หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

กำหนดขั้นตอนการสอบเทียบด้านปริมาตร

สาขาวิชาชีพบริการอุตสาหกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ TAA-NISG-159B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ กำหนดขั้นตอนการสอบเทียบด้านปริมาตร

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

01VO4 ผู้สอบเทียบเครื่องมือวัดด้านปริมาตร ระดับ 4


1 7311 ช่างทำและซ่อมเครื่องมือที่มีความเที่ยงตรงแม่นยำ

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ มีความรู้ความเข้าใจระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการด้านปริมาตร มีความเชี่ยวชาญและสามารถจัดทำเอกสารวิธีปฏิบัติงานที่ใช้ในห้องปฏิบัติการ แบบบันทึกที่เกี่ยวข้อง กำหนดแผนงาน รวมถึงมีความเข้าใจเกี่ยวกับการแปรผลความไม่แน่นอนของการวัด

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
7311 ช่างทำและซ่อมเครื่องมือที่มีความเที่ยงตรงแม่นยำสาขาวิชาชีพมาตรวิทยา อาชีพผู้สอบเทียบเครื่องมือวัดด้านปริมาตร

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01VO4201 จัดทำเอกสารวิธีการปฏิบัติงาน ตามวิธีการมาตรฐาน หรือวิธีที่ห้องปฏิบัติการพัฒนาขึ้นด้านปริมาตร 1 สามารถจัดทำเอกสารขั้นตอนการสอบ เทียบด้านปริมาตร 01VO4201.01 142347
01VO4201 จัดทำเอกสารวิธีการปฏิบัติงาน ตามวิธีการมาตรฐาน หรือวิธีที่ห้องปฏิบัติการพัฒนาขึ้นด้านปริมาตร 2. สามารถจัดทำแบบบันทึกที่ใช้ในการสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านปริมาตรและเทคนิคการใช้งานเครื่องมือวัด 01VO4201.02 142348
01VO4202 ประเมินความไม่แน่นอนของผลการวัดด้านปริมาตร 1. สามารถคำนวณค่าความไม่แน่นอนของการวัด 01VO4202.01 142349
01VO4202 ประเมินความไม่แน่นอนของผลการวัดด้านปริมาตร 2. สามารถประเมินค่าความไม่แน่นอน 01VO4202.02 142350
01VO4202 ประเมินความไม่แน่นอนของผลการวัดด้านปริมาตร 3. สามารถวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านปริมาตร 01VO4202.03 142351

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ระบุถึงเอกสารระดับต่าง ๆ ในระบบคุณภาพ และความเชื่อมโยงของเอกสาร



2. จัดทำเอกสารวิธีปฏิบัติงาน ขั้นตอนการทำงาน และแบบบันทึกตามที่กำหนดในระบบคุณภาพ



3. ประเมินปัจจัยที่มีผลกระทบต่อเครื่องมือมาตรฐาน ในการสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านปริมาตร 4. ประเมินปัจจัยที่มีผลกระทบต่อเครื่องมือวัด ในการสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านปริมาตร

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับการจัดทำเอกสารระดับต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับข้อกำหนดตามมาตรฐาน ISO/IEC17025



2. มีความรู้และเข้าใจวิธีประเมินค่าความไม่แน่นอนของการวัด ระบุปัจจัยต่าง ๆที่มีผลกระทบได้ต่อการสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านปริมาตร Glassware, Piston pipette (Single, Multi-channel) และ Dispenser



3. มีความรู้และเข้าใจขั้นตอนการขอจัดทำเอกสารคุณภาพ การขออนุมัติ การประกาศใช้


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



          1. เอกสารมอบหมายให้เป็นผู้ปฏิบัติงาน หรือ



          2. บันทึกการขอจัดทำเอกสารหรือ



          3. เอกสารขั้นตอนการปฏิบัติงาน (working instruction)



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



          1. ใบรับรองการฝึกอบรม



          2. บันทึกผลการสอบข้อเขียน



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



          ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจในการกำหนดขั้นตอนการสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านปริมาตร (working instruction) โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้



(ง) วิธีการประเมิน



          1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน



          2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

          1. เอกสารการสอบเทียบด้านปริมาตร หมายถึง คู่มือวิธีการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านปริมาตร



          2. แผนงาน หมายถึง แผนการสอบเทียบ แผนบำรุงรักษา แผนตรวจสอบระหว่างใช้งาน แผนอบรมเป็นต้น



          3. บันทึก หมายถึง บันทึกด้านวิชาการ เช่น บันทึกข้อมูลการสอบเทียบ บันทึกประวัติเครื่องมือ เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. ข้อสอบข้อเขียน



2. การสัมภาษณ์



3. แฟ้มสะสมผลงาน



ยินดีต้อนรับ