หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

การสอบเทียบเครื่องมือด้านปริมาตรขั้นกลาง

สาขาวิชาชีพบริการอุตสาหกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ TAA-JATH-154B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ การสอบเทียบเครื่องมือด้านปริมาตรขั้นกลาง

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

01VO3 ผู้สอบเทียบเครื่องมือวัดด้านปริมาตร ระดับ 3


1 7311 ช่างทำและซ่อมเครื่องมือที่มีความเที่ยงตรงแม่นยำ

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ มีความรู้ความเข้าใจและสามารถสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านปริมาตร ประเภท Glassware และ Piston Pipette (single, Multi-channel) ได้อย่างถูกต้อง ตามขั้นตอนและคู่มือการปฏิบัติงานที่ห้องปฏิบัติการจัดทำขึ้น (working instruction) รู้ถึงการเตรียมความพร้อมเครื่องมือก่อนการสอบเทียบ รู้วิธีการบำรุงรักษาเครื่องมือมาตรฐาน และเครื่องมือวัด รวมถึงภายหลังดำเนินการสอบเทียบแล้วเสร็จ เช่น Electronic balance, Barometer, Thermometer, Digital Thermo-Hygrometer, Stop Watch เป็นต้น

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
7311 ช่างทำและซ่อมเครื่องมือที่มีความเที่ยงตรงแม่นยำสาขาวิชาชีพมาตรวิทยา อาชีพผู้สอบเทียบเครื่องมือวัดด้านปริมาตร

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01VO3101 เตรียมความพร้อมก่อนการสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านปริมาตร 1. สามารถเลือกใช้ชนิดและประเภทเครื่องมือวัดด้านปริมาตรประเภทGlassware, Piston pipette (Single, Multi-channel) ได้อย่างถูกต้อง 01VO3101.01 142321
01VO3101 เตรียมความพร้อมก่อนการสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านปริมาตร 2. สามารถเลือกใช้เครื่องมือมาตรฐานให้เหมาะสมกับเครื่องมือวัดด้านปริมาตรGlassware, Piston pipette (Single, Multi-channel) ที่ต้องการสอบเทียบ 01VO3101.02 142322
01VO3101 เตรียมความพร้อมก่อนการสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านปริมาตร 3. สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดการควบคุมสภาวะแวดล้อมของห้องปฏิบัติการสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านปริมาตร Glassware, Piston pipette (Single,Multi-channel) 01VO3101.03 142323
01VO3101 เตรียมความพร้อมก่อนการสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านปริมาตร 4. บันทึกข้อมูลรายละเอียดเครื่องมือมาตรฐานที่ใช้ในการสอบเทียบในแบบฟอร์ม รวมถึงการใช้ค่าแก้ของเครื่องมือมาตรฐานที่ใช้ในการสอบเทียบ 01VO3101.04 142324
01VO3101 เตรียมความพร้อมก่อนการสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านปริมาตร 5. บันทึกข้อมูลรายละเอียดเครื่องมือวัดมาตรฐานที่ใช้ในการสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านปริมาตรGlassware, Piston pipette (Single, Multi-channel) 01VO3101.05 142325
01VO3102 ปฏิบัติการสอบเทียบและปรับเทียบเครื่องมือวัดด้านปริมาตร 1. สามารถปฏิบัติตามขั้นตอนการสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านปริมาตรประเภท Glassware, Piston Pipette (single, Multi-channel) 01VO3102.01 142326
01VO3102 ปฏิบัติการสอบเทียบและปรับเทียบเครื่องมือวัดด้านปริมาตร 2. สามารถบันทึกข้อมูลรายละเอียดเครื่องมือวัดที่ทำการสอบเทียบ Glassware,Piston Pipette (single, Multi-channel) ลงในแบบฟอร์มได้อย่างถูกต้องครบถ้วน 01VO3102.02 142327
01VO3102 ปฏิบัติการสอบเทียบและปรับเทียบเครื่องมือวัดด้านปริมาตร 3. สามารถบันทึกและปฏิบัติตามข้อกำหนดการควบคุมสภาวะแวดล้อม 01VO3102.03 142328
01VO3102 ปฏิบัติการสอบเทียบและปรับเทียบเครื่องมือวัดด้านปริมาตร 4. สามารถปรับเทียบเครื่องมือวัดด้านปริมาตร PistonPipette (single, Multi-channel) 01VO3102.04 142329
01VO3103 บันทึกผลการสอบเทียบ และคำนวณผลการสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านปริมาตร 1. สามารถบันทึกข้อมูลการสอบเทียบในแบบฟอร์ม 01VO3103.01 142330

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. เลือกใช้เครื่องมือมาตรฐานและอุปกรณ์การวัดด้านปริมาตร เช่น Electronic balance, Barometer, Thermometer, Digital Thermo-Hygrometer, Stop Watch เป็นต้น



