หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ประยุกต์ใช้ทฤษฎีและเทคนิคในการแก้ปัญหางาน

สาขาวิชาชีพบริการอุตสาหกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ TAA-ELER-175B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ประยุกต์ใช้ทฤษฎีและเทคนิคในการแก้ปัญหางาน

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

01CH5 ผู้สอบเทียบเครื่องมือวัดด้านเคมี ชั้น 5


1 7311 ช่างทำและซ่อมเครื่องมือที่มีความเที่ยงตรงแม่นยำ

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้มีความรู้ ความเข้าใจ และความสามารถเกี่ยวกับการวัดทางด้านเคมี สามารถประยุกต์ใช้ทฤษฎีและเทคนิคการในการแก้ปัญหา งานสอบเทียบด้านเคมี โดยสามารถบ่งชี้ปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบของการวัดและวิเคราะห์หาสาเหตุนำไปไปสู่การแก้ปัญหาได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
7311 ช่างทำและซ่อมเครื่องมือที่มีความเที่ยงตรงแม่นยำสาขาวิชาชีพมาตรวิทยา อาชีพผู้สอบเทียบเครื่องมือวัดด้านเคมี

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01CH5201 สามารถชี้บ่งปัญหาในระบบ การวัด 1. สามารถวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาได้ 01CH5201.01 142431
01CH5202 กำหนดวิธีการแก้ไขปัญหาอย่าง เหมาะสม 1. สามารถวางแผนและแก้ปัญหาจากการวัดได้ 01CH5202.01 142432

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ใช้งานเครื่องมือวัดความเป็นกรด-ด่าง (pH Meter) เครื่องวัดค่าการนำไฟฟ้า (Conductivity meter) และเครื่องวัดค่าการดูดกลืนแสง (UV-Vis spectrophotometer)



2. สอบเทียบเครื่องมือวัดความเป็นกรด-ด่าง (pH meter) เครื่องวัดค่าการนำไฟฟ้า (Conductivity meter) และเครื่องวัดค่าการดูดกลืนแสง (UV-Vis spectrophotometer) ได้



3. สามารถวิเคราะห์หาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อผลการวัดและกำหนดวิธีการแก้ปัญหาในระบบสอบเทียบได้

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. มีความรู้เกี่ยวกับใช้งานเครื่องมือวัด



2. มีความรู้เกี่ยวกับการสอบเทียบเครื่องมือวัด



3. มีความรู้เกี่ยวกับข้อกำหนดตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025



4. มีความรู้ ความเข้าใจข้อกำหนดและวิธีการสอบเทียบตามมาตรฐานอ้างอิง



เอกสารอ้างอิง



1. ISO/IEC 17025 General requirements for the competence of testing and calibration laboratories


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



          1. บันทึกประวัติการทำงาน



          2. บันทึกผลจากการสอบปฏิบัติ



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



          1. บันทึกการสังเกตการปฏิบัติงาน



          2. บันทึกผลการทดสอบข้อเขียน



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



          ผู้ประเมินผลเกี่ยวกับสมรรถนะประยุกต์ใช้ทฤษฎีและเทคนิคในการแก้ปัญหางานโดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้



(ง) วิธีการประเมิน



          1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน



          2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

          จุดมุ่งหมายของหน่วยสมรรถนะคือสามารถตรวจสอบวิเคราะห์ระบบการสอบเทียบเพื่อระบุสาเหตุของปัญหาและกำหนดวิธีการแก้ปัญหาให้สอดคล้องตามเป้าหมายของการสอบเทียบและข้อกำหนด ISO/IEC17025


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1.ข้อสอบข้อเขียน



2.แฟ้มสะสมผลงาน



ยินดีต้อนรับ