบการณ์ปฏิบัติงาน สามารถประยุกต์ใช้ทฤษฎีและเทคนิคในการแก้ปัญหางานสอบเทียบด้านปริมาตร การวางแผนแก้ไขปัญหาโดยนำประสบการณ์ที่เป็น Best Practice มาใช้แก้ไขปัญหางานสอบเทียบด้านปริมาตร การวิเคราะห์หาต้นทุนของปัญหารวมถึงสามารถกำหนดวิธีการป้องกันปัญหาอย่างเหมาะสม สามารถวิเคราะห์พัฒนาวิธีการปฏิบัติงานและปรับปรุงวิธีการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
7311 ช่างทำและซ่อมเครื่องมือที่มีความเที่ยงตรงแม่นยำสาขาวิชาชีพมาตรวิทยา อาชีพผู้สอบเทียบเครื่องมือวัดด้านปริมาตร

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01VO5201 สามารถชี้บ่งปัญหาในระบบ การวัดด้านปริมาตร 1. สามารถวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาตามคู่มือการปฏิบัติงาน 01VO5201.01 142361
01VO5202 กำหนดวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสมด้านปริมาตร 1. สามารถวางแผนแก้ปัญหากำหนดกลยุทธ์และแนวทางในการป้องกันแก้ไขปัญหารวมทั้งปรับเปลี่ยนวิธีการแก้ไขปัญหา อย่างเหมาะสม 01VO5202.01 142362

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ใช้งานเครื่องมือมาตรฐาน เครื่องมือวัด และการสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านปริมาตร



2. ดูแลรักษาเครื่องมือมาตรฐานอ้างอิงและอุปกรณ์ร่วมต่างๆ รวมถึงเครื่องมือวัดด้านปริมาตร



3. วิเคราะห์หาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการสอบเทียบด้านปริมาตร



4. แก้ไขปัญหาที่มีความซับซ้อน ยุ่งยากและระบุผลกระทบของปัญหาได้ รวมถึงการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพในเวลาที่เหมาะสม

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับระบบมาตรวิทยาการสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านปริมาตร ในระดับสากล



2. มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับการใช้งานเครื่องมือมาตรฐาน และเครื่องมือวัดด้านปริมาตร



3. มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการมาตรฐานต่างๆ สำหรับการสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านปริมาตร



4. มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับข้อกำหนดมาตรฐาน ISO/IEC17025



5. มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับการประเมินค่าความไม่แน่นอนการวัด


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



          1. รายงานผลกานวิเคราะห์ การแก้ไขปัญหา หรือ



          2. บันทึกการแก้ไขปัญหาที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด หรือ



          3. บันทึกการแก้ไขปัญหา



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



          1. บันทึกการทดสอบข้อเขียน



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



          ผู้ประเมินตรวจประเมินสมรรถนะเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ทฤษฎีและเทคนิคในการแก้ปัญหางานด้านปริมาตรโดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้



(ง) วิธีการประเมิน



          1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน



          2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

          1. สามารถตรวจสอบวิเคราะห์ระบบการสอบเทียบเพื่อระบุสาเหตุของปัญหา ข้อขัดแย้งและกำหนดวิธีการแก้ปัญหาให้สอดคล้องตามเป้าหมายของการสอบเทียบและข้อกำหนด ISO/IEC 17025



          2. ปัญหาจากการตรวจประเมิน หมายถึง ข้อบกพร่องที่เกิดจากการตรวจติดตามคุณภาพภายใน และการตรวจประเมินจากหน่วยงานภายจากหน่วยรับรอง


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. แฟ้มสะสมผลงาน



2. ผลงานหรือชิ้นงานที่ทำสำเร็จแล้ว



3. การสัมภาษณ์



4. การจำลองสถานการณ์



ยินดีต้อนรับ