2. เตรียมความพร้อมเครื่องมือมาตรฐานและเครื่องมือวัดด้านปริมาตรที่ต้องการสอบเทียบ



3. สอบเทียบเครื่องมือวัดด้านปริมาตร ตามชนิดและประเภทเครื่องมือ



4. อ่านค่าผลการสอบเทียบด้านปริมาตร



5. ใช้งานและดูแลรักษาเครื่องมือมาตรฐานและอุปกรณ์การวัดด้านปริมาตร 6. ใช้เครื่องมือคำนวณ หรือโปรแกรมคำนวณผลการสอบเทียบด้านปริมาตร

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. มีความรู้และเข้าใจขั้นตอนการสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านปริมาตร Glassware, Piston Pipette (single, Multi-channel)



2. มีความรู้และเข้าใจหลักการใช้งาน การอ่านค่า การทำความสะอาด การดูแลรักษาและการจัดเก็บเครื่องมือวัดด้านปริมาตร Glassware, Piston Pipette (single, Multi-channel)



3. มีความรู้และเข้าใจหลักการเลือกใช้เครื่องมือมาตรฐาน และการเลือกใช้เครื่องมือวัดด้านปริมาตร Glassware, Piston Pipette (single, Multi) ที่เหมาะสมต่อการใช้งาน



4. มีความรู้และเข้าใจการบันทึกข้อมูลผลการสอบเทียบในแบบฟอร์มและการคำนวณผลการสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านปริมาตร



5. มีความรู้และเข้าใจวิธีการปรับเทียบเครื่องมือวัดด้านปริมาตร Piston Pipette (single, Multi-channel)



6. มีความรู้และเข้าใจความรู้ทางสถิติและคณิตศาสตร์



7. มีความรู้และเข้าใจ การสอบกลับได้ (Traceability) ของเครื่องมือมาตรฐาน และเครื่องมือวัดด้านปริมาตร



8. มีความรู้และเข้าใจการทวนสอบเครื่องมือมาตรฐานก่อนการใช้งานสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านปริมาตร เช่น Electronic balance, Barometer, Thermometer, Digital Thermo-Hygrometer เป็นต้น



เอกสารอ้างอิง



1. ISO/IEC17025 General Requirement for the Competence of Testing and Calibration Laboratories



2. ASTM E 542-01 Standard Practice for calibration of Laboratory Volumetric Apparatus



3. ISO 8655–2: 2002, Piston – operated volumetric apparatus – Part 2: Piston pipettes



4. ISO 8655–6: 2002, Piston – operated volumetric apparatus–Part 6: Gravimetric methods for the determination of measurement error



5. ISO/TR 20461: 2000 Determination of uncertainty for volumetric measurements made using the gravimetric method


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



          1. บันทึกประวัติการทำงาน หรือ



          2. บันทึกมอบหมายให้เป็นผู้ปฏิบัติงานเครื่องมือวัดด้านปริมาตร หรือ



          3. รายผลการสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านปริมาตร



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



          1. ใบรับรองการฝึกอบรม หรือบันทึกการฝึกปฏิบัติ (on job training) โดยมีผู้ลงนามรับรอง



          2. บันทึกผลการทดสอบข้อเขียน



          3. บันทึกประกอบการสัมภาษณ์



          4. บันทึกการสังเกตการปฏิบัติงาน



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



          ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านปริมาตรขั้นกลาง ประเภท Glassware, Piston Pipette (single, Multi-channel) โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติการและหลักฐานความรู้



(ง) วิธีการประเมิน



          1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน



          2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

          1. วิธีสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านปริมาตร Glassware, Piston pipette (Single, Multi-channel) ได้แก่ คู่มือการปฏิบัติงานที่ห้องปฏิบัติการจัดทำขึ้น (working instruction) โดยอ้างอิงมาตรฐาน หรือมีการตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีแล้วสามารถใช้งานได้



          2. เครื่องมือมาตรฐานในการวัด ได้แก่ เครื่องชั่ง (Electronic balance)



          3. เครื่องมือมาตรฐานด้านสภาวะแวดล้อม ได้แก่ Barometer, Digital Thermo-Hygrometer, Stop Watch และ Thermometer เป็นต้น



          4. เครื่องมือวัดด้านปริมาตรชั้นกลาง หมายถึง เครื่องมือวัดปริมาตรทั่วไป เช่น Glassware ประเภทต่าง ๆ Piston pipette (Single, Multi-channel) ที่ใช้งานในห้องปฏิบัติการ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. สาธิตการปฏิบัติงาน



2. ข้อสอบข้อเขียน



3. แฟ้มสะสมผลงาน



ยินดีต้อนรับ