หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ถ่ายทอดองค์ความรู้ และกำกับดูแลห้องปฏิบัติการทดสอบหรือสอบเทียบเครื่องวัดความดันโลหิต ให้เป็นไปตามระบบคุณภาพ

สาขาวิชาชีพบริการอุตสาหกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ TAA-FGZC-121B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ถ่ายทอดองค์ความรู้ และกำกับดูแลห้องปฏิบัติการทดสอบหรือสอบเทียบเครื่องวัดความดันโลหิต ให้เป็นไปตามระบบคุณภาพ

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

01MD5 ผู้ทดสอบหรือสอบเทียบเครื่องมือวัดทางการแพทย์ ชั้น 5


1 7311 ช่างทำและซ่อมเครื่องมือที่มีความเที่ยงตรงแม่นยำ

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้มีความรู้ความสามารถในการทดสอบหรือสอบเทียบเครื่องวัดความดันโลหิต ตรวจสอบ รับรองรายงานผล ควบคุม กำกับ ดูแลให้ห้องปฏิบัติการทดสอบหรือสอบเทียบเครื่องวัดความดันโลหิตให้เป็นไปตามข้อกำหนด ISO/IEC17025 และถ่ายทอดองค์ความรู้ และประสบการณ์การทดสอบหรือสอบเทียบเครื่องวัดความดันโลหิตแก่ผู้อื่นได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
7311 ช่างทำและซ่อมเครื่องมือที่มีความเที่ยงตรงแม่นยำสาขาวิชาชีพมาตรวิทยา อาชีพผู้ทดสอบหรือสอบเทียบเครื่องมือวัดทางการแพทย์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01MD5101 ควบคุม กำกับ ดูแลให้ห้องปฏิบัติการ ทดสอบหรือสอบเทียบเครื่องวัดความดันโลหิต ให้เป็นไปตามข้อกำหนด ISO/IEC17025 1. วางแผนการปฏิบัติงานของห้องปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อกำหนดISO/IEC 17025 01MD5101.01 142132
01MD5101 ควบคุม กำกับ ดูแลให้ห้องปฏิบัติการ ทดสอบหรือสอบเทียบเครื่องวัดความดันโลหิต ให้เป็นไปตามข้อกำหนด ISO/IEC17025 2. ควบคุม กำกับ ดูแลให้ห้องปฏิบัติการเป็นไปตามข้อกำหนด ISO/IEC 17025 01MD5101.02 142133
01MD5102 ถ่ายทอดองค์ความรู้ และประการณ์การทดสอบหรือสอบเทียบเครื่องวัดความดันโลหิตแก่ผู้อื่นได้ 1. ถ่ายทอดองค์ความรู้ครอบคลุมความสามารถการปฏิบัติงานที่ต้องการตามเอกสารคุณภาพของห้องปฏิบัติการ 01MD5102.01 142134
01MD5102 ถ่ายทอดองค์ความรู้ และประการณ์การทดสอบหรือสอบเทียบเครื่องวัดความดันโลหิตแก่ผู้อื่นได้ 2. ถ่ายทอดประสบการณ์ การปฏิบัติงานการสอบเทียบทดสอบเครื่องวัดความดันโลหิต 01MD5102.02 142135

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. มีทักษะในการถ่ายทอดงานให้ผู้อื่นเข้าใจ



2. มีทักษะในการใช้สื่ออุปกรณ์ในการนำเสนอ



3. มีทักษะ ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับเรื่องที่อบรม

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับการกำหนดหัวข้อ เนื้อหารายละเอียด



2. ความรู้เกี่ยวกับวิธีการบรรยาย การฝึกปฏิบัติ การยกตัวอย่าง


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



          1. บันทึกประวัติการทำงาน (ถ้ามี)



          2. กำหนดการฝึกอบรม



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



          เอกสารการฝึกอบรม



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



          ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการทดสอบหรือสอบเทียบเครื่องวัดความดันโลหิต โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน หรือหลักฐานความรู้



(ง) วิธีการประเมิน



          1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน หรือหลักฐานความรู้ (ถ้ามี)



          2. พิจารณาตามเกณฑ์การประเมินตามหน่วยสมรรถนะ


15. ขอบเขต (Range Statement)

          เครื่องวัดความดันโลหิตแบบเชิงกล (Non-invasive mechanical sphygmomanometers) เป็นเครื่องที่วัดความดันในหลอดเลือดแดงโดยวิธีทางอ้อม (ไม่ต้องสอดใส่ท่อเข้าไปในหลอดเลือด) มีการใช้งานร่วมกับ หูฟัง (Stethoscope) เหมาะกับการใช้งานโดยผู้ที่มีทักษะในการวัดภายในสถานพยาบาล ได้แก่ เครื่องวัดความดันโลหิตแบบปรอท (Mercurial manometer) เครื่องวัดความดันโลหิตหน้าปัดนาฬิกา (Aneroid manometer) เครื่องวัดความดันโลหิตอัตโนมัติ (Non-invasive automated sphygmomanometers) ซึ่งเป็นเครื่องวัดความดันโลหิตที่มีระบบตรวจวัดค่าความดันโลหิตในตัว และแสดงค่าความดันโดยอัตโนมัติ เป็นดิจิตอล (digital display)



          การทดสอบเครื่องวัดความดันโลหิต มีหัวข้อในการทดสอบ ได้แก่



          1. ทดสอบค่าความผิดพลาดสูงสุดของการอ่านค่าความดัน (Maximum permissible errors of the cuff pressure indication)



          2. ทดสอบอัตราการรั่วของความดันในระบบ (Air leakage)



          3. ทดสอบผลต่างของความดันขาขึ้นกับขาลง (hysteresis error) เฉพาะแบบ aneroid เท่านั้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. ข้อสอบข้อเขียน



2. การสาธิตการปฏิบัติงาน



3. แฟ้มสะสมผลงาน หลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้



4. การสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