หน่วยสมรรถนะ
จัดทำเอกสารคุณภาพและแก้ไขปัญหาทางเทคนิคในการทดสอบหรือสอบเทียบเครื่องวัดความดันโลหิต
สาขาวิชาชีพบริการอุตสาหกรรม
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | TAA-BYCK-116B |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | จัดทำเอกสารคุณภาพและแก้ไขปัญหาทางเทคนิคในการทดสอบหรือสอบเทียบเครื่องวัดความดันโลหิต |
3. ทบทวนครั้งที่ | - / - |
4. สร้างใหม่ | ปรับปรุง |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
01MD4 ผู้ทดสอบหรือสอบเทียบเครื่องมือวัดทางการแพทย์ ชั้น 4 1 7311 ช่างทำและซ่อมเครื่องมือที่มีความเที่ยงตรงแม่นยำ |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้มีความรู้ความสามารถในการทดสอบหรือสอบเทียบเครื่องวัดความดันโลหิต การทวนสอบความถูกต้องของผลการวัด ตรวจสอบรายงานผล จัดทำเอกสารขั้นตอนในการทดสอบหรือสอบเทียบเครื่องวัดความดันโลหิตและการทำงานที่เกี่ยวข้องตามข้อกำหนด ISO/IEC17025 ให้คำแนะนำและ สอนงานการทดสอบหรือสอบเทียบเครื่องวัดความดันโลหิตแก่ผู้อื่นได้ |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
7311 ช่างทำและซ่อมเครื่องมือที่มีความเที่ยงตรงแม่นยำสาขาวิชาชีพมาตรวิทยา อาชีพผู้ทดสอบหรือสอบเทียบเครื่องมือวัดทางการแพทย์ |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
N/A |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
N/A |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) | รหัส PC (ตามเล่มมาตรฐาน) |
รหัส PC (จากระบบ) |
---|---|---|---|
01MD4101 จัดทำเอกสารขั้นตอนทดสอบหรือสอบเทียบเครื่องวัดความดันโลหิต และการทำงานที่เกี่ยวข้องตามข้อกำหนด ISO/IEC17025 | 1. จัดทำเอกสารขั้นตอนทดสอบหรือสอบเทียบเครื่องวัดความดันโลหิต | 01MD4101.01 | 142117 |
01MD4101 จัดทำเอกสารขั้นตอนทดสอบหรือสอบเทียบเครื่องวัดความดันโลหิต และการทำงานที่เกี่ยวข้องตามข้อกำหนด ISO/IEC17025 | 2. จัดทำเอกสารคุณภาพที่ที่เกี่ยวข้อง | 01MD4101.02 | 142118 |
01MD4102 ให้คำแนะนำและสอนงานการทดสอบหรือสอบเทียบเครื่องวัดความดันโลหิตแก่ผู้อื่นได้ | 1. ให้คำแนะนำเมื่อพบปัญหาทางเทคนิคขณะทำการทดสอบ | 01MD4102.01 | 142119 |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
N/A |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ มีทักษะในการนการถ่ายทอดงานให้ผู้อื่นเข้าใจ (ข) ความต้องการด้านความรู้ มีความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการปฏิบัติงานทดสอบหรือสอบเทียบเครื่องวัดความดันโลหิต |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) 1. บันทึกประวัติการทำงาน (ถ้ามี) 2. เอกสารวิธีปฏิบัติงาน (ถ้ามี) (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) ใบรับรองการฝึกอบรม (ถ้ามี) (ค) คำแนะนำในการประเมิน ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการทดสอบหรือสอบเทียบเครื่องวัดความดันโลหิต โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน หรือหลักฐานความรู้ (ง) วิธีการประเมิน 1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน หรือหลักฐานความรู้ (ถ้ามี) 2. พิจารณาตามเกณฑ์การประเมินตามหน่วยสมรรถนะ |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
เครื่องวัดความดันโลหิตแบบเชิงกล (Non-invasive mechanical sphygmomanometers) เป็นเครื่องที่วัดความดันในหลอดเลือดแดงโดยวิธีทางอ้อม (ไม่ต้องสอดใส่ท่อเข้าไปในหลอดเลือด) มีการใช้งานร่วมกับ หูฟัง (Stethoscope) เหมาะกับการใช้งานโดยผู้ที่มีทักษะในการ วัดภายในสถานพยาบาล ได้แก่ เครื่องวัดความดันโลหิตแบบปรอท (Mercurial manometer) เครื่องวัดความดันโลหิตหน้าปัดนาฬิกา (Aneroid manometer) เครื่องวัดความดันโลหิตอัตโนมัติ (Non-invasive automated sphygmomanometers) ซึ่งเป็นเครื่องวัดความดันโลหิตที่มีระบบตรวจวัดค่าความดันโลหิตในตัว และแสดงค่าความดันโดยอัตโนมัติ เป็นดิจิตอล (digital display) การทดสอบเครื่องวัดความดันโลหิต มีหัวข้อในการทดสอบ ได้แก่ 1. ทดสอบค่าความผิดพลาดสูงสุดของการอ่านค่าความดัน (Maximum permissible errors of the cuff pressure indication) 2. ทดสอบอัตราการรั่วของความดันในระบบ (Air leakage) 3. ทดสอบผลต่างของความดันขาขึ้นกับขาลง (hysteresis error) เฉพาะแบบ aneroid เท่านั้น |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
1. ข้อสอบข้อเขียน 2. การสาธิตการปฏิบัติงาน 3. การจำลองสถานการณ์ |