หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดทำใบรับรองผลการสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านเคมี

สาขาวิชาชีพบริการอุตสาหกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ TAA-CYMO-168B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดทำใบรับรองผลการสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านเคมี

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

01CH3 ผู้สอบเทียบเครื่องมือวัดด้านเคมี ชั้น 3


1 7311 ช่างทำและซ่อมเครื่องมือที่มีความเที่ยงตรงแม่นยำ

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถสอบเทียบเครื่องวัดค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH meter) เครื่องวัดค่าการนำไฟฟ้า (Conductivity meter) และเครื่องวัดค่าการดูดกลืนแสง (UV-Vis spectrophotometer) ตามขั้นตอนวิธีการสอบเทียบที่ห้องปฏิบัติการจัดทำขึ้น และต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทวนสอบความถูกต้อง การถ่ายโอนข้อมูลผลการสอบเทียบ รู้ข้อกำหนดการออกใบรับรองการสอบเทียบตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 และสามารถจัดทำใบรับรองผลการสอบเทียบ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
7311 ช่างทำและซ่อมเครื่องมือที่มีความเที่ยงตรงแม่นยำสาขาวิชาชีพมาตรวิทยา อาชีพผู้สอบเทียบเครื่องมือวัดด้านเคมี

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01CH3201 ตรวจสอบข้อมูลผลการสอบการสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านเคมี 1. ใช้ความรู้ทางสถิติและคณิตศาสตร์ 01CH3201.01 142397
01CH3201 ตรวจสอบข้อมูลผลการสอบการสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านเคมี 2. ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล 01CH3201.02 142398
01CH3201 ตรวจสอบข้อมูลผลการสอบการสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านเคมี 3. ใช้ข้อมูลจากใบรับรองผลการทดสอบ/สอบเทียบ วัสดุอ้างอิง 01CH3201.03 142399
01CH3202 จัดทำใบรับรองผลการสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านเคมี 1. สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดการออกใบรับรองการสอบเทียบตามมาตรฐานISO/IEC 17025 01CH3202.01 142400
01CH3202 จัดทำใบรับรองผลการสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านเคมี 2. ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำนักงานเพื่อคำนวณและจัดทำใบรับรองผลการสอบเทียบ 01CH3202.02 142401
01CH3203 ประเมินค่าความไม่แน่นอนของผลการวัดเครื่องมือวัดด้านเคมี 1. เลือกใช้ความรู้ทางสถิติและคณิตศาสตร์ได้ถูกต้อง 01CH3203.01 142402
01CH3203 ประเมินค่าความไม่แน่นอนของผลการวัดเครื่องมือวัดด้านเคมี 2. ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล 01CH3203.02 142403
01CH3203 ประเมินค่าความไม่แน่นอนของผลการวัดเครื่องมือวัดด้านเคมี 3. การคำนวณและการใช้เครื่องมือคำนวณ 01CH3203.03 142404
01CH3203 ประเมินค่าความไม่แน่นอนของผลการวัดเครื่องมือวัดด้านเคมี 4. สามารถใช้ค่าของวัสดุอ้างอิง จากใบรายงานผลการทดสอบ/สอบเทียบ 01CH3203.04 142405

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ออกใบรับรองการสอบเทียบตามขั้นตอนของห้องปฏิบัติการ



2. ใช้ข้อมูลจากใบรายงานผลการทดสอบ/สอบเทียบของวัสดุอ้างอิง



3. ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล 4. ใช้เครื่องมือคำนวณ หรือ โปรแกรมคำนวณ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. มีความรู้ในข้อกำหนดการออกใบรับรองการสอบเทียบ ตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025



2. มีความรู้ และความเข้าใจขั้นตอนการออกใบรับรองการสอบเทียบ



3. มีความรู้ในการใช้เครื่องมือคำนวณผลหรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำนักงาน



4. มีความรู้ทางสถิติและคณิตศาสตร์



เอกสารอ้างอิง



1. ISO/IEC 17025 General Requirements for the competence of testing and calibration laboratories



2. M3003 The Expression of Uncertainty and Confidence in Measurement ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้มีความรู้ ความเข้าใจ การสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านเคมี และสามารถทวนสอบความถูกต้องของเครื่องมือมาตรฐาน และมาตรฐานอ้างอิงของห้องปฏิบัติการได้อย่างถูกต้องตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



          1. บันทึกประวัติการทำงาน



          2. บันทึกการมอบหมายงาน



          3. รายงานผลการสอบเทียบเครื่องวัดค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH meter) เครื่องวัดค่าการนำไฟฟ้า (Conductivity meter) และเครื่องวัดค่าการดูดกลืนแสง (UV-Visible spectrophotometer)



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



          1. ใบรับรองการฝึกอบรม หรือ บันทึกการฝึกปฏิบัติ (On the Job training) โดยมีผู้ลงนามรับรอง



          2. บันทึกการสังเกตการปฏิบัติงาน



          3. บันทึกผลการทดสอบข้อเขียน



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



          ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการสอบเทียบเครื่องมือด้านเคมีขั้นกลาง โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้



(ง) วิธีการประเมิน



          1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน



          2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

          1. สถิติเบื้องต้น เช่น ค่าเฉลี่ย ค่ากลางความแปรปรวนความเบี่ยงเบนมาตรฐาน เป็นต้น



          2. คณิตศาสตร์เบื้องต้น เช่น การปัดเศษเลขนัยสำคัญ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. สาธิตการปฏิบัติงาน



2. ข้อสอบข้อเขียน



3. แฟ้มสะสมผลงาน



ยินดีต้อนรับ