หน่วยสมรรถนะ
ออกแบบและพัฒนาระบบ การสอบเทียบด้านปริมาตร
สาขาวิชาชีพบริการอุตสาหกรรม
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | TAA-XMPG-161B |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | ออกแบบและพัฒนาระบบ การสอบเทียบด้านปริมาตร |
3. ทบทวนครั้งที่ | - / - |
4. สร้างใหม่ |
![]() |
ปรับปรุง |
![]() |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
01VO5 ผู้สอบเทียบเครื่องมือวัดด้านปริมาตร ระดับ 5 1 7311 ช่างทำและซ่อมเครื่องมือที่มีความเที่ยงตรงแม่นยำ |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ มีความรู้และทักษะการปฏิบัติงานด้านปริมาตรทั้งในระดับประเทศและระดับสากลเป็นอย่างดี มีความสามารถในการออกแบบและพัฒนาระบบ บริหารจัดการห้องปฏิบัติการสอบเทียบด้านปริมาตร มีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานด้านปริมาตรในระดับต่างๆ สามารถวิเคราะห์พัฒนาวิธีการปฏิบัติงานและปรับปรุงวิธีการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำมาศึกษาพัฒนาและประยุกต์ใช้งานอย่างเหมาะสม เช่น สามารถชี้บ่งได้มาตรฐาน ระดับคำจำกัดความ องค์กรมาตรวิทยาทั้งในระดับประเทศและระดับสากล และต้องเป็นผู้ผ่านสมรรถนะเรื่องการสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านปริมาตร การวิเคราะห์ผลการวัดด้านปริมาตร การปฏิบัติตามข้อกำหนดห้องปฏิบัติการ ตามมาตรฐาน ISO/IEC17025 การแปรผลในใบรับรองผลการสอบเทียบเครื่องมือมาตรฐานด้านปริมาตร การทวนสอบเครื่องมือวัดและการตรวจสอบระหว่างใช้งานเครื่องมือวัด |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
7311 ช่างทำและซ่อมเครื่องมือที่มีความเที่ยงตรงแม่นยำสาขาวิชาชีพมาตรวิทยา อาชีพผู้สอบเทียบเครื่องมือวัดด้านปริมาตร |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
N/A |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
N/A |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) | รหัส PC (ตามเล่มมาตรฐาน) |
รหัส PC (จากระบบ) |
---|---|---|---|
01VO5101 สามารถประยุกต์ใช้วิธีการมาตรฐานอย่างเหมาะสมด้านปริมาตร | 1. สามารถเลือกวิธีการวัดได้อย่างเหมาะสม เพื่อให้เกิดความผิดพลาดในระดับยอมรับได้ | 01VO5101.01 | 142356 |
01VO5101 สามารถประยุกต์ใช้วิธีการมาตรฐานอย่างเหมาะสมด้านปริมาตร | 2. สามารถเลือกใช้เครื่องมือมาตรฐานและอุปกรณ์ที่ใช้ได้อย่างเหมาะสมเพื่อให้เกิดความผิดพลาดในระดับยอมรับได้ | 01VO5101.02 | 142357 |
01VO5102 สามารถดูแลเครื่องมือมาตรฐาน ให้เหมาะสมกับห้องปฏิบัติการด้านปริมาตร | 1. สามารถเลือกวิธีการวัดเพื่อให้เกิดความผิดพลาดในระดับยอมรับได้ | 01VO5102.01 | 142358 |
01VO5102 สามารถดูแลเครื่องมือมาตรฐาน ให้เหมาะสมกับห้องปฏิบัติการด้านปริมาตร | 2. สามารถเลือกใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ได้อย่างเหมาะสมเพื่อให้เกิดความผิดพลาดในระดับยอมรับได้ | 01VO5102.02 | 142359 |
01VO5103 ทวนสอบความใช้ได้ของวิธีด้านปริมาตร | 1. สามารถพิสูจน์ยืนยันความถูกต้องของวิธีการวัดด้านปริมาตร | 01VO5103.01 | 142360 |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
N/A |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ 1. ใช้งานเครื่องมือมาตรฐานและสามารถสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านปริมาตร 2. ดูแลรักษาเครื่องมือมาตรฐานอ้างอิงและอุปกรณ์ร่วมต่างๆ รวมถึงเครื่องมือวัดด้านปริมาตร 3. อ่านและตีความเอกสาร วิธีการมาตรฐานต่างๆ ตามมาตรฐาน ISO/IEC17025 (ข) ความต้องการด้านความรู้ 1. มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับระบบมาตรวิทยาการสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านปริมาตร ในระดับสากล 2. มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องมือมาตรฐาน และเครื่องมือวัดด้านปริมาตร 3. มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการมาตรฐานต่างๆ สำหรับการสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านปริมาตร 4. มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับข้อกำหนดมาตรฐาน ISO/IEC17025 |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) 1. บันทึกการขอเอกสาร หรือ 2. เอกสารวิธีปฏิบัติงาน 3. หลักฐานการออกแบบและพัฒนาวิธีการวัดด้านปริมาตร (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) 1. บันทึกการทดสอบข้อเขียน (ค) คำแนะนำในการประเมิน ผู้ประเมินตรวจประเมินสมรรถนะเกี่ยวกับการออกแบบและพัฒนาระบบ วิธีการปฏิบัติงานด้านปริมาตร รวมถึงการทวนสอบความใช้ได้ของวิธีโดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ (ง) วิธีการประเมิน 1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน 2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้ |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
1. สามารถประยุกต์ใช้วิธีการมาตรฐานต่าง ๆ มาออกแบบวิธีการสอบเทียบให้เหมาะสมกับเครื่องมือ อุปกรณ์และสิ่งแวดล้อมของห้องปฏิบัติการ โดยวิธีที่ออกแบบพัฒนาขึ้นสามารถยืนยันทวนสอบความถูกต้องได้ 2. ตรวจสอบระหว่างใช้งาน/ทวนสอบความถูกต้อง หมายถึง วิธีการสอบเทียบที่ห้องปฏิบัติการจัดทำขึ้น พัฒนาขึ้นตามวิธีมาตรฐาน จำเป็นต้องตรวจสอบเพื่อยืนยันความถูกต้องของวิธี ก่อนนำไปใช้งาน |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
1. แฟ้มสะสมผลงาน 2. ผลงานหรือชิ้นงานที่ทำสำเร็จแล้ว 3. การสัมภาษณ์ |