หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

สอบเทียบเครื่องวัดค่าความเป็นกรด-ด่าง

สาขาวิชาชีพบริการอุตสาหกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ TAA-QRUS-165B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ สอบเทียบเครื่องวัดค่าความเป็นกรด-ด่าง

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

01CH2 ผู้สอบเทียบเครื่องมือวัดด้านเคมี ชั้น 2


1 7311 ช่างทำและซ่อมเครื่องมือที่มีความเที่ยงตรงแม่นยำ

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถสอบเทียบเครื่องวัดค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH meter) ตามขั้นตอนวิธีการสอบเทียบที่ห้องปฏิบัติการจัดทำขึ้น รู้ถึงการเตรียมความพร้อมก่อนการสอบเทียบ และการบำรุงรักษาเครื่องมือวัดเครื่องมือมาตรฐาน วัสดุอ้างอิง ภายหลังดำเนินการสอบเทียบแล้วเสร็จ เช่น เครื่องวัดค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH meter) เครื่องมือมาตรฐาน วัสดุอ้างอิง เครื่องวัดสภาวะแวดล้อม เป็นต้น

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
7311 ช่างทำและซ่อมเครื่องมือที่มีความเที่ยงตรงแม่นยำสาขาวิชาชีพมาตรวิทยา อาชีพผู้สอบเทียบเครื่องมือวัดด้านเคมี

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01CH2201 เตรียมความพร้อมก่อนการสอบเทียบเครื่องมือวัด เครื่องมือมาตรฐานและวัสดุอ้างอิงสำหรับการสอบเทียบเครื่องวัดค่าความเป็นกรด-ด่าง 1. สามารถเลือกใช้วัสดุอ้างอิงให้เหมาะสมกับเครื่องมือวัดที่ต้องการสอบเทียบ 01CH2201.01 142371
01CH2201 เตรียมความพร้อมก่อนการสอบเทียบเครื่องมือวัด เครื่องมือมาตรฐานและวัสดุอ้างอิงสำหรับการสอบเทียบเครื่องวัดค่าความเป็นกรด-ด่าง 2. เตรียมความพร้อมเครื่องมือวัด เครื่องมือมาตรฐานและวัสดุอ้างอิง 01CH2201.02 142372
01CH2201 เตรียมความพร้อมก่อนการสอบเทียบเครื่องมือวัด เครื่องมือมาตรฐานและวัสดุอ้างอิงสำหรับการสอบเทียบเครื่องวัดค่าความเป็นกรด-ด่าง 3. กรอกรายละเอียดของเครื่องมือวัด เครื่องมือมาตรฐาน และวัสดุอ้างอิง ในแบบบันทึกได้ถูกต้อง 01CH2201.03 142373
01CH2202 สอบเทียบเครื่องวัดค่าความเป็นกรด-ด่าง 1. ปฏิบัติตามขั้นตอนการสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านเคมี 01CH2202.01 142374
01CH2202 สอบเทียบเครื่องวัดค่าความเป็นกรด-ด่าง 2. วิธีการอ่านค่าเครื่องมือวัดด้านเคมี 01CH2202.02 142375
01CH2203 บันทึกผลการสอบเทียบ เครื่องวัดค่าความเป็นกรด ด่าง 1. บันทึกข้อมูลสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านเคมี 01CH2203.01 142376
01CH2203 บันทึกผลการสอบเทียบ เครื่องวัดค่าความเป็นกรด ด่าง 2. บันทึกสภาวะของวัสดุอ้างอิง และบันทึกสภาวะแวดล้อม 01CH2203.02 142377

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. เลือกใช้วัสดุอ้างอิงถูกต้องและเหมาะสมต่อการใช้งาน



2. เตรียมความพร้อมของเครื่องวัดค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH meter)



3. เตรียมความพร้อมของวัสดุอ้างอิง



4. อ่านค่าเครื่องวัดค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH meter)



5. การสอบเทียบเครื่องวัดค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH meter)

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. มีความรู้ และเข้าใจหลักการทำงานเบื้องต้นและขั้นตอนการสอบเทียบของเครื่องวัดค่าความเป็นกรด - ด่าง (pH meter)



2. มีความรู้ และเข้าใจวิธีการใช้งานและอ่านค่าของเครื่องวัดค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH meter) รวมถึงการทำความสะอาด และการเคลื่อนย้ายเครื่องมือ



3. มีความรู้ และเข้าใจวิธีการเลือกใช้วัสดุอ้างอิง และการนำไปใช้ ให้เหมาะสมกับงาน รวมถึงการดูแลรักษา การจัดเก็บ และการขนย้าย



4. มีความรู้ในการบันทึกข้อมูลการสอบเทียบในแบบบันทึกผล


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



          1. บันทึกประวัติการทำงาน หรือ



          2. บันทึกการมอบหมายงาน หรือ



          3. รายงานผลการสอบเทียบเครื่องวัดค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH meter)



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



          1. ใบรับรองการฝึกอบรม หรือ บันทึกการฝึกปฏิบัติ (On the Job training) โดยมีผู้ลงนามรับรอง



          2. บันทึกการสังเกตการปฏิบัติงาน



          3. บันทึกผลการทดสอบข้อเขียน



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



          ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านเคมีขั้นต้น โดยพิจารณาจาก หลักฐาน ที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้



(ง) วิธีการประเมิน



          1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน



          2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

          1. วิธีการสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านเคมีขั้นต้น ได้แก่ วิธีการที่ห้องปฏิบัติการจัดทำขึ้นโดยอ้างอิง มาตรฐาน หรือมีการทวนสอบความใช้ได้ของวิธีแล้วสามารถใช้งานได้


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. ผลสอบข้อสอบข้อเขียน



2. การสาธิตปฏิบัติงาน



ยินดีต้อนรับ